Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2013 (อังกฤษ: 2013 FIFA Confederations Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติคอนเฟเดอเรชันส์คัพ จัดโดยฟีฟ่า ในปี พ.ศ. 2556 ที่ประเทศบราซิล ก่อนที่จะมีการแข่งขันฟุตบอลโลกในปีถัดไป[2] โดยการแข่งขันจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556
Copa das Confederações da FIFA Brasil 2013[1] | |
---|---|
รายละเอียดการแข่งขัน | |
ประเทศเจ้าภาพ | บราซิล |
วันที่ | 15 – 30 มิถุนายน |
ทีม | 8 (จาก 6 สมาพันธ์) |
สถานที่ | 6 (ใน 6 เมืองเจ้าภาพ) |
อันดับเมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน | |
ชนะเลิศ | บราซิล (สมัยที่ 4) |
รองชนะเลิศ | สเปน |
อันดับที่ 3 | อิตาลี |
อันดับที่ 4 | อุรุกวัย |
สถิติการแข่งขัน | |
จำนวนนัดที่แข่งขัน | 16 |
จำนวนประตู | 68 (4.25 ประตูต่อนัด) |
ผู้ชม | 804,659 (50,291 คนต่อนัด) |
ผู้ทำประตูสูงสุด | เฟร์นันโด ตอร์เรส เฟรด (5 ประตู) |
ช่วงที่จะมีการแข่งขันฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพนั้นบางส่วนจะตรงกับการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย โดยสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียจึงขอให้ฟีฟ่าเลื่อนวันการแข่งขัน[3] อย่างไรก็ตาม สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียได้ตัดสินใจที่จะปรับเปลี่ยนวันแข่งขันให้ทีมชาติญี่ปุ่นซึ่งเป็นตัวแทนของสมาพันธ์ในคอนเฟเดอเรชันส์คัพเท่านั้น[4]
ทีมชาติ | สมาพันธ์ | วิธีการเข้ารอบ | วันที่เข้ารอบ | ครั้งที่เข้ารอบ |
---|---|---|---|---|
บราซิล | คอนเมบอล | เจ้าภาพฟุตบอลโลก 2014 | 30 ตุลาคม พ.ศ. 2550 | 7 |
สเปน | ยูฟ่า | ชนะเลิศ ฟุตบอลโลก 2010 | 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 | 2 |
ญี่ปุ่น | เอเอฟซี | ชนะเลิศ เอเอฟซีเอเชียนคัพ 2011 | 29 มกราคม พ.ศ. 2554 | 5 |
เม็กซิโก | คอนคาเคฟ | ชนะเลิศ คอนคาเคฟโกลด์คัพ 2011 | 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554 | 6 |
อุรุกวัย | คอนเมบอล | ชนะเลิศ โกปาอเมริกา 2011 | 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 | 2 |
ตาฮีตี | โอเอฟซี | ชนะเลิศ โอเอฟซีเนชันส์คัพ 2012 | 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555 | 1 |
อิตาลี | ยูฟ่า | รองชนะเลิศ ยูโร 20121 | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555 | 2 |
ไนจีเรีย | ซีเอเอฟ | ชนะเลิศ แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2013 | 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 | 2 |
1อิตาลีได้เข้ารอบเนื่องจากสเปนเป็นผู้ชนะเลิศทั้งฟุตบอลโลก 2010 และยูโร 2012
จะใช้สนามแข่งขัน 6 สนามใน 6 เมือง[5]
เบโลโอรีซอนตี | เรซีฟี | |
---|---|---|
สนามกีฬาผู้ว่าการมากัลไยส์ ปิงตู (มีเนย์เรา) ความจุ : 62,547 คน (ปรับปรุงใหม่) |
อาเรนาเปร์นัมบูกู ความจุ : 44,248 คน (สนามใหม่) | |
บราซีเลีย | รีโอเดจาเนโร | |
สนามกีฬาแห่งชาติบราซีเลีย (มาเน การิงชา) ความจุ : 70,064 คน (สร้างใหม่) |
สนามกีฬานักหนังสือพิมพ์มารีอู ฟิลยู (มารากานัง) ความจุ : 76,804 คน (ปรับปรุงใหม่) [6] | |
ฟอร์ตาเลซา | ซัลวาดอร์ | |
สนามกีฬาปลาซีดู อาเดรัลดู กัสเตลู (กัสเตเลา) ความจุ : 64,846 คน (ปรับปรุงใหม่) |
