Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดินแดนปาเลสไตน์ ประกอบด้วยเวสต์แบงก์ (รวมเยรูซาเลมตะวันออก) และฉนวนกาซา[7] ในปี 2536 ตามข้อตกลงออสโล ในทางการเมือง บางส่วนของดินแดนดังกล่าวอยู่ภายใต้เขตอำนาจขององค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ (พื้นที่เอและบี) ในปี 2550 ฉนวนกาซาที่ฮามาสปกครองแยกจากองค์การบริหารปาเลไสตน์อย่างรุนแรง และปกครองพื้นที่กาซาเป็นอิสระนับแต่นั้น อิสราเอลยังควบคุมทางทหาร (military control) สมบูรณ์ และตามข้อตกลงออสโล ควบคุมทางพลเรือน (civil control) เหนือ 61% ของเวสต์แบงก์ (พื้นที่ซี) ในเดือนเมษายน 2554 ภาคีปาเลสไตน์ลงนามความตกลงปรองดอง แต่การนำไปปฏิบัติยังสะดุดอยู่หลังจากนั้น ความพยายามปรองดองต่อมาในปี 2555 ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ดินแดนปาเลสไตน์ | |
---|---|
ดินแดนปาเลสไตน์ ทำเครื่องหมายด้วยแนวสีเขียว | |
นครใหญ่สุด | |
กลุ่มชาติพันธุ์ | ชาวปาเลสไตน์ ยิว |
เดมะนิม |
|
พื้นที่ | |
• รวม | 6,220 ตารางกิโลเมตร (2,400 ตารางไมล์)
|
3.5 | |
ประชากร | |
• ชาวปาเลสไตน์ (2557): | 4,550,000[3] |
• ผู้ตั้งถิ่นฐาน (2555): | 564,000[4] |
• สำมะโนประชากร 2550 | 3,719,189 (ปา.)[3][5] |
654[5] ต่อตารางกิโลเมตร (1,693.9 ต่อตารางไมล์) | |
เอชดีไอ (2553) | 0.645[6] ปานกลาง · 97 |
สกุลเงิน |
|
เขตเวลา | UTC+2 ( ) |
UTC+3 ( ) | |
รหัสโทรศัพท์ | +970d |
โดเมนบนสุด |
|
|
พื้นที่เวสต์แบงก์และฉนวนกาซาเป็นส่วนของดินแดนทางตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดนในปาเลสไตน์ในอาณัติภายใต้การปกครองของอังกฤษ ซึ่งก่อตั้งในปี 2465 นับแต่สงครามอาหรับ–อิสราเอล ปี 2491 กระทั่งสงครามหกวัน ปี 2510 เวสต์แบงก์ถูกจอร์แดนยึดครองและผนวก (เฉพาะสหราชอาณาจักรและปากีสถานรับรองการผนวก) และฉนวนกาซาถูกอียิปต์ยึดครอง แม้รัฐบาลปาเลสไตน์ล้วน (All-Palestine Government) ใช้อำนาจอย่างจำกัดในกาซาตั้งแต่เดือนกันยายน 2491 ถึงปี 2502 ก็ตาม แนวพรมแดนซึ่งเป็นเรื่องของการเจรจาในอนาคต ประชาคมนานาชาติถือโดยทั่วไปว่านิยามโดยเส้นสีเขียวอันแทนเส้นการสงบศึกภายใต้ความตกลงการสงบศึกปี 2492 ซึ่งประกาศเส้นการสงบศึกอย่างชัดเจน มิใช่พรมแดนระหว่างประเทศ
เนื่องจากอิสราเอลยึดดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาจากจอร์แดนและอียิปต์ตามลำดับในสงครามหกวัน ปี 2510 และได้รักษาการควบคุมดินแดนดังกล่าวนับแต่นั้น ประชาคมนานาชาติ รวมทั้งสหประชาชาติและองค์การกฎหมายระหว่างประเทศจึงมักเรียกพื้นที่ดังกล่าวว่า "ดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครอง"
