ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล (เกิด 15 กันยายน พ.ศ. 2541) ชื่อเล่น รุ้ง เป็นผู้ต้องหาตามหมายจับนักเคลื่อนไหวทางการเมืองและนักสิทธิมนุษยชนชาวไทย โฆษกของสหภาพนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) หนึ่งในแกนนำแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เธอเป็นที่รู้จักจากการเป็นผู้อ่านข้อเรียกร้องข้อเสนอปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ 10 ข้อ ในระหว่างการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 และสื่อถือว่าเธอเป็นแกนนำคนสำคัญในการประท้วง[1]
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล | |
---|---|
ปนัสยา ขณะกำลังอ่านแถลงการที่แยกราชประสงค์เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 | |
เกิด | 15 กันยายน พ.ศ. 2541 อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย |
ชื่ออื่น | รุ้ง |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
อาชีพ |
|
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2563–ปัจจุบัน |
มีชื่อเสียงจาก | แกนนำการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 |
ขบวนการ | แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม |
รางวัล | 100 ผู้หญิงผู้สร้างแรงบันดาลใจและทรงอิทธิพลของโลก ประจำปี 2020 |
ประวัติ
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล เกิดเมื่อวันที่15 กันยายน พ.ศ. 2541 ที่อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี เป็นบุตรคนสุดท้องของครอบครัวชนชั้นกลางที่ประกอบอาชีพค้าขาย[2] มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 2 คน ตอนเด็กเธอเป็นคนขี้อายและเก็บตัวเงียบ จนกระทั่งเธอได้เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่สหรัฐ ทำให้เธอกล้าแสดงออกมากขึ้นและปรับตัวเข้ากับสังคมได้มากขึ้น[3]
ปนัสยาสนใจการเมืองมาตั้งแต่ยังเยาว์วัยโดยได้รับการสนับสนุนจากพ่อของเธอ เธอเริ่มค้นคว้าและศึกษาเกี่ยวกับการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 และเธอเริ่มสนใจการเมืองมากกว่าเดิมเมื่อตอนติวสอบเข้ามหาวิทยาลัย[4] เธอมักจะสนทนากับเพื่อนเกี่ยวกับเรื่องการเมืองสมัยที่เธอกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ปัจจุบันเธอกำลังศึกษาอยู่ที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การเคลื่อนไหวทางการเมือง
ปนัสยาเริ่มสนใจทางการเมืองแบบเต็ม ขณะที่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 3[5]
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 เธอถูกเจ้าหน้าที่รัฐจับกุมเนื่องจากฝ่าฝืนพระราชกำหนดในมาตรการสถานการณ์ฉุกเฉิน ในการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศไทย พ.ศ. 2563 จากการที่เธอเข้าร่วมกิจกรรมการชุมนุมของสหภาพนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย จากกรณีการบังคับให้สูญหายซึ่งวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์[4]
ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ปนัสยาได้ขึ้นปราศรัยจากการชุมนุม "ธรรมศาสตร์จะไม่ทน" และได้ปราศรัยเกี่ยวกับ 10 ข้อเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์[6][7] เป็นสาเหตุที่ทำให้เธอถูกทางการจับกุมในภายหลัง[8] ด้วยการปราศรัยที่กล้าหาญและตรงไปตรงมาของเธอทำให้เธอถูกนำไปเปรียบว่าเหมือนอักเนส โจว นักเคลื่อนไหวชาวฮ่องกง[9] ทั้งนี้เธอได้รับการระบุว่าเป็นหนึ่งในแกนนำของการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563[10][11]
ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ปนัสยาได้รับหมายเรียกจากตำรวจ เนื่องจาก นิติพงษ์ ห่อนาค นักดนตรี แจ้งความฟ้องร้องไว้ก่อนหน้านี้ใน ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย
ในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2564 ปนัสยาถูกจับกุมตามหมายจับของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ในข้อหาตามมาตรา 116 ของประมวลกฎหมายอาญา และ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์[12]
ในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2564 รุ้ง ปนัสยา ได้ทำการกรีดข้อมมือตนเองเป็นเลข 112 เพื่อเป็นการประท้วงเชิงสัญลักษณ์เกี่ยวกับข้อเรียกร้อง "ยกเลิก ม.112" บริเวณหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์[13]
ในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ปนัสยาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว หลังศาลอาญาอนุญาตให้ประกันตัว โดยมีค่าประกันตัว 2 แสนบาท ในคดีชุมนุมการเมืองที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปักหมุดคณะราษฎร ที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 19–20 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยมีเงื่อนไขห้ามทำกิจกรรมอันเป็นที่เสื่อมเสียแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ ห้ามเดินทางออกนอกประเทศ และมาตามนัดศาลอย่างเคร่งครัด[14]
ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ศาลอาญากรุงเทพใต้และศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว จนถึง 12 มกราคม พ.ศ. 2565 มีเงื่อนไขให้กำไลอีเอ็มตลอด 24 ชั่วโมง ห้ามออกจากบ้าน สามารถเดินทางไปมหาวิทยาลัย โรงพยาบาล และศาลเท่านั้น [15]
ในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2565 ศาลอาญาอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว จนถึงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2565 โดยมีประกันในวงเงิน 600,000 บาท เนื่องจากเธอได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามที่ศาลกำหนดทุกประการ อย่างไรก็ตาม ศาลให้เธอต้องมารายงานตัวทุก 30 วัน ในระหว่างการปล่อยชั่วคราว[16]
รางวัลและเกียรติยศ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.