เลิศ ชินวัตร (10 ตุลาคม พ.ศ. 2462 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2540) อดีตนักการเมืองชาวไทย เป็นบิดาของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 ของประเทศไทย และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 28 ของประเทศไทย

ข้อมูลเบื้องต้น เลิศ ชินวัตรต.ม., สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ ...
เลิศ ชินวัตร
Thumb
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512  17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 ตุลาคม พ.ศ. 2462
อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ (มณฑล​พายัพ)​
เสียชีวิต23 ตุลาคม พ.ศ. 2540 (78 ปี)
พรรคการเมืองพลังใหม่
คู่สมรสยินดี ชินวัตร (2486–2529)
บุตรเยาวลักษณ์ ชินวัตร
ทักษิณ ชินวัตร
เยาวเรศ ชินวัตร
ปิยนุช ลิ้มพัฒนาชาติ
อุดร ชินวัตร
เยาวภา วงศ์สวัสดิ์
พายัพ ชินวัตร
มณฑาทิพย์ โกวิทเจริญกุล
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ทัศนีย์ ชินวัตร
ปิด

ประวัติ

เลิศ เดิมมีชื่อว่า "บุญเลิศ แซ่คู"[1] เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2462 ที่อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรคนที่ 4 จากบุตรจำนวน 12 คน ของนายเชียง (คู ชุนเชียง) และนางแสง ชินวัตร ชาวไทยเชื้อสายจีนแคะอพยพจากจังหวัดจันทบุรี จบการศึกษาจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย หลังจากจบมัธยม 8 ได้ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ไม่สำเร็จการศึกษา เนื่องจากครอบครัวขาดผู้สืบทอดธุรกิจ[2]

ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางยินดี ชินวัตร (ระมิงวงศ์) ธิดาในเจ้าจันทร์ทิพย์ ณ เชียงใหม่ และนัดดาในเจ้าไชยสงคราม สมพมิตร ณ เชียงใหม่[3][4] มีบุตรธิดารวม 10 คน ได้แก่

  1. เยาวลักษณ์ ชินวัตร สมรสกับ พ.อ.(พิเศษ) ศุภฤกษ์ คล่องคำนวณการ
  2. ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตอดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของประเทศไทย เคยสมรสกับคุณหญิง พจมาน ณ ป้อมเพชร (ดามาพงศ์)
  3. เยาวเรศ ชินวัตร เคยสมรสกับวีระชัย วงศ์นภาจันทร์
  4. ปิยนุช ลิ้มพัฒนาชาติ สมรสกับสง่า ลิ้มพัฒนาชาติ
  5. อุดร ชินวัตร
  6. เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ สมรสกับสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของประเทศไทย
  7. พายัพ ชินวัตร สมรสกับพอฤทัย ชินวัตร (จันทรพันธ์)
  8. มณฑาทิพย์ โกวิทเจริญกุล สมรสกับ นพ.สมชัย โกวิทเจริญกุล
  9. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของประเทศไทย สมรสกับอนุสรณ์ อมรฉัตร[5]
  10. ทัศนีย์ ชินวัตร (เสียชีวิตแล้ว)

เลิศ ชินวัตร เสียชีวิตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ด้วยโรคระบบหายใจล้มเหลว สิริอายุได้ 78 ปี โดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ([สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในขณะนั้น)และ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540

การทำงาน

เลิศ เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เพียงภาคเรียนเดียว ต้องกลับมาช่วยกิจการของครอบครัว คือ โรงงานทอผ้าไหมชินวัตรพาณิชย์ และธุรกิจตลาดสดสันกำแพง ต่อมาได้ประกอบกิจการหลายอย่าง เช่น รับเหมาก่อสร้างโรงไฟฟ้าตามต่างจังหวัด เปิดร้านกาแฟที่ห้องแถวไม้หน้าตลาดสันกำแพง ทดลองทำสวนส้มเขียวหวาน สวนฝรั่งและผลไม้เมืองหนาว หลังจากนั้น จึงมาทำงานที่ธนาคารนครหลวงไทย สาขาเชียงใหม่ ในตำแหน่งหัวหน้าสินเชื่อ ต่อมาร่วมหุ้นทำโรงภาพยนตร์ศรีวิศาลและได้ซื้อหุ้นไว้ทั้งหมด หลังจากนั้นได้สร้างโรงภาพยนตร์ชินทัศนีย์ ที่ถนนเจริญเมืองและซื้อกิจการรถเมล์วิ่งในตัวเมืองเชียงใหม่[2]

งานการเมือง

เลิศ ชินวัตร เริ่มสนใจเล่นการเมืองท้องถิ่นเมื่อปี พ.ศ. 2510 เริ่มสมัครสมาชิกสภาจังหวัดเชียงใหม่และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาจังหวัด เขตอำเภอสันกำแพง ในปี พ.ศ. 2512 ลงรับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ในสังกัดพรรคพลังใหม่และได้รับเลือก[6] แต่ในการเลือกอีกครั้งในปี พ.ศ. 2518 ไม่ได้รับเลือกตั้ง[7] ก่อนจะวางมือไปหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.