คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
ตรีทศ สนแจ้ง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 กรรมการในคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชรองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจคณะรักษาความสงบแห่งชาติอดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ,อดีตตุลาการศาลทหารสูงสุดราชองครักษ์พิเศษอดีตรองประธานกรรมการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) อดีตผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือนอดีตนายทหารพิเศษประจำหน่วยรักษาพระองค์ ฝูงบิน 201 รักษาพระองค์ กองบิน 2 อดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อดีตรักษาการประธานกรรมการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)อดีตคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกและเป็นอดีตเสนาธิการทหารอากาศ
Remove ads
Remove ads
ประวัติ
พล.อ.อ. ตรีทศ มีชื่อเล่นว่า ตู่ หรือที่สื่อมวลชนเรียกว่า ตู่ ทอ. เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 เป็นบุตรของ นายชั้น กับนางบังอร สนแจ้ง สมรสกับ พล.อ.ต.หญิง อุดมลักษณ์ สนแจ้ง
การศึกษา
พล.อ.อ. ตรีทศ จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนปทุมคงคา จากนั้นได้เข้าศึกษาวิชาการทหารในโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 14 (ตท.14) โรงเรียนนายเรืออากาศ รุ่น 21 และโรงเรียนนายเรืออากาศเยอรมนี พ.ศ. 2519
ผู้บัญชาการทหารอากาศ
พล.อ.อ. ตรีทศ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ สืบต่อจากพล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เขาเป็นผู้ลงนามการจัดซื้อเครื่องบิน A340-500 ทะเบียน HS-TLC ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กับกองทัพอากาศไทยในวงเงิน 1,745.3282 ล้านบาท[1]ในขณะนั้นเป็นที่วิจารณ์ถึงความเหมาะสมของเครื่องบินชนิดนี้จะที่นำมาใช้ในกองทัพอากาศ และผู้ซื้อผู้ขายเป็นชื่อเดียวกัน ได้แก่ พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง ต่างกันที่ตำแหน่งเท่านั้น
พล.อ.อ. ตรีทศ สนแจ้ง เป็น ผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน คนแรกของประเทศไทย โดยดำรงตำแหน่งเพียง 1 ปี 2 สัปดาห์ นับตั้งแต่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2559
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
พล.อ.อ. ตรีทศ ได้รับโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
- พ.ศ. 2556 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2553 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2528 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[4]
- พ.ศ. 2532 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[5]
ต่างประเทศ
Remove ads
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads