Loading AI tools
นักเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พริษฐ์ ชิวารักษ์ (เกิด 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2541) ชื่อเล่น เพนกวิน เป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวไทย ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา [1]ปัจจุบันหนีหมายจับอยู่ต่างประเทศ[2] อดีตนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นแกนนำคนหนึ่งของการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 ในนามของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม[3][4] เป็นบุคคลแรก ๆ ที่ถูกจับกุมในฐานชุมนุมผิดกฎหมายพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะและยุยงปลุกปั่นให้ใช้ความรุนแรงตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563[5]
พริษฐ์ ชิวารักษ์ | |
---|---|
พริษฐ์ใน พ.ศ. 2563 | |
เกิด | 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ประเทศไทย |
ชื่ออื่น | เพนกวิน |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
อาชีพ |
|
มีชื่อเสียงจาก | แกนนำการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 |
ขบวนการ | แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม |
รางวัล | รางวัลจารุพงษ์ ทองสินธุ์ เพื่อประชาธิปไตย (พ.ศ. 2564) |
พริษฐ์ ชิวารักษ์ เกิดวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 บุตรนางสุรีย์รัตน์ ชิวารักษ์ อาชีพนักบัญชี เขาเริ่มเป็นที่ปรากฏตัวในสื่อในปี 2558 ด้วยวัย 16 ปี ที่ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งเลขาธิการกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท (ELS) ซึ่งเป็นกลุ่มนักเรียนหัวก้าวหน้าที่เรียกร้องการปฏิรูประบบการศึกษา[6]
ในสมัยที่เขากำลังเรียนอยู่ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เขาได้ขึงป้ายแบนเนอร์ต่อหน้า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรัฐประหาร เพื่อถามว่าเยาวชนไทยจะทำอย่างไรเพื่อหลีกเลี่ยงการคดโกง[7] เขาได้รับยกย่องจากการต่อต้านแผนที่คณะรัฐประหารต้องการจะลดจำนวนปีการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายของรัฐลง ที่ซึ่งหากมีผลจะยกเลิกการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายทั้ง 15 ปี[7][8] เขาเคยถูกดำเนินคดีด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จากการร่วมแสดงในมิวสิกวิดีโอที่มีเนื้อหาต่อต้านการรับร่างรัฐธรรมนูญใหม่[9] นอกจากนี้เขายังทำกิจกรรมต่อต้านระบบโซตัส (SOTUS)[6] ในปี 2560 เขาและกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไทได้จัดกิจกรรมล้อเลียนในวันเด็กแห่งชาติ[10]
ในเดือนมิถุนายน 2563 พริษฐ์มีส่วนร่วมในกิจกรรมเรียกร้องให้รัฐออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อการหนีคดี ของนักกิจกรรมชาวไทย วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ในประเทศกัมพูชา ที่ซึ่งเขาถูกคดีมาตรา 12 จากพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความสะอาดและเป็ระเบียบเรียบร้อยของประเทศ[11] ในวันที่ 8 มิถุนายน 2563 พริษฐ์และ รุ้ง ปนัสยา ได้จัดการประท้วงเล็ก ๆ ที่สถานีตำรวจปทุมวัน เพื่อต่อต้านการต่ออายุพระราชกำหนดบริหารราชการฉุกเฉินในภาวะการแพร่ระบาดทั่วของโควิด-19[12] ในวันที่ 24 มิถุนายน 2563 เขาจัดกิจกรรมรำลึก 88 ปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยาม[13] และในเดือนถัดมา พริษฐ์ได้เข้าร่วมการชุมนุมของ “ประชาชนปลดแอก” ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการประท้วงที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อปี 2557[14] เป็นจุดเริ่มต้นของการประท้วงทั่วประเทศที่ดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน
พริษฐ์ประกาศเริ่มอดอาหารประท้วงตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2564 ภายในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เนื่องจากศาลไม่ให้สิทธิประกันตัวก่อนมีคำพิพากษาคดีเพราะจำเลยได้รับการประกันหลายครั้งแต่ยังกระทำการที่เข้าข่ายมูลฐานความผิดเดิมซ้ำๆหลายครั้ง[15] วันที่ 20 เมษายน 2564 เขาขอถอนทนายความเพื่อประท้วงกระบวนการยุติธรรม[16] ต่อมาวันที่ 29 เมษายน 2564 เขาอดอาหารเป็นวันที่ 46[17] เขาดื่มแต่น้ำดื่มหวาน นม รังนกและน้ำเกลือแร่ และมีการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์แถลงว่าอาการของเขาไม่ได้ทรุดนักตามที่เป็นข่าว มีแต่อ่อนเพลียเล็กน้อยและริมฝีปากแห้ง ในช่วงเย็น ศาลปฏิเสธคำขอประกันตัวเป็นครั้งที่ 9[18] 11 พฤษภาคม 2564 ศาลให้ประกันตัวเพนกวิน พร้อมกับ แอมมี่ ไชยอมร ออกจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร หลังจากศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตปล่อยชั่วคราว โดยวงเงินประกัน 200,000 บาท พร้อมกำหนด 3 เงื่อนไข [19]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.