ในปี 2523 อิสราเอลผนวกเยรูซาเลมตะวันออกอย่างเป็นทางการ การผนวกดังกล่าวถูกนานาชาติประณามและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประกาศให้ "ไม่มีผลและเป็นโมฆะ" ขณะที่ชาติอิสราเอลมองว่า เยรูซาเลมทั้งหมดเป็นเมืองหลวงของประเทศ ในปี 2531 ด้วยองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์มีเจตนาประกาศรัฐปาเลสไตน์ จอร์แดนจึงยอมสละการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนเวสต์แบงก์ รวมเยรูซาเลมตะวันออก ตั้งแต่คำประกาศอิสรภาพปาเลสไตน์ในปี 2531 มีชาติสมาชิกสหประชาชาติประมาณ 130 ชาติรับรองรัฐปาเลสไตน์ อันประกอบด้วยดินแดนปาเลสไตน์ แต่อิสราเอลและชาติตะวันตกบางชาติ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ยังไม่รับรอง ทว่า ไม่นาน องค์การบริหารปาเลสไตน์ถูกตั้งขึ้นตามผลของข้อตกลงออสโล ปี 2536 โดยควบคุมเหนือบางส่วนของเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาอย่างจำกัด
องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ สหภาพยุโรป ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศและกาชาดสากลถือว่าเยรูซาเลมตะวันออกเป็นส่วนหนึ่งของเวสต์แบงก์ และจึงเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนปาเลสไตน์ตามลำดับ ขณะที่อิสราเอลถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตนอันเป็นผลจากการผนวกในปี 2523 ตามศาลสูงสุดอิสราเอล อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สี่ ซึ่งห้ามการผนวกดินแดนที่ถูกยึดครองฝ่ายเดียว ใช้ไม่ได้กับเยรูซาเลมตะวันออก เพราะอิสราเอลและพันธมิตรไม่รับรอง "องค์อธิปัตย์ที่ชอบด้วยกฎหมาย" ที่เดิมเคยควบคุมดินแดนนั้น องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ (ซึ่งล่าสุดเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐปาเลสไตน์ อันเป็นผลจากสหประชาชาติรับรองเอกราช) ซึ่งรักษาการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนเยรูซาเลมตะวันออก ไม่เคยใช้อำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ดังกล่าว ทว่า ไม่มีประเทศใดรับรองอำนาจอธิปไตยของอิสราเอล นับแต่การผนวกดินแดนที่ถูกยึดครองระหว่างสงครามฝ่ายเดียวโดยฝ่าฝืนอนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สี่ ข้อตกลงออสโล (2538) สถาปนาการออกสู่ทะเลสำหรับกาซาภายใน 20 ไมล์ทะเลจากฝั่ง ข้อผูกมัดเบอร์ลินปี 2545 ลดเหลือ 19 กิโลเมตร ในเดือนตุลาคม 2549 อิสราเอลกำหนดขีดจำกัด 6 ไมล์ และผลของสงครามกาซาจำกัดการออกลงเหลือขีดจำกัด 3 ไมล์ทะเล ซึ่งเกินกว่านั้นมีเขตห้ามเข้า (no-go zone) ผลคือ ชาวประมงกว่า 3,000 คนถูกปฏิเสธการออกสู่ 85% ของพื้นที่ทะเลตามที่ตกลงกันในปี 2538 พื้นที่เดดซีส่วนใหญ่ถูกห้ามไม่ให้ชาวปาเลสไตน์ใช้ และชาวปาเลสไตน์ถูกห้ามไม่ให้ออกสู่แนวชายฝั่ง
การยึดกาซาของฮามาสแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ทางการเมือง โดยฟาตาห์ของอับบาสส่วนใหญ่ปกครองเวสต์แบงก์ และนานาชาติรับรองเป็นองค์การบริหารปาเลสไตน์อย่างเป็นทางการ ฉนวนกาซาภายในพรมแดนถูกฮามาสปกครอง ขณะที่พื้นที่เวสต์แบงก์ส่วนมากปกครองโดยองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ซึ่งตั้งอยู่ที่รอมัลลอฮ์ ทว่า มีความตกลงเมื่อเดือนเมษายน 2557 ระหว่างสองกลุ่มการเมืองจะจัดการเลือกตั้งในปลายปี 2557 และตั้งรัฐบาลเอกภาพปรองดอง
