คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
ซีพี ออลล์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: C.P. ALL PUBLIC COMPANY LIMITED, ย่อ: CPALL) เดิมชื่อ บริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: C.P. SEVEN ELEVEN PUBLIC COMPANY LIMITED, ย่อ: CP7-11) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2531 เป็นบริษัทหลักในกลุ่มธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่ายของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ประกอบธุรกิจหลัก คือ ธุรกิจค้าปลีกประเภทร้านค้าสะดวกซื้อภายใต้เครื่องหมายการค้า เซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย
Remove ads
ธุรกิจอื่น ๆ เช่น ตัวแทนรับชำระค่าสินค้าและบริการ (บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด) ธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารแช่แข็งและเบเกอรี (บริษัท ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด จำกัด) ธุรกิจจำหน่ายและซ่อมแซมอุปกรณ์ค้าปลีก (บริษัท ซีพี รีเทลลิงก์ จำกัด) ธุรกิจให้บริการชำระค่าสินค้าและบริการผ่านบัตรสมาร์ทการ์ด (บริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด) ธุรกิจให้บริการด้านระบบสารสนเทศ (บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด) ธุรกิจบริการขนส่งและกระจายสินค้า (บริษัท ไดนามิค แมนเนจเม้นท์ จำกัด) ธุรกิจให้บริการด้านการตลาด (บริษัท เอ็ม เอ เอ็ม ฮาร์ท จำกัด) ธุรกิจโรงเรียนอาชีวะศึกษาด้านค้าปลีก (บริษัท ศึกษาภิวัฒน์ จำกัด) และธุรกิจการจัดฝึกอบรมการจัดการสัมมนาทางวิชาการทางธุรกิจ (บริษัท ปัญญธารา จำกัด และบริษัทออลล์ เทรนนิ่ง จำกัด) นอกจากนี้บริษัทยังได้เข้าซื้อกิจการของ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าแบบชำระเงินสดและบริการตนเอง (Cash and Carry)
Remove ads
ประวัติ
สรุป
มุมมอง
เมื่อปี พ.ศ. 2531 บริษัท ซี.พี. คอนวีเนียนสโตร์ จำกัด ได้รับสิทธิ์การใช้เครื่องหมายการค้าเซเว่น อีเลฟเว่นจาก 7-Eleven, Inc. สหรัฐอเมริกา จึงเริ่มดำเนินธุรกิจร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น จากนั้นเปลี่ยนชื่อมาเป็นบริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด และได้เปิดสาขาแรกที่ซอยพัฒน์พงษ์ ต่อมาปี 2537 จัดตั้งบริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนรับชำระเงินค่าสินค้าและบริการ ปี 2539 จัดตั้งบริษัท ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารแช่แข็งและเบเกอรี ในปี 2541 จัดตั้ง Lotus Distribution Investment Limited และเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2542 ที่ผ่านมานี้เองที่ได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ในชื่อ บริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน)[1]
ปี พ.ศ. 2545 ได้ร่วมมือกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในการเปิดร้านเซเว่น อีเลฟเว่นในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. จนปี 2550 ได้เปลี่ยนชื่อบริษัทมาเป็น บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์ในระบบการซื้อขาย จาก CP7-11 มาเป็น CPALL ต่อมาปี 2556 เข้าซื้อกิจการ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ซึ่งประกอบธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าระบบสมาชิกแบบชำระเงินสดและบริการตนเอง[1] การซื้อกิจการสยามแม็คโครเพื่อใช้เป็นช่องทางนำสินค้าจากประเทศไทยโดยเฉพาะสินค้าจากผู้ผลิตขนาดเล็กและขนาดกลาง (SME) และสินค้าผลิตผลทางการเกษตร อาหารแช่แข็งและอาหารสดของไทย ไปจำหน่ายในประเทศกลุ่มอาเซียน[2] ในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561 บริษัทมีสาขาทั้งสิ้น 10902 สาขา[3]
9 มีนาคม พ.ศ. 2563 กลุ่มซีพีและซีพี ออลล์ ชนะการประมูลเทสโก้ โลตัส ด้วยมูลค่า 3.38 แสนล้านบาท โดยซีพี ออลล์ ถือ 40% กลุ่มซีพีถือ 40%, ซีพี เมอร์แชนไดซิ่ง (บริษัทลูก CPF) ถือ 20%[4] ปัจจุบันได้โอนกิจการทั้งหมดให้สยามแม็คโครซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ซีพี ออลล์ เป็นผู้ดูแล และในเดือนพฤษภาคม ซีพี ออลล์ กัมพูชา บริษัทย่อยของซีพี ออลล์ ได้รับสิทธิแฟรนไชส์ในการจัดตั้งและดำเนินการร้าน เซเว่นอีเลฟเว่นในประเทศกัมพูชาเป็นเวลา 30 ปี และคู่สัญญาอาจตกลงต่ออายุสัญญาได้อีก 2 ครั้ง ๆ ละ 20 ปี[5]
