Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเทพรัตนมุนี[1] นามเดิม สุรชัย วิชชุกิจมงคล ฉายา สุรชโย (เกิด 20 กันยายน พ.ศ. 2507) เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 5 (4 จังหวัด สุโขทัย, พิษณุโลก, อุตรดิตถ์, ตาก)[2] และเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร[3] ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
พระเทพรัตนมุนี (สุรชัย สุรชโย) | |
---|---|
ชื่ออื่น | เจ้าคุณสุรชัย |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 กันยายน พ.ศ. 2507 (60 ปี) |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | นักธรรมชั้นเอก เปรียญธรรม 7 ประโยค พธ.บ.กิตติมศักดิ์ (สาขาวิชาพุทธศาสตร์) |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก |
อุปสมบท | 26 เมษายน พ.ศ. 2529 |
พรรษา | 38 |
ตำแหน่ง | ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 5 เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร |
พระเทพรัตนมุนี มีนามเดิมว่า สุรชัย วิชชุกิจมงคล เกิดเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2507[4] ภูมิลำเนาเดิม ณ บ้านวัดเสด็จ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร บิดาชื่อ นายวิเชียร มารดาชื่อ นางสาคร นามสกุล วิชชุกิจมงคล
เนื่องด้วยเป็นคนที่มีบุคลิกเรียบร้อยพูดน้อย สุขุมมาตั้งแต่เด็ก และเป็นคนช่างสังเกต มีใจใฝ่ศึกษา มีความจิตเลื่อมใสในพระรัตนตรัยเป็นทุนเดิมตามวิถี คราวเมื่อมีอายุได้ 17 ปี ได้มีโอกาสเดินทางมีเยี่ยมญาติที่ จังหวัดพิษณุโลก ได้เห็นทางวัดได้ติดใบประกาศรับสมัครผู้สนใจบวชเรียน จึงมีจิตเกิดประสาทะเลื่อมใสในทางพระพุทธศาสนา จึงตัดสินใจในขออนุญาตโยมบิดา โยมมารดา เข้าสมัครเรียนพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลี เมื่อบรรพชาแล้วมีความอุสาหะจนสามารถนำความสำเร็จมาสู่วงศ์ตระกูลได้สำเร็จเป็นเปรียญธรรม หรือที่นิยมเรียกว่า “คุณมหา” แต่เนื่องด้วยการศึกษาในอดีตยังไม่ครอบคลุมทั้งการเรียนการสอนก็ค่อนข้างจะลำบาก หลังจากสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค แล้วจึงตัดสินใจเดินทางศึกษาวิชาภาษาบาลีในชั้นสูง ที่กรุงเทพมหานคร โดยได้มีโอกาสเข้าศึกษาต่อที่สำนักเรียนวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ภายใต้การดูแลจาก พระเมธีสุทธิพงษ์ (ระวัง วชิรญาโณ/เม็งเกตุ) คณะ 8 ซึ่งท่านเจ้าคุณฯ เป็นพระเถระที่มีความรู้มีความสามารถ จริยาวัตรเคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง อนึ่งเจ้าคุณฯ มีชาติภูมิเป็นคนอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก โดยกำเนิด จึงนับได้ว่าเป็นบุญ ช่วยนำพาวาสนานำส่ง อันการได้ศึกษาต่อในสำนักเรียนวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร จึงสามารถสอบไล่ได้เปรียญธรรม 6 ประโยค และ เปรียญธรรม 7 ประโยค ตามลำดับ และเจริญงอกงามในสมณธรรมมาโดยลำดับจนถึงปัจจุบัน
ได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร ในหน้าที่ฝ่ายการปกครองวัด เคยดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะภาค 12 เจ้าคณะภาค 12 ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 12 ในขณะเดียวกันยังเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการตรวจนักธรรมสนามหลวง สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง กรรมการตรวจบาลีสนามหลวง สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง
พระเทพรัตนมุนี เคยพำนักจำพรรษาอยู่ที่คณะ 8 วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร จนเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 มหาเถรสมาคมมีมติเห็นชอบอนุมัติให้ลาออกจากตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร ของพระเทพรัตนมุนี เพื่อไปปฏิบัติศาสนกิจ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร[6] จังหวัดพิษณุโลก
วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2567 พระเทพรัตนมุนี เข้ารับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ณ พระวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก[7] โดยมีพระเดชพระคุณ พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน) ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ เจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธี มอบพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้ง เจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.