บางกอกใหญ่ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี
เขตบางกอกใหญ่ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Bangkok Yai |
คำขวัญ: บางกอกใหญ่เมืองหลวงไทยในอดีต ป้อมวิไชยประสิทธิ์พระราชวังเดิม เฉลิมพระนามพระเจ้ากรุงธน งามน่ายลพระปรางค์วัดอรุณ เทิดพุทธคุณหลวงพ่อเกษร นามขจรสมเด็จวัดพลับ เลิศกิตติศัพท์หลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ งามน่าดูสองฝั่งคลองบางหลวง | |
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตบางกอกใหญ่ | |
พิกัด: 13°43′22″N 100°28′35″E | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 6.18 ตร.กม. (2.39 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565) | |
• ทั้งหมด | 60,675[1] คน |
• ความหนาแน่น | 9,817.96 คน/ตร.กม. (25,428.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10600 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1016 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 1 ถนนรัชดาภิเษก แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600 |
เว็บไซต์ | www |
ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตบางกอกใหญ่ตั้งอยู๋ริมฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งธนบุรี) มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตตลิ่งชันและเขตบางกอกน้อย มีคลองมอญเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตพระนครและเขตธนบุรี มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองบางกอกใหญ่เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตธนบุรี มีคลองบางกอกใหญ่และคลองบางหลวงเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตภาษีเจริญ มีคลองบางกอกใหญ่เป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์
ชื่อของเขตบางกอกใหญ่มีที่มาจากคลองบางกอกใหญ่ (คลองบางหลวง) ซึ่งเคยเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิมแต่แคบลงและกลายเป็นคลองหลังการขุดคลองลัดใน พ.ศ. 2095 เขตบางกอกใหญ่เคยเป็นที่ตั้งของกรุงธนบุรีเมื่อแรกเริ่ม
ใน พ.ศ. 2458 มีชื่อเรียกว่า อำเภอหงสาราม ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอบางกอกใหญ่ ใน พ.ศ. 2481 จากนั้นถูกยุบลงเป็น กิ่งอำเภอบางกอกใหญ่ ขึ้นกับอำเภอบางยี่ขัน จนกระทั่งใน พ.ศ. 2501 มีพระราชกฤษฎีกาตั้งกิ่งอำเภอบางกอกใหญ่เป็น อำเภอบางกอกใหญ่ อีกครั้ง ต่อมามีประกาศคณะปฏิวัติให้รวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนครเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีใน พ.ศ. 2514[2] และเปลี่ยนรูปแบบเป็นกรุงเทพมหานครใน พ.ศ. 2515[3] ซึ่งได้เปลี่ยนคำว่าอำเภอเป็น "เขต" อำเภอบางกอกใหญ่จึงมีฐานะเป็น เขตบางกอกใหญ่ นับแต่นั้น
การแบ่งเขตการปกครอง
เขตบางกอกใหญ่แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง ได้แก่
ประชากร
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบางกอกใหญ่[4] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 100,466 | ไม่ทราบ |
2536 | 100,408 | -58 |
2537 | 98,895 | -1,513 |
2538 | 96,364 | -2,531 |
2539 | 94,975 | -1,389 |
2540 | 93,859 | -1,116 |
2541 | 91,584 | -2,275 |
2542 | 89,763 | -1,821 |
2543 | 88,809 | -954 |
2544 | 87,201 | -1,608 |
2545 | 86,134 | -1,067 |
2546 | 85,075 | -1,059 |
2547 | 82,666 | -2,409 |
2548 | 81,727 | -939 |
2549 | 80,863 | -864 |
2550 | 79,637 | -1,226 |
2551 | 78,307 | -1,330 |
2552 | 76,608 | -1,699 |
2553 | 75,621 | -987 |
2554 | 73,864 | -1,757 |
2555 | 72,241 | -1,623 |
2556 | 71,087 | -1,154 |
2557 | 70,003 | -1,084 |
2558 | 69,349 | -654 |
2559 | 67,887 | -1,462 |
2560 | 67,768 | -119 |
2561 | 67,211 | -557 |
2562 | 66,152 | -1,059 |
2563 | 63,861 | -2,291 |
2564 | 62,650 | -1,211 |
2565 | 61,579 | -1,071 |
2566 | 60,675 | -904 |
การคมนาคม
- ถนนวังเดิม
- ถนนเพชรเกษม
- ถนนอรุณอมรินทร์
- ถนนอิสรภาพ
- ถนนรัชดาภิเษก
- ถนนจรัญสนิทวงศ์
- ถนนพาณิชยการธนบุรี
- รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สถานีท่าพระ, จรัญฯ 13 และอิสรภาพ)
ทางน้ำ
สถานที่สำคัญ
- วัดอรุณราชวราราม
- พระราชวังเดิม
- วัดหงส์รัตนาราม
- วัดเครือวัลย์วรวิหาร
- วัดโมลีโลกยาราม
- วัดราชสิทธาราม
- วัดใหม่พิเรนทร์
- วัดนาคกลาง
- วัดท่าพระ
- วัดสังข์กระจาย
- วัดไชยฉิมพลี
- วัดประดู่ฉิมพลี
- สี่แยกท่าพระ
- โรงเรียนทวีธาภิเศก
- โรงเรียนฤทธิณรงค์รอน
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี
- วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี
- วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
- โรงเรียนวิบูลย์เสรีวิทยา
- โรงเรียนสายประสิทธิ์วิทยา
- หอประชุมกองทัพเรือ
- กองบัญชาการกองทัพเรือ
- หอศิลป์ C13 Art Space สาขาวิชาวิจิตรศิลป์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.