นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน (เกิด 16 ตุลาคม พ.ศ. 2489 – 21 มกราคม พ.ศ. 2560) ประติมากร อาจารย์และศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (วิจิตรศิลป์) สาขาย่อยประติมากรรม เกิดที่กรุงเทพมหานคร สำเร็จการศึกษามหาบัณฑิตสาขาประติมากรรมจากมหาวิทยาลัยศิลปากร นนทิวรรธน์ได้รับรางวัลจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 19-22 และ 24 รางวัลการประกวดออกแบบพระพุทธรูปที่วัดทองศาลางาม ฯลฯ
นนทิวรรธน์ จันทะนะผลิน | |
---|---|
![]() | |
เกิด | 16 ตุลาคม พ.ศ. 2489 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 21 มกราคม พ.ศ. 2560 (70 ปี) จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย |
สัญชาติ | ไทย |
อาชีพ | นักจิตรกร นักประติมากรรม |
การทำงาน

นนทิวรรธน์เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยศิลปากรและได้ทำหน้าที่ทั้งการสอนและการบริหารการศึกษามาโดยตลอด โดยมีลำดับการทำงานดังต่อไปนี้
- พ.ศ. 2514 อาจาร์ยภาควิชาประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2522 เลขานุการภาควิชาประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2527 หัวหน้าภาควิชาประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2531 คณบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2533 ผู้อำนวยการหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2546 คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งนายกสมาคมประติมากรแห่งประเทศไทย
ศาสตรเมธีนนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคมะเร็งและโรคหัวใจที่อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี เมื่อเวลาประมาณ 23:00 นาฬิกาของคืนวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560 รวมอายุได้ 71 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2556 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[1]
- พ.ศ. 2538 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[2]
- พ.ศ. 2550 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[3]
- พ.ศ. 2539 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[4]
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.