พระเจ้าราชาธิราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระเจ้าราชาธิราช

พระเจ้าราชาธิราช (มอญ: သၟိၚ်ရာဇာဓိရာတ်, ออกเสียง[note 1]; พม่า: ရာဇာဓိရာဇ်, เสียงอ่านภาษาพม่า: [jàzàdəɹɪ̀ʔ] หรือ [jàza̰dəɹɪ̀ʔ] หย่าซาดะยิต; ค.ศ. 1368–1421) มีพระนามเดิมว่า พญาน้อย หรือ มังสุระมณีจักร์[1] (มอญ: ဗညာနဲ, ออกเสียง; พม่า: ဗညားနွဲ့, [bəɲá nwɛ̰]) ทรงเป็นกษัตริย์มอญแห่งราชอาณาจักรหงสาวดี ระหว่างปี ค.ศ. 1384–1421 (พ.ศ. 1927–1964) ซึ่งได้รับการนับถือว่าเป็นหนึ่งในกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มอญและพม่า พระองค์ประสบความสำเร็จในการรวบรวมดินแดนที่พูดภาษามอญทั้ง 3 แห่งในพม่าตอนล่างให้เป็นเอกภาพ และสามารถต้านทานการรุกรานของอาณาจักรอังวะซึ่งเป็นอาณาจักรของกลุ่มชนที่พูดภาษาพม่าในพม่าตอนบนไว้ได้ในช่วงสงครามสี่สิบปี (ค.ศ. 1385–1424)

ข้อมูลเบื้องต้น ราชาธิราช ရာဇာဓိရာဇ်, พระเจ้าหงสาวดี ...
ราชาธิราช
ရာဇာဓိရာဇ်
Thumb
พระบรมรูปของพระเจ้าราชาธิราชที่เมืองกะมาแวะ รัฐมอญ
พระเจ้าหงสาวดี
ครองราชย์4 มกราคม ค.ศ. 1384 – ป. ธันวาคม ค.ศ. 1421
ราชาภิเษก5 มกราคม ค.ศ. 1384
ก่อนหน้าพระยาอู่
ถัดไปพญาธรรมราชา
อัครมหาเสนาบดีร่วมสมิงชีพราย (1384–1388)
ยัตซา (1388–1413)
เทียนมานียุต (1388–1421)
พระราชสมภพ28 มกราคม ค.ศ. 1368
วันศุกร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือนดะโบ่-ดแว มรันมาศักราช 729
โดนวู่น
อาณาจักรเมาะตะมะ
สวรรคต29 ธันวาคม ค.ศ. 1421 (53 พรรษา)
วันจันทร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือนดะโบ่-ดแว มรันมาศักราช 783
Kama Thamein Paik
อาณาจักรหงสาวดี
ฝังพระศพพะโค
ชายาตะละแม่ท้าว (1383–1390)
ปิยราชเทวี (1383–1392; อัครมเหสี)
ราชเทวี (1392–1421; อัครมเหสี)
Lawka Dewi (1392–1421)
Thiri Maya Dewi Mi U-Si (1392–1421)
พระราชบุตร
กับพระองค์อื่น ๆ...
พ่อลาวแก่นท้าว
พญาธรรมราชา
พญารามที่ 1
พญาเกียรติ์
Binnya Set
พระนางเชงสอบู
พระนามเต็ม
Thumb
Smiṅ Su Ta So Ma Rā Jā ออกเสียง
ราชวงศ์หงสาวดี (ฟ้ารั่ว)
พระราชบิดาพระยาอู่
พระราชมารดาพระนางสิริมายาเทวี
ศาสนาพุทธเถรวาท
ปิด

ประวัติศาสตร์นิพนธ์

สรุป
มุมมอง

พงศาวดารแรกสุดที่กล่าวถึงพระองค์คือ ราชาธิราช โดยเป็นพงศาวดารที่มีรายละเอียดมากที่สุด มีข้อมูลเกี่ยวกับพระองค์และราชวงศ์เมาะตะมะ-หงสาวดีช่วงแรกที่น่าเชื่อถือ[2] ส่วน พงศาวดารปากลัด ก็กล่าวถึงพระองค์ด้วย แต่ยังคงต้องพิสูจน์แหล่งที่มาและความน่าเชื่อถือของพงศาวดารในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20[3] อย่างไรก็ตาม พงศาวดารขนาดเล็กอย่าง พงศาวดารหงสาวดี และ พงศาวดารมอญ มีข้อมูลเกี่ยวกับพระองค์เพียงเล็กน้อย โดยพงศาวดารหงสาวดีที่เขียนโดยพระสงฆ์มีเนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการอุปถัมภ์ทางศาสนาที่เจดีย์ชเวดากอง ให้ข้อมูลเพียงวรรคเดียวว่า ความสำเร็จตลอดทั้งชีวิตของพระเจ้าราชาธิราชคือการเมืองเป็นหลัก[4]

ข้อมูลเพิ่มเติม เหตุการณ์, ราชาธิราช (ป. คริสต์ทศวรรษ 1560) ...
เหตุการณ์ ราชาธิราช (ป. คริสต์ทศวรรษ 1560) ปากลัด (1912) พงศาวดารหงสาวดี (1766) มหาราชวงศ์ (1724) มหาราชวงศ์ ฉบับใหม่ (1798) มหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว (1832)
วันพระราชสมภพ 28 มกราคม ค.ศ. 1368[note 2] ค.ศ. 1367/68[5] ป. ค.ศ. 1367/68[6] ไม่ได้ระบุ
ครองราชย์ 4 มกราคม ค.ศ. 1384[note 3] 2 มกราคม ค.ศ. 1384[note 4] ค.ศ. 1383/84[6] ค.ศ. 1383/84[note 5] ค.ศ. 1383/84[note 6] ค.ศ. 1383/84[note 7]
เริ่มสงครามสี่สิบปี ค.ศ. 1384/85[note 8] ค.ศ. 1387/88 [sic][note 9] ไม่ได้ระบุ ค.ศ. 1386/87[note 10] ค.ศ. 1385/86[note 11] ค.ศ. 1386/87[note 12]
ระยะเวลาครองราชย์ ~38 ปี[5] 38 [sic][note 13] 38 ปี[6] 40 ปี[7] ~38 ปี[note 14] 40 ปี[8]
ปีที่สวรรคต ค.ศ. 1421/22[5] ค.ศ. 1420/21 [sic][5] ค.ศ. 1421/22[6] ค.ศ. 1423/24[note 15] ค.ศ. 1421/22[note 16] ค.ศ. 1423/24 หรือ
1422/23 [sic][note 17]
พระชนมายุตอนสวรรคต 53 พรรษา (ปีที่ 54)[5] 53 พรรษา (ปีที่ 54)[5] 53 พรรษา (ปีที่ 54)[6] ไม่ได้ระบุ
ปิด

พงศาวลี

ข้อมูลเพิ่มเติม พงศาวลีของพระเจ้าราชาธิราช ...
ปิด

หมายเหตุ

  1. รูปสะกด "ရာဇာဓိရာတ်" นำมาจาก Slapat Rajawan (Schmidt 1906: 118) และจารึกเจดีย์ชเวดากองใน ค.ศ. 1485 (Pan Hla 2005: 368, footnote 1). ยาซาดะริตอเยดอว์บอง (Pan Hla 2005) ใช้รูปสะกด ရာဇာဓိရာဇ် ทั้งภาษามอญและพม่า ดู (Pan Hla 2005: 395) ในส่วนที่มีชื่อ ရာဇာဓိရာဇ်. รูปสะกด ရာဇာဓိရာတ် อาจเป็นรูปสะกดในอดีต
  2. (Pan Hla 2005: 356, footnote 1): วันศุกร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือนดะโบ่-ดแว 729 ME = 28 มกราคม ค.ศ. 1368
  3. (Pan Hla 2005: 356, footnote 1): วันจันทร์ ขึ้น 12 ค่ำ เดือนดะโบ่-ดแว 745 ME = 4 มกราคม ค.ศ. 1384
  4. (Pan Hla 2005: 161): ขึ้น 10 ค่ำ เดือนดะโบ่-ดแว 745 ME = 2 มกราคม ค.ศ. 1384
  5. (Maha Yazawin Vol. 1 2006: 290) และ (Maha Yazawin Vol. 2 2006: 140): 745 ME = 30 มีนาคม ค.ศ. 1383 ถึง 28 มีนาคม ค.ศ. 1384
  6. (Yazawin Thit Vol. 1 2012: 195): 745 ME = 30 มีนาคม ค.ศ. 1383 ถึง 28 มีนาคม ค.ศ. 1384
  7. (Hmannan Vol. 1 2003: 417) และ (Hmannan Vol. 2 2003: 185): 745 ME = 30 มีนาคม ค.ศ. 1383 ถึง 28 มีนาคม ค.ศ. 1384
  8. (Pan Hla 2005: 164–165): Soon after Razadarit's accession; the chronicle reporting suggests 746 ME, 1384–85
  9. (Pan Hla 2005: 169, footnote 1): Pak Lat, which editor Pan Hla refers to as the Mon version, says the war began in 749 ME (1387/88). But 749 ME appears to be a copying error of 746 ME.
  10. (Maha Yazawin Vol. 1 2006: 290): 748 ME = 29 มีนาคม ค.ศ. 1386 ถึง 29 มีนาคม ค.ศ. 1387
  11. (Yazawin Thit Vol. 1 2012: 195): 747 ME = 29 มีนาคม ค.ศ. 1385 ถึง 28 มีนาคม ค.ศ. 1386
  12. (Hmannan Vol. 1 2003: 417): 748 ME = 29 มีนาคม ค.ศ. 1386 ถึง 29 มีนาคม ค.ศ. 1387
  13. Pak Lat (Pan Hla 2005: 356, footnote 1) says he reigned 38 years between 745 ME and 782 ME. He could have reigned for at most 37 years.
  14. ปีที่สวรรคต, 783 ME – ปีครองราชย์, 747 ME = ~38 ปี
  15. (Maha Yazawin Vol. 2 2006: 140): Razadarit died in 785 ME. (Maha Yazawin Vol. 2 2006: 56): Razadarit died in the following year after Minkhaung I's death in 784 ME.
  16. (Yazawin Thit Vol. 1 2012: 265): Minkhaung died in 783 ME, and Razadarit died two months later in the same year (783 ME).
  17. Hmannan is inconsistent. (Hmannan Vol. 2 2003: 185) follows Maha Yazawin's reporting that Razadarit died in 785 ME (1423/24). But (Hmannan Vol. 2 2003: 52) accepts that Yazawin Thit's date of death for Minkhaung (783 ME, 1421/22) but keeps Maha Yazawin's reporting that Razadarit died in the following year after Minkhaung's death, which now means 784 ME (1422/23). Hmannan should have said Razadarit died about two years after Minkhaung's death, if it wished to keep 785 ME as date of death of Razadarit.

อ้างอิง

บรรณานุกรม

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.