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
- ข้อมูลผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ณ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2568 [6]
ลำดับที่ | รายชื่อผู้ถือหุ้น | จำนวนหุ้นสามัญ | สัดส่วนการถือหุ้น |
1 | บริษัท ซี.พี.เมอร์แชนไดซิ่ง จำกัด | 2,765,242,300 | 30.78% |
2 | บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด | 1,186,201,800 | 13.20% |
3 | สำนักงานประกันสังคม | 281,283,300 | 3.13% |
4 | SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED | 269,982,571 | 3.01% |
5 | STATE STREET EUROPE LIMITED | 230,887,710 | 2.57% |
Remove ads
เซเว่น อีเลฟเว่น
สรุป
มุมมอง
ประเภท

เซเว่น อีเลฟเว่น แบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามลักษณะความเป็นเจ้าของ คือ[1]
- ร้านสาขาบริษัท เป็นร้านที่บริษัทเป็นเจ้าของและบริหารเองทั้งหมด
- ร้าน Store Business Partner (SBP) เป็นร้านที่ทางบริษัทช่วยเหลือในการดำเนินธุรกิจแก่นักลงทุน โดยเลือกจากเซเว่น อีเลฟเว่นของทางบริษัทที่เปิดดำเนินการอยู่แล้ว หรืออาจทำธุรกิจในทำเลของตัวเอง โดยระยะเวลาอนุญาตให้ดำเนินการร้านและผลประโยชน์ตอบแทน ขึ้นอยู่กับประเภทของ SBP
- ผู้ประกอบการรับสิทธิ์ช่วงในอาณาเขต (Sub-Area License) เป็นร้านที่บริษัททำสัญญาอนุญาตให้สิทธิ์ช่วงแก่ผู้ประกอบการท้องถิ่น โดยมีกลุ่มตันตรานนท์ ผู้ประกอบการค้าปลีกท้องถิ่นรายใหญ่ของเชียงใหม่ ดูแลพื้นที่เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน, กลุ่มงามทวี ดูแลพื้นที่ภาคใต้ตอนบน เช่น ภูเก็ต กระบี่ ตรัง, กลุ่มศรีสมัย ดูแลบางจังหวัดในภาคใต้ตอนล่าง เช่น ยะลา และกลุ่มยิ่งยง ดูแลการขยายเซเว่น อีเลฟเว่นใน 4 จังหวัดภาคอีสาน ได้แก่ อุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอำนาจเจริญ[7] กลุ่มเหล่านี้ได้รับสิทธิ์ช่วงรับผิดชอบการเปิดสาขาและบริหารร้าน
การตลาด
เซเว่น อีเลฟเว่น ในยุคแรกมีรูปแบบเป็นมินิมาร์ท คือเน้นขายสินค้าที่ไม่ใช่อาหารมากกว่า ในช่วง 20 สาขาแรก ได้มีการลงทุนเองโดยการซื้อตึกมาเปิดสาขาเอง แต่หลังจากนั้นหันมาใช้วิธีการเช่าแทนจึงทำให้สามารถขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว ต่อมาได้เปลี่ยนกลยุทธ์การใช้ระบบแฟรนไชส์ และซับแอเรียไลเซนซ์ (ผู้ประกอบการรับสิทธิ์ช่วงในอาณาเขต) ถือเป็นที่แรกในโลกที่ใช้ระบบซับแอเรียไลเซนซ์[8] เมื่อขยายได้เกิน 400 สาขา ทำให้บริษัทผ่านจุดคุ้มทุน จึงมีเงินเหลือในการลงทุนด้านต่าง ๆ เพื่อเข้ามาสนับสนุนการทำตลาด เช่น เปิดสถาบันปัญญาภิวัฒน์ เพื่อพัฒนาทีมงานด้านค้าปลีกโดยเฉพาะ[8]
อีกหนึ่งกลยุทธ์การตลาด คือแสตมป์เซเว่น อีเลฟเว่น ที่เริ่มใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542[9] กับแนวคิดเริ่มต้นคือ การให้ส่วนลดกับลูกค้าที่ใช้บริการ แต่ประยุกต์ในรูปแบบการสะสมแสตมป์ โดยจัดต่อเนื่องทุกปี ภายหลังมีการนำคาแรกเตอร์ หรือตัวละครต่าง ๆ เข้ามาในแสตมป์ นอกจากการสะสมแปะไว้ในสมุดสะสมแสตมป์ ยังมีรูปแบบการสะสมแบบ เอ็ม-แสตมป์ (M-Stamp) ผ่านแอปพลิเคชันทางโทรศัพท์มือถือ วิธีการสะสมแสตมป์ได้รับความนิยม จนร้านสะดวกซื้อรายอื่นหันมาทำตาม อาทิ เทสโก้ โลตัส และลอว์สัน 108[10]
สินค้าและบริการ
สัดส่วนสินค้าแบ่งเป็นสินค้ากลุ่มอาหารและของสดเป็นร้อยละ 70 และสัดส่วนสินค้าทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 30 สินค้าที่วางขายในร้าน จัดเป็นกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ร้อยละ 50 หรือราว 2 พันราย จากจำนวนผู้จัดหาสินค้า 4 พันราย และมีจำนวนสินค้าจากผู้ประกอบการกลุ่มเอสเอ็มอีมากกว่า 25,000 รายการ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่ขายดี คือ สินค้าเพื่อสุขภาพและความงาม รวมทั้งผลิตภัณฑ์แปรรูปจากการเกษตรต่าง ๆ[11]
รูปแบบบริการอื่น ในเซเว่น อีเลฟเว่น เช่นร้านกาแฟออลคาเฟ (All Cafe) และอีกแบรนด์คือ Kudsan Bakery & Coffee ที่ทำตลาดกาแฟ บางร้านมีมุมอาหารปรุงสุก ออลมีล (All Meal) ที่เริ่มเปิดบริการตั้งแต่ปี 2557 เซเว่น อีเลฟเว่นยังมีบริการต่อทะเบียนรถผ่าน เคาน์เตอร์ เซอร์วิส เริ่มบริการนี้ตั้งแต่ปี 2558 มีบริการซัก-อบ-รีด จากบริษัท คลีนเมต (CleanMate) บางสาขาให้บริการเครื่องถ่ายเอกสารและพรินต์เอกสาร ในบางสาขามีร้านขายยา เอ็กซ์ต้า พลัส, ตัวแทนให้บริการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT Refund) ให้นักท่องเที่ยวต่างชาติในบางสาขา และเซเว่น อีเลฟเว่นยังมีบริการรับส่งพัสดุ[12]
นอกจากนั้นเซเว่น อีเลฟเว่นยังเป็นตัวแทนธนาคารพาณิชย์ (Banking Agent) ให้บริการฝากถอนเงิน โดยร่วมมือกับธนาคารออมสิน ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์[13] และธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์[14]
Remove ads
นิติบุคคลที่บริษัทถือหุ้น
สรุป
มุมมอง
จากข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 นิติบุคคลที่บริษัทถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไปมีดังนี้[1]
- บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99
- บริษัท ซีพีแรม จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99
- บริษัท ซีพี รีเทลลิงก์ จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99
- บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99
- บริษัท เอ็ม เอ เอ็ม ฮาร์ท จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99
- บริษัท ไดนามิค แมนเนจเม้นท์ จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99
- บริษัท ศึกษาภิวัฒน์ จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99
- บริษัท ปัญญธารา จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99
- บริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 72.64
- สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ถือหุ้นร้อยละ 99.99
- วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ ถือหุ้นร้อยละ 99.99
- บริษัท ออลล์ เทรนนิ่ง จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99
- บริษัท ออลล์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99
- บริษัท โอเอชที จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99
- บริษัท สยามแม็คโคร โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99
- บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นร้อยละ 97.88
- บริษัท ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99
- บริษัท ซีพี ฟู้ดแล็บ จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99
- โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ถือหุ้นร้อยละ 99.99
- Lotus Distribution Investment Limited ถือหุ้นร้อยละ 100
- Successor Investments Limited ถือหุ้นร้อยละ 100
- Nanjing Zheng Yi Xin Trading Co., Ltd. ถือหุ้นร้อยละ 100
- Successor (China) Investments Limited ถือหุ้นร้อยละ 100
- Albuera International Limited ถือหุ้นร้อยละ 100
- Nanjing Tianqu Investment Management Co., Ltd. ถือหุ้นร้อยละ 100
- Nanjing Tech University Pujiang Institute ถือหุ้นร้อยละ 100
- Nanjing Tech University Pujiang Institute Educational Development Fund ถือหุ้นร้อยละ 100
- บริษัท สยามฟูด เซอร์วิส จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 97.88
- Indoguna Vina Food Service Company Limited (เดิมชื่อ Vina Siam Food Co., Ltd.) ถือหุ้นร้อยละ 97.88
- บริษัท แม็คโคร อาร์โอเอช จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 97.88
- บริษัท โปรมาร์ท จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 97.88
- ARO Company Limited ถือหุ้นร้อยละ 97.88
- Makro (Cambodia) Company Limited ถือหุ้นร้อยละ 68.52
- CP Wholesale India Private Limited ถือหุ้นร้อยละ 97.87
- Indoguna (Singapore) Pte Ltd ถือหุ้นร้อยละ 78.30
- Indoguna Dubai L.L.C. ถือหุ้นร้อยละ 78.30
- Just Meat Company Limited ถือหุ้นร้อยละ 78.30
- Indoguna Lordly Company Limited (เดิมชื่อ Lordly Company Limited) ถือหุ้นร้อยละ 78.30
- Makro (Guangzhou) Food Company Limited ถือหุ้นร้อยละ 97.87
- MAXZI THE GOOD FOOD RESTAURANT & CAFÉ L.L.C. ถือหุ้นร้อยละ 78.30
- Indoguna (Cambodia) Company Limited ถือหุ้นร้อยละ 68.52
- บริษัท ทรู จีเอส จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 10
Remove ads
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads