ด็อยท์เชอเว็ลเลอ

บริการกระจายเสียงระหว่างประเทศของประเทศเยอรมนี จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ด็อยท์เชอเว็ลเลอ

ด็อยท์เชอเว็ลเลอ (เยอรมัน: Deutsche Welle, ออกเสียง: [ˈdɔʏtʃə ˈvɛlə] ; แปลว่า"คลื่นเยอรมัน" หรือ DW) เป็นบริการกระจายเสียงระหว่างประเทศสาธารณะที่ถือครองโดยรัฐ ซึ่งหนุนด้วยงบประมาณภาษีของรัฐบาลกลางเยอรมนี[4][2][3] บริการมีถึง 30 ภาษา บริการโทรทัศน์ดาวเทียมของ DW มีช่องในภาษาอังกฤษ เยอรมัน, อูรดู, ฮินดี, สเปน, เบงกอล และอาหรับ ผลงานของ DW เป็นไปตามกฎหมายด็อยท์เชอเว็ลเลอ[หมายเหตุ 1][5] ซึ่งก็คือเนื้อหาเป็นอิสระจากอิทธิพลของรัฐบาล DW เป็นสมาชิกของสหภาพการกระจายเสียงแห่งทวีปยุโรป (EBU)[6]

ข้อมูลเบื้องต้น รูปแบบ, ประเทศ ...
ด็อยท์เชอเว็ลเลอ
Thumb
Thumb
สำนักงานกลางด็อยท์เชอเว็ลเลอที่บ็อนน์
รูปแบบบริการกระจายเสียงระหว่างประเทศ
ประเทศเยอรมนี
พื้นที่แพร่ภาพทั่วโลก
บริษัทในเครือเครือข่ายวิทยุโลก
คำขวัญMade for minds[1]
สำนักงานใหญ่บ็อนน์ ประเทศเยอรมนี
แบบรายการ
ภาษาเยอรมัน, อังกฤษ, สเปน
ระบบภาพ1080i (HDTV)
ความเป็นเจ้าของ
เจ้าของรัฐบาลเยอรมนี[2][3]
บุคลากรหลักPeter Limbourg (ผู้อำนวยการทั่วไป)
ประวัติ
เริ่มออกอากาศ30 พฤษภาคม 1953; 71 ปีก่อน (1953-05-30)
ลิงก์
เว็บไซต์DW.com
ออกอากาศ
สื่อสตรีมมิง
ยูทูบด็อยท์เชอเว็ลเลอ ที่ยูทูบ
ปิด

DW นำเสนออัปเดตบทความเป็นประจำในเว็บไซต์ข่าว และดำเนินการสำหรับศูนย์การพัฒนาสื่อต่างประเทศ DW Akademie โดยมีการประกาศเป้าหมายที่ระบุไว้ คือการสร้างข่าวที่เชื่อถือได้ ให้เข้าถึงภาษาเยอรมันและส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชน[7]

DW ได้ออกอากาศมาตั้งแต่ ค.ศ. 1953 มีสำนักงานกลางที่บ็อนน์ ซึ่งมีการผลิตรายการวิทยุ อย่างไรก็ตาม รายการโทรทัศน์เกือบทั้งหมดผลิตที่เบอร์ลิน ทั้งสองที่ผลิงเนื้อหาข่าวสำหรับเว็บไซต์ DW

ใน ค.ศ. 2019 มีพนักงานประมาณ 1,500 คนและทำงานอิสระ 1,500 คนจาก 60 ประเทศ ทำงานให้กับด็อยท์เชอเว็ลเลอในสำนักงานที่กรุงบอนน์และเบอร์ลิน[8]

ประวัติ

สรุป
มุมมอง

ด็อยท์เชอเว็ลเลอได้ ได้เปิดตัวสถานีวิทยุและโทรทัศน์อย่างเป็นทางการเมื่อ วันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1953 ผู้กล่าวปราศัยโดยนาย Theodor Heuss ประธานาธิบดีแห่งประเทศเยอรมัน (ในขณะนั้น) เป็นการออกอากาศทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเป็นครั้งแรก วันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1953 ในชื่อ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธาราณะแห่งประเทศเยอรมัน ชื่อย่อ ARD และดอยเช่อ เวลเล่อได้เห็นผ้องร่วมกัน ผู้ควมคุมการผลิตอย่างแรกโดยเครือข่ายของ Nordwestdeutscher Rundfunk (WDR) รายการต่าง ๆ ของ ด็อยท์เชอเว็ลเลอจึงให้ WDR เป็นผู้รับผิดชอบ ใน ค.ศ. 1960 ดอยเช่อ เวลเล่อกลายเป็นสื่อมวนชนอิสระ และวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1972 จึงได้ร่วมกับ ARD ซึ่งเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ

โลโก้

ภาษาที่ใช้ในการออกอากาศ

ข้อมูลเพิ่มเติม ภาษา, เริ่มต้น ...
ภาษาเริ่มต้นสิ้นสุดบริการ
เยอรมัน1953[9]โทรทัศน์
อังกฤษ *1954[9]วิทยุและโทรทัศน์
ฝรั่งเศส *วิทยุ
สเปนโทรทัศน์
โปรตุเกสวิทยุ
อาหรับ1959[10]โทรทัศน์
เปอร์เซีย1962[11]
ตุรกี
รัสเซีย
โปแลนด์ *
เช็ก *2000[12]
สโลวัก *2000[12]
ฮังการี *2000[12]
บอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย *1992[13]
สวาฮีลี1963[11]วิทยุ
เฮาซาวิทยุ
อินโดนีเซีย (มลายู)
บัลแกเรีย
โรมาเนีย *
สโลวีเนีย2000
กรีก1964[11]วิทยุ
ฮินดี
เบงกอล
อูรดู
อิตาลี *1998[14]
จีน1965[15]
อามาราวิทยุ
สันสกฤต19661998
ญี่ปุ่น1969[15]2000[12]
มาซิโดเนีย
ปาทาน1970[16]วิทยุ
ดารีวิทยุ
เซอร์เบีย1992[13]
โครเอเชีย
แอลเบเนีย
บอสเนีย1997[14]
เดนมาร์ก *19651998[14]
นอร์เวย์ *
สวีเดน *
ดัตช์ *1967
ยูเครน2000[12]
เบลารุส2005[17]ก่อน ค.ศ. 2011
ปิด

 * สนับสนุนบางส่วนโดยด็อยช์ลันด์ฟุงก์ (จนถึง ค.ศ. 1993)

ผู้อำนวยการทั่วไป

Thumb
Peter Limbourg ผู้อำนวยการทั่วไปคนปัจจุบันใน ค.ศ. 2015
  • 12 ตุลาคม 1960 – 29 กุมภาพันธ์ 1968: Hans Otto Wesemann
  • 1 มีนาคม 1968 – 29 กุมภาพันธ์1980: Walter Steigner
  • 1 มีนาคม 1980 – 8 ธันวาคม 1980: Conrad Ahlers
  • 19 ธันวาคม 1980 – 30 มิถุนายน 1981: Heinz Fellhauer (รักษาการ)
  • 1 กรกฎาคม 1981 – 30 มิถุนายน 1987: Klaus Schütz
  • 1 กรกฎาคม 1987 – 30 มิถุนายน 1989: Heinz Fellhauer
  • 1 กรกฎาคม 1989 – 31 มีนาคม 2001: Dieter Weirich
  • 1 เมษายน 2001 – 30 กันยายน 2001: Reinhard Hartstein (รักษาการ เป็น รองผู้อำนวยการ)
  • 1 ตุลาคม 2001 – 30 กันยายน 2013: Erik Bettermann
  • 1 ตุลาคม 2013 – ปัจจุบัน : Peter Limbourg

หมายเหตุ

  1. Gesetz über die Rundfunkanstalt des Bundesrechts "Deutsche Welle"

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.