ศูนย์กีฬาศาสตราจารย์โอกตาวีอู มังกาเบย์รา (อาเรนาฟงชีนอวา) ความจุ : 56,500 คน (สร้างใหม่) |
การจัดสลากแบ่งกลุ่มถูกจัดขึ้นที่ปาลาซีอูดัสกงเวงซอยส์ (Palácio das Convenções) ในศูนย์การประชุมอัญเญงบี (Anhembi Convention Center) เมืองเซาเปาลู เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555[7][8]
ทีมชาติที่มาจากสมาพันธ์ฟุตบอลเดียวกันจะไม่ได้ถูกจัดในกลุ่มเดียวกัน ดังนั้น หนึ่งทีมจากยูฟ่าจะอยู่กลุ่มเดียวกับอีหหนึ่งทีมจากคอนเมบอล เมื่อบราซิลและสเปนถูกจัดให้เป็นเอ 1 และบี 1 โดยอัตโนมัติไปแล้ว อิตาลีและอุรุกวัยจึงถูกจัดลงในกลุ่มเอและกลุ่มบีตามลำดับ[9]
ผู้ตัดสินทั้ง 10 คนถูกประกาศ และยืนยันอย่างเป็นทางการจากฟีฟ่า เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556[10][11]
สมาพันธ์ | ผู้ตัดสิน | ผู้ช่วยผู้ตัดสิน |
---|---|---|
เอเอฟซี | อิวอิชิ นิชิมุระ | โทะรุ ซะกะระ โทะชิอิวงิ นะกิ |
รัฟชัน อีร์มาตอฟ | อับดูฮามีดุลโล ระซูลอฟ บาฮาดืยร์ คอชคารอฟ | |
ซีเอเอฟ | ดฌาเมล ไฮมูดี | อับเดลฮัก เอทชีอาลี เรดวน อาชิก |
คอนคาแคฟ | โคเอล อากูอีลาร์ | วิลเลียม ตอร์เรส ควน ซุมบา |
คอนเมโบล | ดีเอโก อาบัล | เอร์นัน ไมดานา ควน ปาโบล เบลัตติ |
เอนรีเก ออสเซส | เซร์คีโอ โรมัน การ์โลส อัสโตรซา | |
ยูฟ่า | ฮาวเวิร์ด เวบบ์ | ไมเคิล มัลลาร์คีย์ ดาร์เรน แคนน์ |
เฟลิกซ์ บรึช | ซเทฟัน ลุพพ์ มาร์ค บอร์ช | |
บเยิร์น ไคเพิร์ส | ซันเดอร์ ฟาน รูเคิล เอร์วิน เซย์นสตรา | |
เปดรู ปรูเองซา | เบร์ตีนู มีรังดา ตีอากู ตรีกู |
ตารางการแข่งขันได้รับการเปิดเผยในเมืองรีโอเดจาเนโร เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555[12][13]
ทีมชนะเลิศและรองชนะเลิศในแต่ละกลุ่ม จะเข้ารอบรองชนะเลิศต่อไป[14]
เวลาที่ใช้ในการแข่งขันเป็นเขตเวลาบราซีเลีย (UTC –3)
ญี่ปุ่น | 1 – 2 | เม็กซิโก |
---|---|---|
โอกาซากิ 86' | รายงาน | เอร์นันเดซ 54', 66' |
Semi-finals | Final | ||||||
26 มิถุนายน 2556 – เบโลโอรีซอนตี | |||||||
บราซิล | 2 | ||||||
อุรุกวัย | 1 | ||||||
30 มิถุนายน 2556 – มารากานัง|รีโอเดจาเนโร | |||||||
บราซิล | 3 | ||||||
สเปน | 0 | ||||||
Third place | |||||||
27 มิถุนายน 2556 – กัสเตเลา|ฟอร์ตาเลซา | 30 มิถุนายน 2556 – อาเรนาฟงชีนอวา|ซัลวาดอร์ | ||||||
สเปน (pen.) | 0 (7) | อุรุกวัย | 2 (2) | ||||
อิตาลี | 0 (6) | อิตาลี (pen.) | 2 (3) |
รางวัลดังต่อไปนี้ได้รับสำหรับการแข่งขัน:[15]
รางวัลฟีฟ่าแฟร์เพลย์ | รางวัลลูกบอลทองคำ | รางวัลรองเท้าทองคำ | รางวัลถุงมือทองคำ |
---|---|---|---|
สเปน | เนย์มาร์ | เฟร์นันโด ตอร์เรส | ชูลีโอ เซซาร์ |
รางวัลลูกบอลเงิน | รางวัลรองเท้าเงิน |
---|---|
อันเดรส อีเนียสตา | เฟรด |
รางวัลลูกบอลทองแดง | รางวัลรองเท้าทองแดง |
เปาลินโญ | เนย์มาร์ |
|
|
|
|
|
|
ลูกฟุตบอลที่ใช้ในการแข่งขันอย่างเป็นทางการได้รับการเปิดตัวระหว่างการจับสลากแบ่งกลุ่มการแข่งขัน มีชื่อว่า "กาฟูซา" (Cafusa) ซึ่งมาจากคำว่า "Carnaval" หรืองานรื่นเริงของบราซิล, "Futebol" หรือฟุตบอล และ "Samba" แซมบา การเต้นแบบบราซิล[16] กาฟู อดีตกัปตันทีมชาติบราซิล ได้รับเชิญมาเปิดตัวลูกฟุตบอลดังกล่าวอย่างเป็นทางการ[16]
วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556 ฟีฟ่าได้ยืนยันว่าจะใช้เทคโนโลยีโกลไลน์ในการแข่งขันครั้งนี้[17]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.