คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
ท่าอากาศยานนานาชาติมัณฑะเลย์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
ท่าอากาศยานนานาชาติมัณฑะเลย์ (พม่า: မန္တလေး အပြည်ပြည်ဆိုင်ရာ လေဆိပ်; (IATA: MDL, ICAO: VYMD)), อยู่ห่างจากเมืองมัณฑะเลย์ ไปทางตอนใต้ 35 กิโลเมตร เป็น 1 ใน 3 ท่าอากาศยานนานาชาติของ ประเทศพม่า สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2542 อีกทั้งยังเป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในประเทศ มีทางวิ่ง (รันเวย์) ที่ยาวถึง 14,000 ฟุต หรือ 4,268 เมตร ซึ่งถือว่ามีความยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบิน โกลเดนเมียนมาร์แอร์ไลน์[3]
Remove ads

Remove ads
ประวัติ
การก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติมัณฑะเลย์เป็นโครงการของรัฐบาลพม่า ในช่วง พ.ศ. 2530 เพื่อที่จะรองรับนักท่องเที่ยว และเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศควบคู่ไปกับท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้ง และหวังว่าจะเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างพม่ากับเมืองท่องเที่ยวอื่นๆในภูมิภาค เช่น ปักกิ่ง, ฮานอย, กรุงเทพมหานคร เป็นต้น
การก่อสร้างเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2539 และเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ กันยายน พ.ศ. 2543 โดยใช้งบประมาณไปกว่า 4,500 ล้านบาท ซึ่งมาจากการกู้ EXIM Bank ของประเทศไทย จากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของพม่า ส่งผลให้ธุรกิจการบินในพม่าเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเที่ยวบินจากกรุงเทพมหานครและจีน ซึ่งปีที่ผ่านมาได้เติบโตขึ้นถึง 20%
Remove ads
สายการบินและจุดหมายปลายทาง
ระหว่างประเทศ
ภายในประเทศ
Remove ads
สิ่งอำนวยความสะดวก
สามารถรองรับผู้โดยสารทั้งขาเข้าและขาออก 1,000 คน/ชั่วโมง หรือ 3.000,000 คน/ปี และในอนาคตสามารถขยายเพื่อรองรับได้สูงสุดถึง 15,000,000 คน/ปี[7] มีพื้นที่ประมาณ 63270 ไร่ ห่างจากตัวเมืองมัณฑะเลย์ 35 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางเข้าเมืองประมาณ 30 นาที[3][8]
รันเวย์มีความยาว 13,999 ฟุต หรือ 4,267 ม. ซึ่งยาวที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพียงพอสำหรับเครื่องบินโดยสารทุกประเภท และมีที่จอดรถถึง 700 คัน[3][7] นอกจากนี้อาคารผู้โดยสารยังมีระบบปรับอากาศที่เหมาะสม , ระบบป้องกันอัคคีภัย และพลังงานสำรอง อีกทั้งสะพานเทียบเครื่องบิน 3 ใน 6 สามารถรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่อย่าง โบอิง 747 ได้ในเวลาเดียวกัน
สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้โดยสาร
- เคาท์เตอร์เข็คอิน 36 จุด
- 8 ประตูขึ้นเครื่องบิน
- 6 สะพานเทียบเครื่องบิน
- 3 สายพานสัมภาระ
- 11 ที่จอดรถระยะสั้น
- 6 ที่จอดรถระยะยาว
- ที่ทำการไปรษณีย์
- ธนาคาร
- ร้านอาหาร
- ห้องรับรอง
- ร้านสินค้าปลอดภาษี
- บริษัทท่องเที่ยว
- บริการรถเช่า
- ฯลฯ
สถิติ
ท่าอากาศยานปลายทางสูงสุด
จราจรต่อปี
Remove ads
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads