คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
ชอุ่ม ปัญจพรรค์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
ชอุ่ม ปัญจพรรค์ หรือ ชอุ่ม แย้มงาม (10 ธันวาคม พ.ศ. 2464 - 28 กันยายน พ.ศ. 2556) นักเขียน นักแต่งเพลงชาวไทย ได้รับการเชิดชูเกียรติรางวัลนราธิป ประจำปี พ.ศ. 2546
Remove ads
ชีวิตตอนต้น
ชอุ่มเกิดที่ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรสาวคนโตของขุนปัญจพรรค์พิบูล อดีตข้าหลวงจังหวัด (ผู้ว่าราชการ) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดนครปฐม จังหวัดพังงาและจังหวัดตราด กับกระแส ปัญจพรรค์ (สกุลเดิม โกมารทัต) เป็นพี่สาวของ อาจินต์ ปัญจพรรค์ (ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2534) โดยมีพี่น้องร่วมท้อง 4 คน ได้แก่ [1]
- ชลอ ปัญจพรรค์
- ลัดดา ปัญจพรรค์
- อาจินต์ ปัญจพรรค์
- วัฒนา คชรัตน์
จบการศึกษาชั้นต้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี และนครปฐม ศึกษาชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รุ่นที่ 1 เลขประจำตัวที่ 1 [2] แล้วเข้าศึกษาต่อในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นอักษรศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 11
Remove ads
การทำงาน
รับราชการที่กรมโฆษณาการ ทำงานในแผนกและกองต่าง ๆ เช่น กองกระจายเสียงวิทยุแห่งประเทศไทย แผนกนิตยสารและห้องสมุด, บรรณาธิการหนังสือโฆษณาสาร, หัวหน้าคณะละครวิทยุ คณะโฆษณาสาร และคณะวัฒนธรรมบันเทิง รวมทั้งแต่งบทละครและเพลงประกอบเรื่องให้คณะสุนทราภรณ์
เขียนเรื่องสั้นเป็นงานอดิเรกขณะทำงานอยู่ที่กองกระจายเสียงวิทยุแห่งประเทศไทย จำนง รังสิกุล ซึ่งทำงานอยู่อีกแผนกหนึ่งได้พบเรื่องสั้นที่เขียนเก็บใส่แฟ้มไว้ จึงได้นำผลงานเรื่องสั้นชื่อ “ฉันกับกามเทพ” ส่งให้ นิลวรรณ ปิ่นทอง บรรณาธิการนิตยสารสตรีสารอ่าน ปรากฏว่าได้ลงตีพิมพ์เป็นเรื่องแรกในชีวิตและเริ่มงานเขียนเป็นอาชีพตั้งแต่นั้น
ละครวิทยุ ละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ที่สร้างจากผลงานเขียน/นวนิยายที่มีชื่อเสียง เช่น "ทัดดาวบุษยา" "บ้านนอกเข้ากรุง" "เมียนอกกฎหมาย" "มารพิศมัย" "สร้อยฟ้าขายตัว" นอกจากนี้ยังมีผลงานคำร้อง เพลงข้องจิต หนึ่งในดวงใจ ช่อรักซ้อน วิมานใยบัว รักเอาบุญ ดอกพุดตาน สำคัญที่ใจ ฝากลมวอน เกิดเป็นคน แผ่นดินทอง หน้าที่ของเด็ก (เด็กเอ๋ยเด็กดี) เป็นต้น [3]
Remove ads
ชีวิตส่วนตัว
ชอุ่มสมรสกับจำโนทย์ แย้มงาม ไม่มีบุตรด้วยกัน
ชอุ่มถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา เมื่อเวลาประมาณ 1 นาฬิกา ของวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556[4] สิริอายุ 91 ปี โดยหน้าที่สุดท้ายคือทำงานที่ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เป็นกรรมการเซ็นเซอร์ของสถานี
ความภูมิใจ
การยกย่องเชิดชูเกียรติ จากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย รับรางวัลนราธิป ประจำปี พ.ศ. 2546 [5]
เกร็ด
- นักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รุ่นที่ 1 เลขประจำตัว 1
- ผู้ประพันธ์เพลงปิ่นหทัย เพลงประจำโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2525 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[6]
- พ.ศ. 2520 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[7]
- พ.ศ. 2517 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads