คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
ท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอด
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
ท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอด หรือ สนามบินแม่สอด (IATA: MAQ, ICAO: VTPM) ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยตั้งอยู่ห่างจากอำเภอแม่สอดประมาณ 3 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอเมืองตากประมาณ 87 กิโลเมตร เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[1] และได้ประกาศเป็นท่าอากาศยานศุลกากรเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2547[2] และเป็นท่าอากาศยานที่มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่ได้มีการสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ มีพื้นที่ทั้งหมด 12,000 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 600 คนต่อชั่วโมงและขยายทางวิ่งเป็น 2,100 เมตรในปีพ.ศ. 2556-2563
Remove ads
Remove ads
ประวัติ
สรุป
มุมมอง
การบินในช่วงแรก
ท่าอากาศยานแม่สอดเดิมเป็นท่าอากาศยานเล็ก ๆ อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย สร้างขึ้นมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ใช้ในกิจการทหารอยู่ในความดูแลของกองทัพอากาศ ต่อมามีการดำเนินการขนส่งพัสดุภัณฑ์ และผู้โดยสารในกิจการการบินพลเรือนขึ้น ซึ่งในระยะเริ่มแรกนั้นการดำเนินกิจการอยู่ในความรับผิดชอบของทหาร และใช้ท่าอากาศยานแม่สอดเป็นครั้งคราว
ในปี พ.ศ. 2473 กิจการการบินพลเรือนของประเทศได้แยกตัวออกจากกิจการบินทหาร โดยมีบริษัท เดินอากาศ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการการขนส่งทางอากาศ โดยได้รับสัมปทานการขนส่งทางอากาศเมื่อ พฤษภาคม พ.ศ. 2475 ได้เปิดขยายดำเนินการขนส่งทางอากาศในทาง พิษณุโลก-อำเภอเมืองตาก-แม่สอด ขึ้น จนเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 บริษัทฯ จึงได้งดบินและยุบเลิกกิจการเนื่องจากมีอุปสรรคบางประการ โดยเฉพาะเครื่องบินของบริษัทฯ ถูกเครื่องบินฝ่ายตรงข้ามยิงตก บริษัทฯ จึงงดทำการบินเมื่อ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2488 และยุบเลิกกิจการด้านการบินในปี พ.ศ. 2489
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศญี่ปุ่น ได้ใช้สนามบินแห่งนี้เป็นหน่วยบินในการปฏิบัติการทางอากาศ โจมตีฝ่ายสัมพันธมิตรในประเทศพม่า ซึ่งในขณะนั้นพื้นผิวทางวิ่ง ยังเป็นดินลูกรัง ทางวิ่งเป็น 05 - 23 ขนาดประมาณ 30 x 1,100 เมตร บริเวณโดยรอบเป็นป่าโปร่งและหนองน้ำ ยังไม่มีเครื่องช่วยในการเดินอากาศใดๆ ทั้งสิ้น แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง สงบลงในปี พ.ศ. 2489 กองทัพอากาศ ได้ริเริ่มดำเนินการบินขึ้นใหม่
ต่อมาในปี พ.ศ. 2503-2504 สำนักงานการบินพลเรือนได้เห็นความสำคัญในการขนส่งทางอากาศในขณะนั้น จึงได้ปรับปรุงสภาพท่าอากาศยานโดยทำการเสริมพื้นผิวบดอัดดินลูกรังให้แน่นและเรียบขึ้น และทำการสร้างอาคารท่าอากาศยานและหอบังคับการบิน โดยเป็นอาคารไม้สองชั้นครึ่ง สำหรับให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ สร้างสถานีเครื่องช่วยการเดินอากาศ และได้ทำการติดตั้งอุปกรณ์เครื่องช่วยการเดินอากาศ NDB (NONDIRECTIONAL BEACON) ขึ้นในปีต่อมา ซึงในช่วงเวลาดัวกล่าวนี้ บริษัทเดินอากาศไทยได้นำเครื่อง DC-3 หรือ DAKOTA มาใช้บริการรับ-ส่งผู้โดยสาร สินค้า และพัสดุภัณฑ์[3]
ช่วงพัฒนาท่าอากาศยาน
ในปี พ.ศ. 2506 สำนักงานการบินพลเรือน กรมการขนส่ง ได้รับการยกฐานะเป็นกรม ชื่อว่ากรมการบินพาณิชย์ ในระหว่างนี้ท่าอากาศยานแม่สอดก็ได้เปิดให้บริการเรื่อยมา จนกระทั่ง บริษัทเดินอากาศไทย ได้ทำการงดบินในปี พ.ศ. 2513 เพื่อให้กรมการบินพาณิชย์ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงท่าอากาศยานแม่สอดอีกครั้งเพื่อให้เป็นมาตรฐาน คือการสร้างทางวิ่งใหม่ กำหนดทางวิ่ง 09 - 27 พื้นผิวลาดยางแอสฟัลส์ ขนาด 30x1500 เมตร สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2515 และสร้างหอควบคุมจราจรทางอากาศขึ้นใหม่แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2517 แต่เมื่อสร้างเสร็จ บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ก็ยังไม่เปิดบินที่ท่าอากาศยานแม่สอดทันที คงเปิดบริการ ขึ้น-ลง เฉพาะเครื่องบินของทางราชการ ทั้งทางราชการ หน่วยบินตำรวจและเกษตร เท่านั้น
ในปี พ.ศ. 2526 บริษัทเดินอากาศไทย ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาสำรวจข้อมูลที่จะเปิดบินใหม่ และกรมการบินพาณิชย์ ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาสำรวจทางวิ่ง อาคารผู้โดยสาร และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ โดยได้ซ่อมแซมปรับแต่งอาคารที่ทำการท่าอากาศยานอีกครั้งหนึ่ง แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2527 จากนั้นจึงได้เปิดเส้นทางบิน พิษณุโลก-อำเภอเมืองตาก–แม่สอด-เชียงใหม่ ในเดือนพฤศจิกายน 2528 กรมการบินพาณิชย์ได้ทำการซ่อมผิวทางวิ่ง ลานจอด ถนนต่างๆ ภายในท่าอากาศยาน แล้วเสร็จในเดือน กุมภาพันธ์ 2529
จากนั้นเดือน กรกฎาคม 2530 กรมการบินพาณิชย์ทำการขยายและต่อเติมอาคารที่ทำการท่าอากาศยาน ดำเนินการแล้วเสร็จในเดือน มิถุนายน 2531 ด้วยงบประมาณ 4,347,000 บาท โดยสร้างเป็นอาคารชั้นครึ่ง
- ชั้นบนจัดเป็นห้องทำงานของฝ่ายบริหารและห้องประชุม ส่วนชั้นล่างเป็นส่วนที่ใช้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร โดยได้ขยายเนื้อที่ใช้สอยมากขึ้นจากเดิมอีกประมาณ 734 ตารางเมตร ประกอบด้วยบริเวณที่ทำการของบริษัทการบิน ห้องพักผู้โดยสารขาออก ห้องรับรองพิเศษ ห้องโถงสำหรับผู้โดยสารขาเข้าและผู้ รับ-ส่ง ผู้โดยสาร บริเวณที่รับกระเป๋า ร้านจำหน่ายของที่ระลึก รวมถึงห้องสุขา
- ในพื้นที่ของอาคารที่ทำการเดิมนั้น จัดเป็นห้องทำงานของฝ่ายควบคุมจราจรทางอากาศ ห้องทำงานของฝ่ายช่างสื่อสารและเครื่องช่วยการเดินอากาศ ห้องทำงานของฝ่ายสื่อสารการบิน ห้องเก็บพัสดุและงานรักษาความสะอาด สถานที่ของฝ่ายบริหาร ห้องทำงานของตำรวจ และหน่วยรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยาน[3]
การปรับปรุงพัฒนาหลังจากเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ
เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ท่าอากาศยานแม่สอดได้ประกาศเป็นท่าอากาศยานศุลกากร ทำให้สามารถรับเที่ยวบินจากต่างประเทศได้[2] และต่อมาได้ต่อเติมและปรับปรุงอาคารที่พักผู้โดยสาร พื้นที่ศุลกากร ด่านตรวจคนเข้าเมือง และด่านควบคุมโรคพร้อมสายพานลำเลียงกระเป๋า งบประมาณทั้งสิ้น 1,980,000 บาท
ในปีพ.ศ. 2556 ท่าอากาศยานแม่สอดได้ซ่อมปรับปรุงอาคารที่พักผู้โดยสาร งบประมาณ 2,975,000 บาท โดยได้ปรับปรุงขยายทางวิ่ง (รันเวย์) ให้มีความยาวมากขึ้น จากเดิม 1,500 เมตร เป็น 2,100 เมตร เพื่อให้สามารถรองรับเครื่องบินขนาดโบอิง 737 และแอร์บัส เอ320 และขยายพื้นที่จอดเครื่องบิน ให้สามารถจอดเครื่องบินขนาดดังกล่าวได้ 3 ลำในเวลาเดียวกัน รวมถึงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ โดยแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2562[3] และกรมท่าอากาศยานมีแผนที่จะใช้ท่าอากาศยานแม่สอดเป็นฐานการบินในการเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ จีน เวียดนาม และลาว[4]
Remove ads
อาคารสถานที่
อาคารผู้โดยสาร
อาคารผู้โดยสารหลังใหม่ มีพื้นที่ทั้งหมด 16,750 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 600 คนต่อชั่วโมง หรือ 1,700,000 คนต่อปี มีทั้งหมด 2 ชั้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ชั้น 1 - บริเวณขายตั๋ว บริเวณตรวจบัตรโดยสาร ห้องอาหาร โถงผู้โดยสารขาเข้าและสายพานรับกระเป๋า และบริการรถเช่า
- ชั้น 2 - โถงผู้โดยสารขาออก และสำนักงานท่าอากาศยาน
ลานจอดอากาศยานมีขนาด 60x180 เมตร และ 85x180 เมตร สามารถรองรับเครื่องบินขนาดโบอิง 737 จำนวน 3 ลำ และ เอทีอาร์ 72 จำนวน 2 ลำ[5]
ท่าอากาศยานแม่สอด มีลานจอดรถยนต์รองรับได้ 165 คัน [6]
ทางวิ่ง (รันเวย์) และทางขับ (แท็กซี่เวย์)
ทางวิ่งของท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอดมี 1 เส้น ความกว้าง 45 เมตร พร้อมไหล่ทางวิ่งข้างละ 7.5 เมตร และความยาว 1,500 เมตร (อยู่ระหว่างการขยายเป็น 2,100 เมตร) พร้อมพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง (blastpads) ขนาดกว้างข้างละ 60 และ 90 เมตร และความยาวข้างละ 60 เมตร
ทางขับของท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอดมี 3 เส้น ขนาด 23x150 เมตร 1 เส้น และ ขนาด 23x178 เมตร 2 เส้น[5]
Remove ads
รายชื่อสายการบิน
รายชื่อสายการบินที่ให้บริการ
รายชื่อสายการบินที่เคยให้บริการ
สถิติ
ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ
Remove ads
การเดินทางสู่ท่าอากาศยาน
ท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอดตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (เขตแดนไทย/พม่า–มุกดาหาร) ในบริเวณ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และมีลานจอดรถยนต์ความจุประมาณ 165 คันหน้าอาคารผู้โดยสารหลังใหม่
ที่ท่าอากาศยานมีบริการรถเช่าอยู่หลายบริษัท[14]
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads