พรรณชื่น รื่นศิริ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คุณหญิงพรรณชื่น รื่นศิริ (7 เมษายน พ.ศ. 2472 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2551) อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) และประธานมูลนิธิคุณหญิงพรรณชื่น รื่นศิริ
พรรณชื่น รื่นศิริ | |
---|---|
![]() | |
ผู้อำนวยการโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2516 – 2522 | |
ก่อนหน้า | นายเฉลิม สิงหเสนี |
ถัดไป | นางสงัด จิตตะยโสธร |
ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2522 – 2532 | |
ก่อนหน้า | คุณหญิงสุชาดา ถิระวัฒน์ |
ถัดไป | คุณหญิงพรรณี กาญจนะวสิต |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 เมษายน พ.ศ. 2472 |
เสียชีวิต | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2551 (79 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | นายจำกัด รื่นศิริ |
บุตร | 1 คน |
วิชาชีพ | ข้าราชการครู |
ประวัติ
สรุป
มุมมอง
คุณหญิง พรรณชื่น (ชวนะลิขิกร) รื่นศิริ เกิดเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2472 เป็นธิดาของพลตรี พระยาทรงอักษร (ชวน ชวนะลิขิกร) กับคุณหญิงผิว ทรงอักษร เข้าศึกษาที่โรงเรียนเขมะสิริอนุสรณ์และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 7 สำเร็จการศึกษาอักษรศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อ.บ., อนุปริญญา ค.บ.) และบรรจุเข้ารับราชการเป็นครูตรี แผนกวิชาภาษาอังกฤษ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาหลังสำเร็จการศึกษาแล้ว ก่อนที่จะได้เป็นหัวหน้าตึก 3 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ในปี พ.ศ. 2516 ท่านได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ซึ่งท่านเป็นผู้อำนวยการคนแรกที่ไปบุกเบิก ณ สถานที่ปัจจุบันอีกด้วย ก่อนจะย้ายกลับมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในปี พ.ศ. 2522 และได้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ตรวจราชการกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการอีกด้วย นับว่าคุณหญิงพรรณชื่น รื่นศิริเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนระดับ 9 คนแรกของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาที่ได้รับตำแหน่งนี้
ในขณะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ท่านได้พัฒนาโรงเรียนในหลายๆ ด้าน อาทิ ด้านวิชาการ มีการเปิดรายวิชาพื้นฐานวิชาอาชีพ ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. 2524 รวมทั้งปรับปรุงการเรียนการสอนให้เป็นไปตามหลักสูตร 3 ปี ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทยและโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาได้ริเริ่มการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ จัดห้อง 57 ซึ่งเคยเป็นห้องทำงานของ ฯพณฯ ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ให้เป็นห้อง ฯพณฯ ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เป็นต้น
ด้านอาคารสถานที่ มีการก่อสร้างหอประชุม ตึก 9 ตึกศิลปะ และตึก 50 ปี และในการฉลอง 50 ปีโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ซึ่งในวาระนี้ได้มีการจัดทำหนังสือ 50 ปีโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาด้วย คุณหญิงพรรณชื่นมีข้อคิดที่เป็นที่รู้จักคือ "ผู้ที่เป็นครูและมีจิตใจเป็นครูนั้น ความสุขคือความสำเร็จและความเจริญก้าวหน้าของศิษย์"
คุณหญิงพรรณชื่นได้ก่อตั้งมูลนิธิคุณหญิงพรรณชื่น รื่นศิริและเป็นประธานมูลนิธิ ตลอดจนเป็นนายกสมาคมสตรีอาสาสมัครรักษาดินแดน
คุณหญิงพรรณชื่น รื่นศิริถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคมะเร็งตับ หลังรับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2551 สิริอายุได้ 79 ปี การนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ พระราชทานโกศแปดเหลี่ยม ฉัตรเบญจาตั้งประดับ กับรับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ มีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมเวลากลางคืน กำหนด 3 คืน ณ ศาลากวีนิรมิต (ศาลากลางน้ำ) วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร [1][2] และในวันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เวลา 17.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพคุณหญิงพรรณชื่น รื่นศิริ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พรรณชื่นได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้
- พ.ศ. 2532 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2529 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[4]
- พ.ศ. 2527 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายใน)[5]
- พ.ศ. 2521 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.