Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นิคม เชาว์กิตติโสภณ เป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดลำปาง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่[1] และเป็นผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนประชาวิทย์ และ ประธานมูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาวิทย์ จังหวัดลำปาง ปัจจุบันสังกัดพรรคประชาธิปัตย์
นิคม เชาว์กิตติโสภณ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ชาติไทย (2538–2542) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–2554) ประชาธิปัตย์ (2554–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | นิภา เชาว์กิตติโสภณ |
บุตร | เชาวยุทธ เชาว์กิตติโสภณ |
นิคม เชาว์กิตติโสภณ เกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ด้านครอบครัว สมรสกับนางนิภา เชาว์กิตติโสภณ มีบุตรคือ นายเชาวยุทธ เชาว์กิตติโสภณ อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขต 3 เมื่อปี พ.ศ. 2554
นิคม เชาว์กิตติโสภณ เป็นนักธุรกิจผู้ประกอบกิจการเซรามิกในจังหวัดลำปาง ได้แก่ บริษัทเชาว์ลำปางเครื่องเคลือบดินเผา จำกัด และบริษัทกาสะลองเซรามิค จำกัด ควบคู่กับการเป็นทนายความ รวมไปถึงเป็นผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนประชาวิทย์ ซึ่งเป็นโรงเรียนจีนจังหวัดลำปาง[2]
เขาเคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดลำปาง (ส.จ.) 2 สมัย และได้รับเลือกเป็นประธานสภาจังหวัดลำปาง ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดลำปางที่มาจากการเลือกตั้ง
ในปี พ.ศ. 2550 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน กลุ่มที่ 1 ลำดับที่ 9 สังกัดพรรคพลังประชาชน แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ในยุคของนายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์[3] เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 ต่อมาพรรคพลังประชาชน ถูกยุบพรรคและตัดสิทธิทางการเมืองของคณะกรรมการบริหารพรรค ทำให้นายนิคม เชาว์กิตติโสภณ ได้เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง ในเดือนพฤศจิกายนของปีเดียวกัน[4]
ในการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2553 เขาได้ลงมติสนับสนุนฝ่ายรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์[5] และร่วมกิจกรรมกับพรรคประชาธิปัตย์[6]หลายครั้ง กระทั่งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 เขาตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขตเลือกตั้งที่ 4 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์[7] แต่สอบตก โดยแพ้ให้กับนายอิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ จากพรรคเพื่อไทย
ในปี 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 3 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ได้ 8,408 คะแนน เป็นลำดับที่ 4 ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับจรัสฤทธิ์ จันทรสุรินทร์ จากพรรคเพื่อไทย
ในการเลือกตั้งปี 2566 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 7 ประกอบด้วย อำเภอแม่อาย อำเภอฝาง และอำเภอไชยปราการ (เฉพาะตำบลแม่ทะลบและตำบลปงตำ) ได้หมายเลข 5
นิคม เชาว์กิตติโสภณ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.