Loading AI tools
อดีตประธานรัฐสภาไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลตรี บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ (ชื่อเดิม: กิมกุ่ย) (13 เมษายน พ.ศ. 2462 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559) เป็นนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นอดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี 10 สมัย
บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ | |
---|---|
ประธานรัฐสภาไทย และ ประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 27 กันยายน พ.ศ. 2539 (1 ปี 78 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย บรรหาร ศิลปอาชา |
ก่อนหน้า | มารุต บุนนาค |
ถัดไป | วันมูหะมัดนอร์ มะทา |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 (0 ปี 76 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 (2 ปี 122 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 เมษายน พ.ศ. 2462 อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 (97 ปี) โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | เสรีมนังคศิลา (2500) ประชาธิปัตย์ (2500–???) สหประชาไทย (2512–2514) ธรรมสังคม (2518–2519) ชาติไทย (2519–2539) |
คู่สมรส | ดวงเนตร ประเสริฐสุวรรณ[1] |
บุตร | 10 คน |
บุพการี |
|
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
ยศ | พลตรี[2] |
บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2462 ที่ตำบลมะขามล้ม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรของนายเอี้ยง กับนางช่วง สุวรรณหงษ์ (ต่อมาเปลี่ยนเป็น "ประเสริฐสุวรรณ") จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย และจบหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาครูพิเศษมัธยม (พม.) จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนทหารเสนารักษ์
สมรสกับนางดวงเนตร ประเสริฐสุวรรณ มีบุตร - ธิดา รวม 10 คน คือ
บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ เริ่มทำงานหลังจากจบประกาศนียบัตรครูพิเศษมัธยม (พม.) โดยเป็นครูประจำโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2480 ก่อนจะไปศึกษาต่อที่โรงเรียนทหารเสนารักษ์ และรับราชการมีชั้นยศ "สิบเอก" จากนั้นได้เข้าร่วมในราชการสงครามจนได้รับเหรียญชัยสมรภูมิมหาเอเชียบูรพา และเหรียญชัยสมรภูมิสงครามโลกครั้งที่สอง และกลับมาเป็นอาจารย์สอนประจำที่โรงพยาบาลอานันทมหิดล จังหวัดลพบุรี กระทั่ง พ.ศ. 2488 ได้ลาออกจากราชการเพื่อดูแลครอบครัว และเปิดคลินิกรักษาพยาบาลชื่อว่า "วิริยะการแพทย์"
บุญเอื้อ ได้เข้าสู่งานการเมืองโดยลงสมัครเป็นสมาชิกสภาจังหวัด (สจ.) เขตอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี และได้รับเลือกตั้งรวม 4 สมัย จากนั้นจึงได้เข้าสู่สนามการเมืองระดับชาติโดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500[3] จนถึงปี พ.ศ. 2539 รวมถึง 10 สมัย โดยในระยะแรกได้ร่วมงานการเมืองกับพรรคเสรีมนังคศิลา, พรรคประชาธิปัตย์ และ พรรคสหประชาไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 จึงย้ายมาร่วมงานกับพรรคธรรมสังคม และพรรคชาติไทยในปีถัดมา และยังเป็นผู้ชักชวนนายบรรหาร ศิลปอาชา เข้าสู่งานการเมืองอีกด้วย
บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[4] ในรัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ สืบแทนพันตำรวจเอก กฤช สังขทรัพย์ ที่ถึงแก่อนิจกรรมจากเหตุเฮลิคอปเตอร์เบลล์ตกที่จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2524
บุญเอื้อ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[5][6] ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 ได้รับเลือกเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร[7]
บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ได้รับพระราชทานยศ "พลตรี" เป็นกรณีพิเศษ เมื่อปี พ.ศ. 2540[8][9]
พลตรี บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบ ในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 08.00 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช ด้วยโรคชรา สิริอายุรวมได้ 97 ปี และมีพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพในวันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2559[10] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.