จำนวนประชากร (ในแต่ละปี)[8][9][10] | |||
---|---|---|---|
ปี | เวสต์แบงก์ | กาซา | ทั้งหมด |
1970 | 0.69 | 0.34 | 1.03 |
1980 | 0.90 | 0.46 | 1.36 |
1990 | 1.25 | 0.65 | 1.90 |
2000 | 1.98 | 1.13 | 3.11 |
2004 | 2.20 | 1.30 | 3.50 |
2008 | 2.41 | 1.5 | 3.91 |
2010 | 2.52 | 1.60 | 4.12 |
Source: U.S. Census Bureau | |||
2006 | 2.5 | 1.5 | 4.0 |
2009 | 2.48 | 1.45 | 3.94 |
Source: Palestinian Central Bureau of Statistics |
ชื่อ | จำนวนประชากร (2007)[14] | พื้นที่ (กม2) | ความหนาแน่น[15] |
---|---|---|---|
เวสต์แบงก์ | 2,369,700 | 5,671 | 417.86 |
ฉนวนกาซา | 1,416,539 | 360 | 3934.83 |
ทั้งหมด | 3,786,239 | 6,031 | 627.80 |
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ดร.คาอิม ไวช์มันน์ นักเคมีชาวยิวสมาชิกกลุ่มไซออนนิสต์ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิด และได้เปลี่ยนสัญชาติจากลัตเวียมาเป็นอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1910 ได้ทำการคิดค้นดินระเบิดประสิทธิภาพสูง ซึ่งสามารถผลิตเองได้โดยใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่าย เนื่องจากก่อนหน้านั้นกองทัพอังกฤษใช้ดินระเบิดคอร์ไดท์ ซึ่งอังกฤษผลิตเองได้แต่จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบสำคัญคือ อาซีโทน (Acetone) โดยอาซีโทนนี้จำเป็นต้องสั่งเข้าจากเยอรมันซึ่งเป็นคู่สงคราม เมื่อไม่มีวัตถุดิบ อังกฤษจึงประสบปัญหาใหญ่ในการทำสงคราม จนกระทั่งได้ ดร.คาอิม มาช่วย อังกฤษจึงยังคงสามารถเข้าร่วมรบในสงครามโลกต่อไปได้
จากการช่วยเหลือของ ดร.คาอิม (ต่อมาได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ กระทรวงทหารเรือของอังกฤษ ในช่วงปี 1916-1919) ทำให้อังกฤษซึ่งมีอิทธิพลเหนือดินแดนตะวันออกกลางในช่วงนั้น ตอบแทนโดยการมอบดินแดนปาเลสไตน์ให้เป็นที่พักพิงถาวรของชาวยิว โดย ลอร์ด อาร์เธอร์ เจมส์ บัลฟอร์ (Lord. Arthur James Balfour) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษในขณะนั้น เป็นผู้ลงนามใน "สนธิสัญญาบัลฟอร์" เมื่อปีค.ศ.1917 ซึ่งถือเป็นการมอบที่แปลกพิศดารและอัปยศที่สุดในประวัติศาสตร์ เพราะผู้มอบไม่ใช่เป็นเจ้าของที่แท้จริง ในขณะที่ผู้รับมอบเองก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะรับ ส่วนเจ้าของที่แท้จริงไม่มีสิทธิ์แม้กระทั่งเรียกร้องโดยวาจา ได้แต่มองด้วยสายตาอันน่าเวทนา
ขณะเดียวกันก็เกิดสนธิสัญญาขึ้นซ้อนอีกหนึ่งฉบับที่ลงนามโดย เซอร์เฮนรี่ แม็กมาฮอน (Sir. Henry McMahon) ข้าหลวงใหญ่ของอังกฤษในอียิปต์ ซึ่งไปตกลงกับชาวอาหรับว่า หากชาวอาหรับช่วยอังกฤษทำสงครามกับเยอรมันแล้ว อังกฤษจะยกดินแดนบางส่วน รวมถึงปาเลสไตน์คืนให้แก่ชาวอาหรับ แต่เมื่อสิ้นสงคราม อังกฤษก็ยังคงยึดครองปาเลสไตน์โดยมิได้มอบให้แก่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เนื่องด้วยฝ่ายยิวและอาหรับต่างก็อ้างสนธิสัญญาที่ตนเองถือเป็นข้ออ้างในการครอบครองดินแดน
ปี ค.ศ. 1923 องค์การสันนิบาตชาติ มอบหมายให้อังกฤษเป็นผู้ดำเนินการส่งมอบดินแดนปาเลสไตน์ให้แก่ชาวยิว แต่อังกฤษก็ยังคงครอบครองดินแดนไว้เพื่อใช้ต่อรองกับกลุ่มชาติอาหรับ ในการทำสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งแน่นอนว่าภายหลังสงคราม ดินแดนเจ้าปัญหานี้ก็ยังไม่ได้ถูกส่งมอบให้แก่ฝ่ายไหนอยู่ดี อีกทั้งปัญหาการอพยพเข้ามาของชาวยิวจำนวนมากก็ยังทวีความวุ่นวายเข้าไปทุกขณะ โดยมีกลุ่มชาติอาหรับแสดงท่าทีไม่พอใจอย่างเห็นได้ชัด
ปี ค.ศ. 1947 สมัชชาสหประชาชาติ ลงมติแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ให้กับชาวยิว โดยแบ่งเอาดินแดนบางส่วนของซีเรียและอียิปต์ไปด้วย โดยมติดังกล่าวไม่ได้ขอความเห็นชอบจากชาวปาเลสไตน์เลยแม้แต่น้อย โดยการแบ่งดินแดนในครั้งนั้น ทำให้ปาเลสไตน์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นที่อาศัยของชาวยิว และอีกส่วนหนึ่งเป็นที่อาศัยของชาวมุสลิมอาหรับ
ปี ค.ศ. 1948 มีการจัดตั้งรัฐยิวขึ้นอย่างเป็นทางการบนแผ่นดินปาเลสไตน์โดยมี เดวิด เบนกูเรียน (David Bengurion) เป็นผู้นำคนแรก โดยตั้งชื่อว่า รัฐอิสราเอล นับแต่นั้นมา อิสราเอลก็เริ่มปรากฏในแผนที่โลกในฐานะประเทศ ทั้งที่ก่อนหน้านี้พวกเขาไม่มีแผ่นดินครอบครองเลย
แต่ทุกครั้งที่เกิดสงคราม ก็ลงเอยด้วยความพ่ายแพ้ของชาติอาหรับ และปาเลสไตน์ก็ต้องเสียดินแดนไปทุกครั้ง โดยเฉพาะ "สงคราม 6 วัน" ในปี ค.ศ. 1967 ประธานาธิบดีนัสเซอร์ แห่งอียิปต์ ส่งกองกำลังทหารกว่า 7 แสนนาย จากความร่วมมือของ 7 ชาติอาหรับ เข้าถล่มอิสราเอลที่มีกองกำลังเพียง 2 แสนนายเท่านั้น เหตุการณ์กลับตาลปัตรกลายเป็นว่ายิวเป็นฝ่ายมีชัยในสงคราม อีกทั้งยังยึดดินแดนของฝ่ายชาติอาหรับมาเป็นของตน ไม่ว่าจะเป็นเขตกาซ่าตะวันออก แหลมซีนายของอียิปต์ ชายฝั่งตะวันตกบางส่วนของแม่น้ำจอร์แดน (เขตเวสต์แบงก์) ที่ราบสูงโกรันของซีเรีย นครเยรูซาเล็มฝั่งตะวันออก ซึ่งดินแดนที่ว่านี้ก็ยังถูกอิสราเอลครอบครองมาจนถึงปัจจุบัน นอกเหนือจากชัยชนะครั้งนี้แล้ว อิสราเอลยังฉวยโอกาสนี้ทำการขับไล่ชาวอาหรับออกจากจากดินแดนของตนเป็นจำนวนมาก
จากความพ่ายแพ้ในครั้งนี้ ทำให้กลุ่มชาติอาหรับลดความนับถือต่อประธานาธิบดี นัสเซอร์ เป็นอย่างมาก และยังทำให้ "องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์" (PLO : Palestine Liberation Organization) ที่เขาก่อตั้งขึ้น ต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายครั้งใหญ่ มีการเลือกประธานคนใหม่ที่มาพร้อมกับนโยบายที่แข็งกร้าวขึ้น นั่นคือนายยัสเซอร์ อาราฟัต (Yasser Arafat)
