Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิอโศก (เสียงอ่านภาษาสันสกฤต: [ɐˈɕoːkɐ], IAST: Aśoka; ป. 304 – 232 ปีก่อน ค.ศ.) หรือรู้จักกันในทั่วไปในพระนาม อโศกมหาราช เป็นจักรพรรดิเมาริยะองค์ที่ 3 แห่งแคว้นมคธในอนุทวีปอินเดียตั้งแต่ ป. 268 ถึง 232 ปีก่อน ค.ศ. พระองค์เป็นผู้มีบทบาทมากต่อการเผยแผ่ศาสนาพุทธจักรพรรดิอโศกขยายดินแดนของจักรวรรดิจากสมัยของพระเจ้าจันทรคุปตเมารยะไปถึงพื้นที่ที่ปัจจุบันคืออัฟกานิสถานจนถึงบังกลาเทศ เกือบทั่วทั้งอนุทวีปอินเดีย ยกเว้นเพียงบางส่วนของที่ซึ่งปัจจุบันคือรัฐทมิฬนาฑู, กรณาฏกะ และเกรละ ราชธานีในรัชสมัยคือปาฏลีบุตร (ใน มคธ, ปัจจุบันคือปัฏนา) และราชธานีชนบทที่ตักศิลา และ อุชไชนะ
พระเจ้าอโศกมหาราช | |
---|---|
พระเจ้าจักรพรรดิ Mahasamrat Magadhapati Magadhadhiraj Magadha Samrat Priyadarśin เทวานัมปริยะ Mahasammata janapadasthamaviryaprapt | |
จักรพรรดิโมริยะองค์ที่ 3 | |
ครองราชย์ | ป. 268 – 232 ปีก่อน ค.ศ.[3] |
ราชาภิเษก | 269 ปีก่อน ค.ศ.[3] |
ก่อนหน้า | พระเจ้าพินทุสาร |
ถัดไป | พระเจ้าทศรถ |
พระราชสมภพ | ป. 304 ปีก่อน ค.ศ. ปาฏลีบุตร แคว้นมคธ จักรวรรดิเมารยะ (ปัจจุบันคือปัฏนา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย) |
สวรรคต | 232 ปีก่อน ค.ศ. (ป. 71 – 72 พรรษา) ปาฏลีบุตร แคว้นมคธ จักรวรรดิเมารยะ |
ชายา |
|
พระราชบุตร | |
ราชวงศ์ | โมริยะ |
พระราชบิดา | จักรพรรดิ พินทุสาร เมารยะ |
พระราชมารดา | จักรพรรดินี สุภัทรางคี หรือ ธรรมะ[note 1] |
ศาสนา | พุทธ[4][5] |
ศึกครั้งสำคัญของจักรพรรดิอโศกคือศึกอันโหดร้ายต่อรัฐกลิงคะ (ปัจจุบันอยู่ในรัฐโอริสสา) ข้อมูลจากการตีความจารึกพระเจ้าอโศก ระบุว่าพระองค์เปลี่ยนศาสนาเป็นศาสนาพุทธ[6] หลังต้องเผชิญกับการล้มตายครั้งใหญ่ในสงครามกลิงคะ ซึ่งมีรายงานเสียชีวิตอยู่ที่ราว 100,000 รายเป็นอย่างต่ำ[7] จักรพรรดิอโศกเป็นที่จดจำในฐานผู้ตั้งอโศกสตมภ์ และเผยแผ่จารึกของพระองค์[8] และจากการส่งพระสงฆ์ไปยังศรีลังกาและเอเชียกลาง[4] รวมถึงการสร้างวิหารขึ้นเพื่อบูชาและเป็นอนุสรณ์ต่อช่วงชีวิตสำคัญของพระโคตมพุทธเจ้า[9]
การมีตัวตนของพระเจ้าอโศกในฐานะจักรพรรดิในประวัติศาสตร์เกือบถูกลืมไปแล้ว แต่นับตั้งแต่การถอดความข้อมูลที่เขียนด้วยอักษรพราหมีในคริสต์ศตวรรษที่ 19 พระเจ้าอโศกได้รับการยกย่องในฐานะหนึ่งในจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของประวัติศาสตร์อินเดีย ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐอินเดียดัดแปลงมาจากหัวเสาอโศกรูปสิงห์ ส่วนอโศกจักรนำมาดัดแปลงไปตั้งตรงกลางธงชาติอินเดีย
ข้อมูลของพระเจ้าอโศกมีทั้งจากจารึกของพระองค์ จารึกอื่นที่ระบุถึงพระองค์หรืออาจมาจากสมัยพระองค์ และวรรณกรรมสมัยโบราณ โดยเฉพาะข้อมูลศาสนาพุทธ[10] ข้อมูลเหล่านั้นมักขัดแย้งกันเอง แม้ว่านักประวัติศาสตร์หลายคนพยายามเชื่อมโยงหลักฐานของตนก็ตาม[11] เช่น ในขณะที่พระอโศกมักได้รับการระบุด้วยการสร้างโรงพยาบาลหลายแห่งในสมัยของพระองค์ ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่ามีโรงพยาบาลในอินเดียโบราณช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช หรือพระอโศกมีส่วนรับผิดชอบในการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างหรือไม่[12]
จารึก
จารึกของพระเจ้าอโศกเป็นการแสดงอำนาจของจักรวรรดิแรกสุดในอนุทวีปอินเดีย[13] อย่างไรก็ตาม จารึกเหล่านี้ส่วนใหญ่เน้นไปที่หัวข้อ ธรรมะ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับมุมมองอื่น ๆ ของรัฐหรือสังคมเมารยะน้อย[11] แม้แต่ในหัวข้อ ธรรมะ เนื้อหาเหล่านี้ก็ไม่สามารถตีความหมายอย่างตรงไปตรงมา จอห์น เอส. สตรอง นักวิชาการชาวอเมริกัน พูดไว้ว่า บางครั้งเป็นประโยชน์กว่าที่คิดว่าข้อความของพระเจ้าอโศกเป็นการโฆษณาชวนเชื่อโดยนักการเมืองที่มีจุดมุ่งหมายนำเสนอภาพลักษณ์อันดีของตนเองและฝ่ายบริหาร มากกว่าบันทึกข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์[14]
ตำนานศาสนาพุทธ
ข้อมูลเกี่ยวกับพระเจ้าอโศกจำนวนมากมาจากตำนานศาสนาพุทธที่แสดงพระองค์เป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ในอุดมคติ[15] ตำราเกี่ยวกับตำนานนี้ไม่ได้อยู่ร่วมสมัยพระเจ้าอโศกและเรียบเรียงโดยนักเขียนชาวพุทธที่ใช้เรื่องราวต่าง ๆ ในการแสดงให้เห็นถึงผลของศรัทธาที่มีต่อพระเจ้าอโศก ทำให้จำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังในขณะที่ใช้ข้อมูลนี้ในทางประวัติศาสตร์[16] ในบรรดานักวิชาการสมัยใหม่ มีความเห็นตั้งแต่ละเรื่องราวเหล่านี้เป็นตำนาน ไปจนถึงการยอมรับส่วนที่ดูมีความเป็นไปได้ทางประวัติศาสตร์ทั้งหมด[17]
ตำนานศาสนาพุทธเกี่ยวกับพระเจ้าอโศกปรากฏอยู่ในหลายภาษา เช่น สันสกฤต, บาลี, ทิเบต, จีน, พม่า, เขมร, สิงหล, ไทย, ลาว และโคตัน ตำนานทั้งหมดสืบต้นตอถึงธรรมเนียมปฐมภูมิ 2 แหล่ง คือ:[18]
มีความแตกต่างที่ชัดเจนบางส่วนระหว่างสองธรรมเนียมนี้ เช่น ธรรมเนียมศรีลังกาเน้นบทบาทของพระเจ้าอโศกในตติยสังคายนา และการส่งพระสงฆ์หลายรูปไปยังพื้นที่ห่างไกล ซึ่งรวมถึง มเหนทระ พระโอรส ไปยังศรีลังกา[18] อย่างไรก็ตาม ธรรมเนียมอินเดียเหนือไม่มีระบุถึงเหตุการณ์เหล่านี้ แต่ก็มีเหตุการณ์อื่น ๆ ที่ไม่ปรากฏในธรรมเนียมศรีลังกา เช่นเรื่องราวเกี่ยวกับพระโอรสอีกองค์ที่มีพระนาม Kunala [20]
ข้อมูลอื่น
หลักฐานเกี่ยวกับเหรียญ ประติมากรรม และโบราณคดีเป็นส่วนเสริมการวิจัยเกี่ยวกับพระเจ้าอโศก[21] พระนามของพระองค์ปรากฏในรายพระนาามจักรพรรดิเมารยะในปุราณะหลายบท อย่างไรก็ตาม ข้อความเหล่านี้ไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพระองค์มาก เนื่องจากนักเขียนพราหมณ์ไม่ได้รับการอุปถัมภ์จากราชวงศ์เมารยะ[22] ข้อมูลอื่น ๆ อย่าง Arthashastra และ Indica of Megasthenes ที่ให้ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสมัยเมารยะ สามารถใช้อนุมานเกี่ยวกับรัชสมัยของพระเจ้าอโศกได้[23] กระนั้น Arthashastra เป็นข้อมูลเชิงบรรทัดฐานที่เน้นไปที่อุดมคติมากกว่าสถานะทางประวัติศาสตร์ และการสืบย้อนไปถึงสมัยเมารยะยังคงเป็นประเด็นถกเถียง ส่วน Indica เป็นผลงานที่สูญหาย และมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่รอดมาได้ในรูปแบบของการถอดความในงานเขียนสมัยหลัง[11]
Rajatarangini ข้อมูลในคริสต์ศตวรรษที่ 12 กล่าวถึงกษัตริย์กัศมีร์นาม อโศกแห่งราชวงศ์ Gonandiya ผู้สรา้งสถูปหลายแห่ง: นักวิชาการบางสว่น เช่น Aurel Stein ระบุกษัตริย์องค์นี้เป็นจักรพรรดิอโศกแห่งเมารยะ ในขณะที่นักวิชาการอีกกลุ่ม อย่าง Ananda W. P. Guruge ปัดการระบุตัวตนนี้ว่าไม่ถูกต้อง[24]
พระนาม "อโศก" หมายถึง "ไร้ซึ่งความเศร้า" ตำนาน อโศกาวทาน ระบุไว้ว่า พระราชมารดาให้พระนามนี้เนื่องจากการที่พระองค์กำเนิดขจัดความเศร้าของพระนาง[25]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ธรรมเนียมศรีลังการะบุว่า พระเจ้าอโศกสวรรคตในปีรัชสมัยที่ 37[26] ซึ่งเสนอแนะว่าพระองค์สวรรคตประมาณ 232 ปีก่อน ค.ศ.[27]
ตำนานระบุว่าในช่วงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระวรกายของพระองค์ถูกเผาไหม้เป็นเวลา 7 วัน 7 คืน[28]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.