พรทิพย์ โล่ห์วีระ (เกิด 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503) อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดชัยภูมิ อดีตรองประธานวุฒิสภา คนที่สอง[1] และอดีตประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
พรทิพย์ โล่ห์วีระ จันทร์รัตนปรีดา | |
---|---|
รองประธานวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 – 6 เมษายน พ.ศ. 2556 (2 ปี 38 วัน) ดำรงตำแหน่งร่วมกับ สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย | |
ก่อนหน้า | ทัศนา บุญทอง |
ถัดไป | อนันต์ อริยะชัยพาณิชย์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา |
คู่สมรส | ทรงศักดิ์ จันทร์รัตนปรีดา |
ประวัติ
นางพรทิพย์ จันทร์รัตนปรีดา (สกุลเดิม โล่ห์วีระ) เกิดเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 เป็นบุตรของนายสมบัติ โล่ชัยวิบูลย์ กับนางเข็มทอง โล่ห์วีระ มีพี่น้อง 10 คน[2] อาทิ อร่ามอาชว์วัต โล่ห์วีระ (ชื่อเดิม นายอร่าม โล่ห์วีระ) อดีต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชัยภูมิ
พรทิพย์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี อักษรศาสตรบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ระดับปริญญาโท อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์) สาขาการบริหารบุคคล จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) นอกจากนั้นยังผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง “การบริหารเศรษฐกิจสาธารณะ สำหรับนักบริหารระดับสูง” (ปศส.) รุ่น 8 สถาบันพระปกเกล้า และหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง “การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง” (ปปร.) รุ่น 14 สถาบันพระปกเกล้า
พรทิพย์ สมรสกับนายทรงศักดิ์ จันทร์รัตนปรีดา มีบุตร 2 คน[2]
การทำงาน
นางพรทิพย์ เคยรับราชการเป็นอาจารย์ประจำวิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ ต่อมาได้ย้ายมารับราชการเป็นอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และเข้าสู่งานการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาจังหวัดชัยภูมิ และเป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ จากนั้นได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดชัยภูมิ ต่อมาเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกเป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 แทนรองศาสตราจารย์ทัศนา บุญทอง และลาออกจากตำแหน่งเมื่อครบ 2 ปี ตามที่ได้แสดงวิสัยทัศน์เอาไว้[3][4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
อ้างอิง
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.