การประชุดสุดยอดสันนิบาตอาหรับปี 1974 กำหนดให้องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์เป็น "ผู้แทนชาวปาเลสไตน์โดยชอบด้วยกฎหมายแต่ผู้เดียว" และยืนยันอีกครั้งถึง "สิทธิของพวกเขาในการสถาปนารัฐที่มีเอกราชอย่างเร่งด่วน"[16] องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ในสหประชาชาติเป็น "องค์การมิใช่รัฐ" (non-state entity) ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 1974[17][18] ซึ่งให้สิทธิพูดในสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียง หลังคำประกาศอิสรภาพ สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ "รับรอง" คำประกาศดังกล่าวอย่างเป็นทางการ และออกเสียงให้ใช้ชื่อ "ปาเลสไตน์" แทน "องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์" เมื่อเอ่ยถึงผู้สังเกตการณ์ถาวรปาเลสไตน์[19][20] แม้จะมีคำวินิจฉัยนี้ องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ก็มิได้เข้าร่วมสหประชาชาติในขีดความสามารถที่เป็นรัฐบาลของรัฐปาเลสไตน์[21] วันที่ 29 พฤศจิกายน 2012 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติผ่านข้อมติที่ 67/19 ยกระดับปาเลสไตน์จาก "องค์การผู้สังเกตการณ์" (observer entity) เป็น "รัฐผู้สังเกตการณ์ที่มิใช่สมาชิก" ในระบบสหประชาชาติ ซึ่งถือเป็นการรับรองอธิปไตยขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์โดยปริยาย[22][23][24]
ในข้อตกลงกรุงออสโลปี 1993 อิสราเอลรับรองคณะผู้เจรจาขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ว่า "เป็นผู้แทนของชาวปาเลสไตน์" ตอบแทนการที่องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์รับรองสิทธิของอิสราเอลที่จะดำรงอยู่อย่างสันติ กรยอมรับข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 242 และ 338 และปฏิเสธ "ความรุนแรงและการก่อการร้าย"[25] ผลคือ ในปี 1994 องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์สถาปนาการปกครองดินแดน ซึ่งบริหารหน้าที่รัฐบาลบ้างในบางส่วนของเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา[26][27]
ในปี 2007 การยึดฉนวนกาซาโดยฮามาส แบ่งชาวปาเลสไตน์ทั้งทางการเมืองและดินแดน โดยฟาตาห์ของมาห์มูด อับบาสยังปกครองเวสต์แบงก์ส่วนใหญ่และนานาประเทศรับรองว่าเป็นองค์การบริหารปาเลสไตน์[28] ขณะที่ฮามาสรักษาการควบคุมฉนวนกาซาไว้ ในเดือนเมษายน 2011 พรรคการเมืองปาเลสไตน์ลงนามความตกลงปรองดอง แต่การนำไปปฏิบัติหยุดไปนับแต่นั้น
จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2012 มีรัฐสมาชิกสหประชาชาติ 131 รัฐ จาก 193 รัฐ (67.9%) ให้การรับรองรัฐปาเลสไตน์[29][30] กระนั้นหลายประเทศที่มิได้รับรองรัฐปาเลสไตน์ก็รับรององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์เป็น "ผู้แทนของชาวปาเลสไตน์" ยิ่งไปกว่านั้น คณะกรรมการบริหารขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ได้รับอำนาจจากสภาแห่งชาติปาเลสไตน์ให้ดำเนินหน้าที่รัฐบาลในรัฐปาเลสไตน์[31]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.