Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอ็นเคเอฟ (NKF) เป็นรถดีเซลรางของการรถไฟแห่งประเทศไทย ใช้สำหรับการทำขบวนรถโดยสาร และ ขบวนรถชานเมือง สั่งซื้อจากบริษัท Nippon Sharyo, Ltd. (หมายเลข 1201-1212 และ 1217-1224) , Hitachi, Ltd. (หมายเลข 1213-1216) , Fuji Heavy Industries Ltd (หมายเลข 1225-1233) , Kawasaki Railcar Manufacturing Co., Ltd. (หมายเลข 1234-1244) , Niigata Engineering Co., Ltd. (หมายเลข 1245-1254) และ The Kinki Sharyo Co., Ltd. (หมายเลข 1255-1264) ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2528 โดยได้ถอดแบบมาจาก ทีเอชเอ็น (THN) เพื่อนำมาผลิตเพิ่มซึ่งมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย
Railcar NKF | |
---|---|
ขบวนรถธรรมดาที่ 279 ที่สถานีคลองตัน | |
ประจำการ | การรถไฟแห่งประเทศไทย |
ผู้ผลิต | โตกิวคาร์ คอร์เปอเรชัน, ฮิตาชิ, ฟูจิ เฮฟวี อินดัสทรีส์, คาวาซากิ เรลคาร์ เมนูแฟคเจอริ่ง, นีงาตะ เอนจิเนียริ่ง และคิงกิ ชาเรียว |
เข้าประจำการ | พ.ศ. 2528 |
จำนวนที่ผลิต | 64 คัน |
จำนวนในประจำการ | 60 คัน |
จำนวนที่เก็บรักษาไว้ | 4 คัน |
หมายเลขตัวรถ | กซข.1201 - 1264 |
ความจุผู้โดยสาร | 74 ที่นั่ง/คัน |
คุณลักษณะ | |
วัสดุตัวถัง | สแตนเลสสตีล |
ความยาว | 20.800 m (68 ft 2.9 in) |
ความกว้าง | 2.815 m (9 ft 2.8 in) |
ความสูง | 3.730 m (12 ft 2.9 in) |
จำนวนประตู | 4 ประตู |
รูปแบบการจัดวางล้อ | 1A-2 |
ความเร็วสูงสุด | 105 km/h (65 mph) |
น้ำหนัก | 33.50 ตัน |
น้ำหนักกดเพลา | 8.83 ตัน |
เครื่องยนต์ | Cummins N855-R2 |
กำลังขับเคลื่อน | 235 แรงม้า ที่ 2,100 รอบ/นาที |
แรงฉุดลาก | ไฮดรอลิก |
ชุดส่งกำลัง | Voith T211R |
ระบบเบรก | ลมอัด 2 สูบ |
มาตรฐานทางกว้าง | 1,000 mm (3 ft 3 3⁄8 in) |
หลังจากการใช้งาน ทีเอชเอ็น (THN) ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่ารถดีเซลรางรุ่นก่อน ๆ ทั้งในแง่ความคล่องตัว และ ความเร็ว ประกอบกับช่วงเวลานั้นจำนวนผู้ใช้รถไฟชานเมืองค่อนข้างหนาแน่น การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงมีโครงการที่จะสั่งซื้อรถดีเซลรางเพิ่ม เพื่อนำมาใช้งานสำหรับรถชานเมืองโดยเฉพาะ และได้ออกมาเป็น เอ็นเคเอฟ (NKF) ใน พ.ศ.2528 โดยได้ปรับแบบจาก ทีเอชเอ็น (THN) บางส่วน เช่น ใช้เบาะนั่งแบบพลาสติกแข็ง เพื่อความคงทน และ รักษาความสะอาดได้ง่าย เหมาะกับการนั่งระยะทางสั้นๆ ได้มีการนำหิ้งวางสำภาระบริเวณที่นั่งเลขที่ 65-74 ออก และมีการเพิ่มฝาสำหรับเปิดดูเครื่องยนต์ได้จากบนพื้นรถ
เมื่อรับมอบ เอ็นเคเอฟ (NKF) ใน พ.ศ.2528 การรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟก็ได้ใช้ เอ็นเคเอฟ (NKF) ในการทำขบวนรถชานเมืองและรถโดยสารเป็นหลัก และในปี พ.ศ. 2539 ก็ยังได้เริ่มนำไปใช้ใน ทางรถไฟสายชานเมืองแม่กลองอีกด้วย
แต่เนื่องจากการตรึงตัวในการใช้งาน การรถไฟแห่งประเทศไทย เลยมักจะนำ เอ็นเคเอฟ (NKF) ไปใช้ทำขบวนรถด่วน และ รถทางไกล ร่วมกับ ทีเอชเอ็น (THN) และ เอทีอาร์ (ATR) ด้วย โดยในปัจจุบัน เอ็นเคเอฟ (NKF) ก็ยังคงใช้งานเป็นกำลังหลักของการรถไฟแห่งประเทศไทย และ เอ็นเคเอฟ (NKF) หลายคันก็ได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนเบาะนั่งใหม่เป็นเบาะนวมและหนังเทียมเหมือนที่ใช้ใน ทีเอชเอ็น (THN)
เอ็นเคเอฟ (NKF)เป็นรถดีเซลรางที่มีรูปแบบการใช้งานได้หลายรูปแบบ และใช้งานร่วมกับรุ่นอื่น ๆ ได้หลายรุ่น ไม่จำกัดวิธีการพ่วงรถเหมือนอาร์เอชเอ็น (RHN) ที่ต้องใช้งานเป็นคู่ โดยทั่วไปจะใช้งานร่วมกับ ทีเอชเอ็น (THN) และ เอทีอาร์ (ATR) แต่ก็ยังสามารถใช้งานร่วมกับ อาร์เอช (RH) และ อาร์เอชเอ็น (RHN) ได้อีกด้วย
เอ็นเคเอฟ (NKF) ถูกส่งไปใช้งานในสายวงเวียนใหญ่ - มหาชัย และ สายบ้านแหลม-แม่กลอง เพื่อทดแทนรถดีเซลรางรุ่นเก่าอย่าง อาร์เอชเอ็น (RHN) และยังคงใช้งานเป็นหลักจนถึงปัจจุบัน
(ปัจจุบัน กซข.1212 ถูกย้ายไปใช้งานในบ้านแหลม-แม่กลอง)
ใน พ.ศ. 2562 ได้มีการปรับปรุงประตูทางขึ้น-ลง รถดีเซลรางเอ็นเคเอฟ (NKF) เพื่อรองรับสถานีรถไฟทางคู่ที่กำลังก่อสร้างในหลายเส้นทาง[1]
หมายเลข | สาเหตุการเสียหาย | ขบวนที่ทำ | เวลา | สถานที่ | ความเสียหาย | สถานะปัจจุบัน |
---|---|---|---|---|---|---|
1209 | พุ่งชนท้ายขบวนรถเร็วที่ 48 นครศรีธรรมราช - กรุงเทพ | ขบวนรถดีเซลรางขบวนที่ 170 หลังสวน - ธนบุรี | 27 กรกฎาคม พ.ศ.2532 | สถานีรถไฟห้วยทรายเหนือ | ตัวรถได้รับความเสียหายตัวถังและโครงประธานฉีกขาด | ตัดบัญชี |
1261 | ชนประสานงากับ ขบวน 63 กรุงเทพ - อุบลราชธานี | ขบวนรถดีเซลรางขบวนที่ 206 ขอนแก่น - สระบุรี | 12 มิถุนายน พ.ศ.2532 | ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา | ตัวรถได้รับความเสียหายโครงประธานหักกลางบิดผิดรูป | ตัดบัญชี |
1210 และ 1213 | หมดสภาพจากการใช้งาน | ขบวนรถธรรมดาสายบ้านแหลม–แม่กลอง | ใช้งานครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2554 | ทางรถไฟสายบ้านแหลม–แม่กลอง | หมดสภาพจากการใช้งาน | เสนอตัดบัญชี |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.