ฟุตซอลไทยลีก (อังกฤษ: Futsal ThaiLeague) เป็นการแข่งขันฟุตซอลลีกอาชีพสูงสุดในประเทศไทย จัดการแข่งขันโดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย โดยเริ่มการแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2549 ปัจจุบันมีสโมสรเข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 14 ทีม สโมสรที่ชนะเลิศในฤดูกาลล่าสุด (ฤดูกาล 2566) คือ ห้องเย็นท่าข้าม
ก่อตั้ง | 2549 |
---|---|
ประเทศ | ไทย |
สมาพันธ์ | เอเอฟซี |
จำนวนทีม | 14 |
ระดับในพีระมิด | 1 |
ตกชั้นสู่ | ฟุตซอล ไทยลีก 2 |
ถ้วยระดับประเทศ | เอฟเอคัพ Futsal Thailand Charity Shield |
ถ้วยระดับนานาชาติ | เอเอฟซีฟุตซอลคลับแชมเปียนชิพ อาเซียนฟุตซอลคลับแชมเปียนชิพ |
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน | ห้องเย็นท่าข้าม (สมัยที่ 1) |
ชนะเลิศมากที่สุด | บลูเวฟ ชลบุรี (11 สมัย) |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ |
ปัจจุบัน: ฤดูกาล 2567–68 |
ประวัติ
ประเทศไทยได้มีการจัดการแข่งขันฟุตซอล 5 คน ขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2540 ด้วยความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่ายที่ช่วยกันผลักดันกีฬาชนิดนี้ให้ได้รับความนิยมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร การกีฬาแห่งประเทศไทย และเดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ร่วมกันจัดการแข่งขันฟุตซอล 5 คน ในรายการ STAR IN DOOR SOCCER 1997 เมื่อ 12–21 กรกฎาคม 2540 ณ เดอะมอลล์ บางกะปิ โดยมี 12 สโมสรจากไทยแลนด์ลีกเข้าร่วมการแข่งขัน และ สโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้รับตำแหน่งชนะเลิศ
ในปีต่อมาได้จัดการแข่งขันฟุตซอล 5 คน ขึ้นอีกเป็นครั้งที่ 2 ในครั้งนี้ สโมสรกรุงเทพมหานคร ชนะ สโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย
ต่อมาในปี 2543 ได้มีการจัดการแข่งขันฟุตซอลขึ้นเป็นครั้งที่ 3 โดยมีการแข่งขันรอบคัดเลือกในแต่ละภาคเพื่อนำทีมชนะเลิศและรองชนะเลิศมาแข่งขันกับทีมสโมสรชั้นนำจากไทยลีก ในการแข่งขันฟุตซอลชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย
ชื่อรายการแข่งขัน
- ครั้งที่ 1 (2549/2550) : ทีโอทีไทยแลนด์ฟุตซอลลีก (TOT Thailand Futsal League)
- ครั้งที่ 2-8 (2550/2551 - 2552) : ไทยแลนด์ฟุตซอลลีก (Thailand Futsal League)
- ครั้งที่ 4 (2553 - 2555) : ยูเอสเอ็มไทยแลนด์ฟุตซอลลีก (USM Thailand Futsal League)
- ครั้งที่ 7-8 (2557 - 2558) : ฟุตซอลไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก (Futsal Thailand Premier League)
- ครั้งที่ 9-12 (2559-2562) : เอไอเอสฟุตซอลไทยแลนด์ลีก (AIS Futsal Thailand League)
- ครั้งที่ 13-16 (2563-2566) : ฟุตซอลไทยลีก (Futsal ThaiLeague)
- ครั้งที่ 17 (2567-ปัจจุบัน) : MEAฟุตซอลไทยลีก (MEA Futsal ThaiLeague)
- ทีโอที
ไทยแลนด์ฟุตซอลลีก
(2549/2550) - ไทยแลนด์
ฟุตซอลลีก
(2550/2551 - 2552) - ยูเอสเอ็ม
ไทยแลนด์ฟุตซอลลีก
(2553 - 2555) - ฟุตซอล
ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก
(2557 - 2558)
เครือข่ายถ่ายทอดโทรทัศน์
- ครั้งที่ 5-7 : ไลฟ์ทีวี (ฟุตบอล พลัส)
- ครั้งที่ 8 : สยามอินเตอร์มัลติมีเดีย(เอสเอ็มเอ็มทีวี) / จีเอ็มเอ็มแซต (จีเอ็มเอ็ม ฟุตบอล พลัส , จีเอ็มเอ็ม ฟุตบอล เอ็กซ์ตร้า) / ซีทีเอช
- ครั้งที่ 9-13 : ไทยรัฐทีวี / เอไอเอส (แอปพลิเคชัน เอไอเอส เพลย์ และกล่อง เอไอเอส เพลย์ บ๊อกซ์)
- ครั้งที่ 14 : ทีสปอร์ตส์ 7 / เอไอเอส (แอปพลิเคชัน เอไอเอส เพลย์ และกล่อง เอไอเอส เพลย์ บ๊อกซ์)
สโมสรชนะเลิศการแข่งขัน
ครั้งที่ | ฤดูกาล | ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | อันดับที่ 3 |
---|---|---|---|---|
1 | 2549/2550 | ชลบุรี บลูเวฟ | ไอ แอม สปอร์ต | ทีโอที |
2 | 2550/2551 | การท่าเรือ | ชลบุรีบลูเวฟ | แคท เอฟซี |
3 | 2552 | ชลบุรี บลูเวฟ | แคท เอฟซี | ไอ แอม สปอร์ต |
4 | 2553 | ธอส.อาร์แบค | การท่าเรือ | แคท เอฟซี |
5 | 2554/55 | ธอส.อาร์แบค | ลำปาง ยูไนเต็ด | การท่าเรือ |
6 | 2555/56 | ชลบุรี ธอส.อาร์แบค | ลำปาง ยูไนเต็ด ปทุมคงคา | ศรีปทุม ซันไรส์ ศรีสะเกษ |
7 | 2557 | ชลบุรี บลูเวฟ | การท่าเรือ | ราชนาวี |
8 | 2558 | ชลบุรี บลูเวฟ | แบงค็อก เอฟซี | การท่าเรือ |
9 | 2559 | ชลบุรี บลูเวฟ | การท่าเรือ | แบงค็อก บีทีเอส |
10 | 2560 | ชลบุรี บลูเวฟ | การท่าเรือ | แบงค็อก บีทีเอส |
11 | 2561 | การท่าเรือ | พีทีที บลูเวฟ ชลบุรี | สุราษฎร์ธานี |
12 | 2562 | การท่าเรือ เอเอสเอ็ม | พีทีที บลูเวฟ ชลบุรี | สุราษฎร์ธานี |
13 | 2563 | ชลบุรี บลูเวฟ | การท่าเรือ เอเอสเอ็ม | แคท เอฟซี |
14 | 2564/65 | ชลบุรี บลูเวฟ | ห้องเย็นท่าข้าม | แบงค็อก บีทีเอส |
15 | 2565 | การท่าเรือ | ห้องเย็นท่าข้าม | แบล็คเพิร์ล ยูไนเต็ด |
16 | 2566 | ห้องเย็นท่าข้าม | แบล็คเพิร์ล ยูไนเต็ด | บลูเวฟ ชลบุรี |
17 | 2567–68 | |||
สโมสรที่เข้าร่วมฟุตซอล ไทยลีก (ฤดูกาล 2567)
- ห้องเย็นท่าข้าม
- แบล็คเพิร์ล ยูไนเต็ด
- บลูเวฟ ชลบุรี
- การท่าเรือ เอเอสเอ็ม
- ธรรมศาสตร์ สแตลเลี่ยน
- แบงค็อก บีทีเอส
- ม.ราชภัฎเพชรบุรี
- นนทบุรี
- ม.เกษมบัณฑิต
- ราชนาวี
- สุราษฏร์ธานี
- ฟุตซอลไทยอาร์มี่
- วายเอฟเอ ศรีราชา
- เจที ทรัค นครราชสีมา
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.