Loading AI tools
อดีตผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชัยธวัช ตุลาธน (เกิด 15 ตุลาคม พ.ศ. 2521) ชื่อเล่น ต๋อม เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และอดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ซึ่งมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุดในกลุ่มพรรคการเมืองฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 โดยภายหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 ชัยธวัชในฐานะเลขาธิการพรรคก้าวไกลในขณะนั้น มีบทบาทในการประสานงานกับพรรคต่าง ๆ เพื่อจัดตั้งรัฐบาลในระยะแรก ก่อนมอบสิทธิ์ให้กับพรรคเพื่อไทยในระยะหลัง[1]
ชัยธวัช ตุลาธน | |
---|---|
ชัยธวัช ใน พ.ศ. 2566 | |
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร | |
ดำรงตำแหน่ง 17 ธันวาคม พ.ศ. 2566 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2567 (0 ปี 234 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน |
ก่อนหน้า | ชลน่าน ศรีแก้ว |
ถัดไป | ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
ดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2567 (1 ปี 85 วัน) | |
หัวหน้าพรรคก้าวไกล | |
ดำรงตำแหน่ง 23 กันยายน พ.ศ. 2566 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2567 (0 ปี 319 วัน) | |
ก่อนหน้า | พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ |
ถัดไป | ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ (พรรคประชาชน) |
เลขาธิการพรรคก้าวไกล | |
ดำรงตำแหน่ง 14 มีนาคม พ.ศ. 2563 – 23 กันยายน พ.ศ. 2566 (3 ปี 193 วัน) | |
ก่อนหน้า | โดยนิตินัย: ปีใหม่ รัฐวงษา โดยพฤตินัย: ปิยบุตร แสงกนกกุล (พรรคอนาคตใหม่) |
ถัดไป | อภิชาติ ศิริสุนทร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ชัยธวัช แซ่โค้ว 15 ตุลาคม พ.ศ. 2521 อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | อนาคตใหม่ (2561–2563) ก้าวไกล (2563–2567) คณะก้าวหน้า (2567-ปัจจุบัน) |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
อาชีพ | นักการเมือง |
ชื่อเล่น | ต๋อม |
ชัยธวัช ตุลาธน เดิมชื่อ "ชัยธวัช แซ่โค้ว" มีชื่อเล่นว่า "ต๋อม" เกิดเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2521 ที่ตำบลทุ่งหวัง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย จังหวัดสงขลา ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และจบปริญญาตรี จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
ชัยธวัช เคยทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัย โดยในปี พ.ศ. 2540 ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) และในปี 2541 ได้เป็นเลขาธิการกิจกรรมกลุ่มดังกล่าว[2]
ชัยธวัช ตุลาธน เป็นบรรณาธิการสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 จนถึงปี พ.ศ. 2561 เขาจึงเริ่มทำงานการเมืองโดยร่วมกับธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ซึ่งมีความสนิทสนมเมื่อครั้งเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา[3] เขาเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ร่วมกับเพื่อนคนดังกล่าว และในระยะแรกเขาได้รับหน้าที่รองเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ จนกระทั่งเมื่อพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบพรรค เขาจึงย้ายไปร่วมงานกับพรรคก้าวไกลและทำหน้าที่เป็นเลขาธิการพรรคดังกล่าว[4] สืบต่อจากนางปีใหม่ รัฐวงษา อดีตเลขาธิการพรรคก้าวไกล
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 2 และได้รับการเลือกตั้ง ภายหลังการเลือกตั้งเขามีบทบาทสำคัญในการเป็นตัวแทนของพรรคก้าวไกลในการประสานงานกับพรรคการเมืองต่าง ๆ เพื่อรวบรวมเสียงจัดตั้งรัฐบาล แต่ภายหลังจัดตั้งรัฐบาลไม่สำเร็จและทำให้พรรคก้าวไกลต้องเปลี่ยนสถานะเป็นฝ่ายค้าน
ดังนั้น ภายหลังการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีนายเศรษฐา ทวีสิน เสร็จสิ้นลงแล้ว เมื่อวันที่ 15 กันยายน พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค ซึ่งถูกสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น จึงประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค เพื่อเปิดโอกาสให้หัวหน้าพรรคคนใหม่ที่ปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร[5] โดยมีการประชุมใหญ่วิสามัญเพื่อเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่เมื่อวันที่ 23 กันยายน และที่ประชุมมีมติเลือกชัยธวัชเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ ด้วยมติเห็นชอบ 330 เสียง ไม่เห็นชอบ 5 เสียง และงดออกเสียง 3 เสียง[6]
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมาตรา 106 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดไว้ว่า ผู้นำฝ่ายค้านจะต้องเป็น สส. ที่เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีจำนวน สส. มากที่สุดในกลุ่มพรรคการเมืองที่ไม่มีสมาชิกพรรคดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร แต่ปดิพัทธ์ สันติภาดา ยังปฏิบัติหน้าที่รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ในฐานะ สส. ของพรรคก้าวไกลอยู่ จึงทำให้ชัยธวัชยังไม่สามารถดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรได้ ในที่สุด เมื่อวันที่ 28 กันยายน ที่ประชุมร่วมระหว่างกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคก้าวไกล จึงมีมติให้ปดิพัทธ์ออกจากการเป็นสมาชิกพรรคก้าวไกล หรือขับออกจากพรรค[7] (ปัจจุบันปดิพัทธ์ย้ายไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคเป็นธรรมตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม) ส่งผลให้ชัยธวัชมีสถานะเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไปโดยปริยาย และมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม โดยมีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม[8]
ต่อมาตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ชัยธวัชถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 10 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคก้าวไกลซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2567[9]
ชัยธวัช ตุลาธน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.