Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทีเอชเอ็น (อังกฤษ: Tokyu car, Hitachi, Nippon sharyo railcar) เป็นรถดีเซลรางของการรถไฟแห่งประเทศไทย ใช้สำหรับการทำขบวนรถโดยสารและขบวนรถชานเมือง สั่งซื้อจากบริษัท Tokyu Car Corporation (หมายเลข 1101-1114) , Hitachi, Ltd. (หมายเลข 1115-1127) และ Nippon Sharyo Ltd. (หมายเลข 1128-1140) ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2526 มีต้นแบบมาจากรุ่นอาร์ทีเอส ที่สั่งซื้อมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2514
Railcar THN | |
---|---|
รถดีเซลรางทีเอชเอ็น ที่สถานีรถไฟสีคิ้ว | |
ประจำการ | การรถไฟแห่งประเทศไทย |
ผู้ผลิต | โทกีวคาร์ คอร์เปอเรชัน, ฮิตาชิ และนิปปอน ชาเรียว |
เข้าประจำการ | พ.ศ. 2526 |
จำนวนที่ผลิต | 40 คัน |
จำนวนในประจำการ | 38 คัน |
จำนวนที่ปลดระวาง | 2 คัน |
หมายเลขตัวรถ | กซข.1101 - 1140 |
ความจุผู้โดยสาร | 74 ที่นั่ง/คัน |
คุณลักษณะ | |
วัสดุตัวถัง | สแตนเลสสตีล |
ความยาว | 20.800 m (68 ft 2.9 in) |
ความกว้าง | 2.815 m (9 ft 2.8 in) |
ความสูง | 3.730 m (12 ft 2.9 in) |
จำนวนประตู | 4 ประตู |
รูปแบบการจัดวางล้อ | 1A-2 |
ความเร็วสูงสุด | 105 km/h (65 mph) |
น้ำหนัก | 33.50 ตัน |
น้ำหนักกดเพลา | 8.83 ตัน |
เครื่องยนต์ | Cummins N855-R2 |
กำลังขับเคลื่อน | 235 แรงม้า ที่ 2,100 รอบ/นาที |
แรงฉุดลาก | ไฮดรอลิก |
ชุดส่งกำลัง | Voith T211R |
ระบบเบรก | ลมอัด 2 สูบ |
มาตรฐานทางกว้าง | 1,000 mm (3 ft 3 3⁄8 in) |
หลังจากการใช้งานรถดีเซลรางรุ่นต่าง ๆ ในการทำขบวนรถโดยสารต่าง ๆ เป็นที่น่าพึงพอใจ เนื่องจากมีความคล่องตัวในการใช้งาน การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงได้มีการริเริ่มสั่งซื้อรถดีเซลรางอาร์ทีเอส ซึ่งเป็นรถดีเซลรางที่มีตัวถังเป็นสแตนเลสสตีล มาใช้งานบนทางรถไฟสายแม่กลอง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2514 เพื่อแก้ปัญหาการผุกร่อนของรถดีเซลรางที่มีตัวถังทำจากเหล็กกล้าธรรมดา เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีความชื้นจากไอทะเลสูง หลังจากนำมาใช้งานแล้ว มีผลการใช้งานเป็นที่น่าพอใจ ประกอบกับการโดยสารด้วยรถดีเซลรางเองก็เป็นที่นิยมเพิ่มขึ้น
ราวปี พ.ศ.2520 - 2521 การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงได้ทดลองนำอาร์ทีเอส มาทดลองใช้งานบนเส้นทางสายหลัก เพื่อวิ่งประเมินผลต่าง ๆ สำหรับการจัดหารถดีเซลรางรุ่นใหม่สำหรับวิ่งทางไกล ให้บริการระหว่างเมือง ที่ระยะทางเกินกว่า 300 กิโลเมตร แบบรถ อินเตอร์-ซิตี้ ในต่างประเทศ เพื่อให้สอดคลองกับความนิยมของผู้โดยสารที่มากขึ้น
จนได้มาเป็นต้นแบบให้รถดีเซลรางทีเอชเอ็นในเวลาต่อมา ปัจจุบันทีเอชเอ็น ใช้ทำขบวนรถด่วนในสายตะวันออกเฉียงเหนือ รวมไปถึงรถชานเมือง รถท้องถิ่นสายเหนือ รถธรรมดา และขบวนรถนำเที่ยวเป็นหลัก โดยจะใช้งานร่วมกับเอ็นเคเอฟ และเอทีอาร์
ทีเอชเอ็น เป็นรถดีเซลรางที่มีรูปแบบการใช้งานได้หลายรูปแบบ และใช้งานร่วมกับรุ่นอื่น ๆ ได้หลายรุ่น ไม่จำกัดวิธีการพ่วงรถเหมือนอาร์เอชเอ็น ที่ต้องใช้งานเป็นคู่ โดยทั่วไปทีเอชเอ็นจะใช้งานร่วมกับ เอ็นเคเอฟ และเอทีอาร์ แต่ก็ยังสามารถใช้งานร่วมกับอาร์เอชและอาร์เอชเอ็นได้อีกด้วย
ทีเอชเอ็น ถูกส่งไปใช้งานในสายวงเวียนใหญ่ - มหาชัย เพื่อทดแทนเอ็นเคเอฟ ที่ชำรุดและหมดสภาพการใช้งาน ช่วงปี พ.ศ. 2564 - 2565 ได้แก่หมายเลข
หมายเลข | ลักษณะอุบัติเหตุ | ขบวนที่ทำ | เวลา | สถานที่ | ความเสียหาย | สถานะปัจจุบัน |
---|---|---|---|---|---|---|
1112 | ถูกรถบรรทุกชนขณะทำขบวน | ขบวนรถชานเมืองที่ 356 สุพรรณบุรี - กรุงเทพ | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 | จุดตัดทางรถไฟกับถนนสายทุ่งบัว-พนมทวน ม.2 ต.ทุ่งบัว อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม | ตัวรถได้รับความเสียหายตัวถังและโครงประธานบิดผิดรูป | ตัดบัญชี |
1127 | ไฟไหม้รถขณะกำลังทำขบวน | ขบวนรถด่วนดีเซลรางที่ 76 หนองคาย - กรุงเทพ | - | - | ตัวรถได้รับความเสียหายจากไฟไหม้ | ตัดบัญชี |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.