คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

ค็อกเทล (วงดนตรี)

วงดนตรีร็อคสัญชาติไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ค็อกเทล (วงดนตรี)
Remove ads

ค็อกเทล (อังกฤษ: COCKTAIL) เป็นวงดนตรีสัญชาติไทย จากกรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2545 เป็นศิลปินแนวดนตรีคลาสสิก ป็อปร็อก โดยมีต้นกำเนิดจากการรวมวงดนตรีหลาย ๆ วงในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ในระดับมัธยมปลายมาออกจำหน่ายอัลบั้ม โดยมีชื่อว่า "COCKTAIL" จึงใช้ชื่อนี้ในการแสดงดนตรีเรื่อยมา โดยค็อกเทลมีผลงานอัลบั้มเพลงวางจำหน่ายทั้งสิ้น 9 อัลบั้ม 3 อีพี รวมมากกว่า 100 บทเพลง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 – 2567 จนกระทั่งยุบวงในวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2568

ข้อมูลเบื้องต้น ค็อกเทล (COCKTAIL), ข้อมูลพื้นฐาน ...
Remove ads
Remove ads

ประวัติ

สรุป
มุมมอง

ช่วงแรกของวงและอัลบั้มแรก ค็อกเทล (พ.ศ. 2545–2546)

ค็อกเทล เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2545 ขณะที่ โอม - ปัณฑพล ประสารราชกิจ ศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา[1] โดยโอมเริ่มแต่งเพลงแรก คือ "ยิ้มให้ฉันหน่อย" จากนั้นจึงร่วมมือกันในการเริ่มทำอัลบั้มกับ วิศรุต เตชะวรงค์ (บู๊ Sky Kick Ranger) โดยโอมยืมเงินของบิดาและมารดาทั้งหมด 85,000 บาท เพื่อทำอัลบั้ม และเริ่มเชิญชวนเพื่อนในโรงเรียนคนอื่น ๆ มาร่วมทำอัลบั้มกับเขา หลังจากนั้นโอมได้แต่งเพลง "ซ้ำซ้อน" ขึ้นมาเพิ่ม ขณะที่บู๊ได้แต่งเพลง "หลบหน้า" "อยาก" และ "รักไม่ลงตัว" ขึ้นมาเพิ่ม เริ่มบันทึกเสียงในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2545 โดยแบ่งเป็น 2 วง ได้แก่ วงฟอร์เต ซึ่งได้ชื่อมาจากคำว่า เสียงดัง ในภาษาอิตาลี ซึ่งมีสมาชิกคือโอม รวมกับสมาชิกวงดนตรีของบู๊ที่มีอยู่แล้ว โดยมีสัดส่วนการออกเพลง 6 เพลง ขณะที่อีก 4 เพลง เป็นของวงฟรีฟา ซึ่งได้ชื่อมาจากการผสมกันของชื่อวงฟรายเดย์ และโซฟาที่สมาชิกของวงชื่นชอบ แรกเริ่มคำว่า ค็อกเทล นั้นไม่ใช่ชื่อวง แต่เป็นชื่ออัลบั้มที่เสนอขึ้นโดยบู๊ เนื่องจากเป็นชื่อที่มีความหมายของการผสมกันของเครื่องดื่ม เปรียบเหมือนกับงานดนตรีของวงที่เป็นการรวมตัวของนักเรียน และด้วยอีกเหตุหนึ่ง คือ ข้อสอบการอ่านภาษาอังกฤษ (Reading Comprehension) ที่โรงเรียนออกในช่วงนั้น ออกเกี่ยวกับเรื่องค็อกเทลด้วย[2]

อัลบั้มชุดแรกของพวกเขาวางจำหน่ายได้สำเร็จในงานกีฬาสีของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2545 ต่อมาได้วางจำหน่ายในร้านดีเจสยาม และ น้องท่าพระจันทร์ เป็นอัลบั้มที่เริ่มทำให้วงเป็นที่รู้จักในกลุ่มนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปลาย และสร้างกลุ่มแฟนเพลงที่สนใจผลงานขึ้นมาได้บ้างในเวลานั้น อัลบั้มนี้มีเพลงที่เป็นที่รู้จักอย่าง "ซ้ำซ้อน" "หลบหน้า" และ "เศษซากความฝัน" ลักษณะของอัลบั้มใกล้เคียงความเป็นอัลบั้มรวบรวมมากกว่างานของค็อกเทลวงเดียว กล่าวคือ เป็นการรวมตัวกันของนักดนตรีระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายภายในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาหลาย ๆ วง โดยเพลง "หลบหน้า" และ "Nobody" เป็นเสียงร้องของบู๊

อัลบั้ม 36,000 ไมลส์อะเวย์ฟรอมเฮียร์ (พ.ศ. 2546–2549)

หลังจากนั้นค็อกเทลก็ได้ออกอีพี อินไซด์ (Inside) ในปี พ.ศ. 2546 เพื่อรองรับความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากอัลบั้มแรก สมาชิกหลายคนในช่วงอัลบั้มแรกได้แยกย้ายกันไปศึกษาต่อกันในระดับอุดมศึกษา แต่สมาชิกที่ยังเหลืออยู่ 4 คน ได้แก่ โอม - ปัณฑพล ประสารราชกิจ (ร้องนำ), บู๊ - วิศรุต เตชะวรงค์ (กลอง), หลง - วิทวัศ หลงชมบุญ (เบส) และ ธิป - ธิปรัชต์ โชติบุตร (กีตาร์) ได้ตัดสินใจรวมตัวกันเป็นวง โดยตั้งใจจะใช้ชื่อว่า ค็อกเทล ต่อไป อย่างไรก็ตามแนวเพลงในอัลบั้มนี้ก็ไม่มีกำหนดการที่ตายตัวแต่อย่างใด พวกเขาเริ่มต้นทำงานเพลงอัลบั้มที่ 2 ต่อไป โดยเริ่มแต่งเพลงในช่วงปลายปี พ.ศ. 2545 จนถึงกลางปี พ.ศ. 2547 และเริ่มบันทึกเสียงตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2547 ช่วงนั้น ธิป มือกีตาร์ ได้รับทุนไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศ จึงต้องหามือกีตาร์คนใหม่ ซึ่งได้ เอกซ์ - ปาริวัฒน์ สุวรรณชัย เข้ามาแทน[3] ต่อมาค็อกเทลได้ออกจำหน่ายอัลบั้มเต็มชุดที่ 2 ในชื่อ 36,000 ไมลส์อะเวย์ฟรอมเฮียร์ ในปี พ.ศ. 2547 เป็นอัลบั้มที่แนวทางของวงเปลี่ยนแปลงมาเป็นร็อกอย่างเต็มตัว แต่เนื่องจากเพลงในอัลบั้มนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางแต่ไม่มีการโปรโมตวงดนตรีเท่าที่ควร ทำให้เกิดลักษณะของการที่เพลงเป็นที่รู้จักมากกว่าวง

อัลบั้ม อินเดอะเมโมรีออฟซัมเมอร์โรมานซ์ (พ.ศ. 2549–2553)

หลังจากอัลบั้มชุด 36,000 ไมลส์อะเวย์ฟรอมเฮียร์ ค็อกเทลได้มีสมาชิกใหม่อีก 2 คน คือ อายุ จารุบูรณะ อดีตมือกลองจาก Saliva Bastard และ เชา - ชวรัตน์ หรรษคุณาฒัย พร้อมกับทำผลงานอีพี Final Light ในปี พ.ศ. 2550 และสตูดิโออัลบั้มชุดใหม่ในชื่อ อินเดอะเมโมรีออฟซัมเมอร์โรมานซ์ (In the Memory of Summer Romance) โดยได้ใช้เวลาถึง 3 ปี อัลบั้มชุดนี้ออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2551 มีแนวเพลงที่แตกต่างจากร็อกในอัลบั้มของค็อกเทลชุดก่อน มีเพลง "พันธนาการ" ที่เป็นดนตรีสังเคราะห์ที่ผสมผสานกับดนตรีร็อก นอกจากนี้อัลบั้มนี้ ยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลสีสันอวอร์ด ประจำปี 2551 สาขาเพลงบรรเลงยอดเยี่ยมจากบทเพลง "ดาราดับแสง" เวอร์ชันบรรเลงอีกด้วย ต่อมาค็อกเทลจึงได้เซ็นสัญญากับสังกัดจีนี่ เรคคอร์ด[4]

อัลบัม เท็นเทาซันด์เทียส์ (พ.ศ. 2553–2555)

ในปี พ.ศ. 2553 ค็อกเทลได้ออกอีพีในชื่อ วัย ในอัลบั้มประกอบด้วยเพลง "วัย" ในเวอร์ชันต่าง ๆ ซึ่งอัลบั้มนี้ผลิตจำกัด 1,000 แผ่นเท่านั้น วางจำหน่ายวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ทุกแผ่นหักค่าใช้จ่ายเป็นค่าทำบุญหนังสือเรียนให้กับโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโพธิ์ศรี จังหวัดสิงห์บุรี[5]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ค็อกเทลได้ออกสตูดิโออัลบั้มที่มีชื่อว่า เท็นเทาซันด์เทียส์ ชื่อของอัลบั้มมีที่มาจากชื่อเพลง "ฉันร้องไห้เป็นหมื่นครั้งเพื่อมาเจอเธอ" และงานในอัลบั้มนี้ ถึงแม้ว่าค็อกเทลจะมีสมาชิกเพียง 3 คน แต่ในอัลบั้มมีนักดนตรีเข้าร่วมบันทึกเสียงด้วยถึงกว่า 40 ชีวิต เพื่อสร้างสีสันผสมผสานแนวดนตรีให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยทำการบันทึกเสียงเครื่องดนตรีสดทุกชิ้น และเพลง "วัย" ก็ได้บรรจุอยู่ในอัลบั้มนี้ด้วย

อัลบั้ม เดอะลอดส์ออฟมิสเซอรี (พ.ศ. 2555–2558)

ในอัลบั้มนี้ เดอะลอดส์ออฟมิสเซอรี เป็นการกลับมาของมือเบส ปาร์ค - เกริกเกียรติ สว่างวงศ์ ส่วนอายุ จารุบูรณะ ได้ขอลาออกไปทำตามคำสัญญากับเพื่อนมัธยมที่จะสร้างวงดนตรีด้วยกัน จึงได้ ฟิลิปส์ เปรมสิริกรณ์ เข้ามาทำหน้าที่มือกลองแทน เปิดตัวด้วยเพลง "คุกเข่า" มีเพลง "โปรดเถิดรัก" เป็นเพลงแรกที่ได้ร่วมงานกับวงออเคสตราเต็มวง และเป็นเพลงที่ตัดออกมาจากประโยคเล็ก ๆ ในเพลง "เธอทำให้ฉันเสียใจ" ในสตูดิโออัลบั้มชุดที่แล้วของวง และนำมาขยายความ และเป็นเพลงแรกที่ทำมิวสิกวิดีโอเนื้อเรื่อง และเพลง "เธอ" เป็นการกลับมากำกับมิวสิกวิดีโอครั้งแรกในรอบ 20 ปีของ นิค วิเชียร ฤกษ์ไพศาล กรรมการผู้จัดการของค่าย โดยได้ภรรยาของโอมมาร่วมแต่งเพลงนี้อีกด้วย[6]

นอกจากนี้ ยังได้มีการทำผลงานเพลงกับศิลปินอื่น โดยในปี พ.ศ. 2556 โอมได้ทำผลงานเพลง "ทางที่เลือก" ร่วมกับ ต้า พาราด็อกซ์ และแอร์ เดอะมูสส์ รวมถึงในปี พ.ศ. 2557 ค็อกเทลได้ทำผลงานเพลงคัฟเวอร์ "ข้าน้อยสมควรตาย" ของบิ๊กแอส เพื่อนำไปประกอบภาพยนตร์ ตีสาม คืนสาม 3D และเพลง "หนังสือรุ่น" นำไปประกอบละครซีรีส์ เพื่อนเฮี้ยน..โรงเรียนหลอน ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 วงได้ออกซิงเกิลที่ห้าของอัลบั้มด้วยเพลง "คู่ชีวิต" และวงได้จัดคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกในชื่อ เดอะฮาร์ตเลสไลฟ์ ขึ้นในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2558[7] จัดที่เมืองไทย จีเอ็มเอ็มไลฟ์เฮาส์

อัลบั้ม ค็อกเทล (ชุดที่ 6) และผลงานพิเศษ (พ.ศ. 2559–2563)

สตูดิโออัลบั้ม "ค็อกเทล" เป็นอัลบั้มชุดที่ 6 ของวงค็อกเทล โดยเป็นครั้งแรกของวงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสมาชิกในการออกอัลบั้มใหม่ แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงสัญลักษณ์ของวงเป็นสัญลักษณ์ตัวซี ที่ทับอยู่บนไม้กางเขน โดยปรากฏครั้งแรกในเพลง "ทำดีไม่เคยจำ" เมื่อปี พ.ศ. 2560 โดยอัลบั้มนี้ซิงเกิลโปรโมทเพลงแรกคือเพลง "ช่างมัน" ซึ่งออกจำหน่ายในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559[8] โดยอัลบั้มชุดนี้ประกอบไปด้วย 11 บทเพลงซึ่งก่อนหน้าการออกจำหน่ายได้มีเพลงที่ได้เผยแพร่ทางออนไลน์แล้ว 7 เพลงและเพลงที่เหลือได้ถูกเผยแพร่บนช่องทางออนไลน์หลังจากจำหน่ายอัลบั้มแล้วในเวลาต่อมา ระหว่างนี้วงค็อกเทลได้จัดคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งที่ 2 ในชื่อ ค็อกเทล ไลฟ์ #เล่นด้วยหัวใจเสมอมา ขึ้นเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี[9] อัลบั้มนี้ได้ออกจำหน่ายอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2562 และมีคอนเสิร์ตเปิดอัลบั้มในวันเดียวกัน ณ ลานหน้า ฮาร์ด ร็อค คาเฟ่ สยามสแควร์ ก่อนจะเผยแพร่เพลง "พบพาน" ในอัลบั้มนี้ตามมาในอีก 4 วันถัดมา[10]

ในปี พ.ศ. 2563 วงค็อกเทลได้พักการทัวร์คอนเสิร์ตชั่วคราวเนื่องจากสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย โดยวงได้ทำเพลงพิเศษ "ใกล้ใจ" ขึ้นเพื่อแสดงความห่วงใยจากวงถึงแฟนเพลง และเข้าร่วมจัดรายการเล่นดนตรีรูปแบบถ่ายทอดสดทางออนไลน์เช่นเดียวกับศิลปินในสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ อีกจำนวนหนึ่ง[11] ก่อนจะเผยแพร่ซิงเกิลใหม่ "รักจริง (ให้ดิ้นตาย)" ในช่วงเดือนกันยายน โดยมี ติ๊ก ชิโร่ และฟักกลิ้งฮีโร่ ร่วมร้องด้วย และมีการผสมผสานแนวเพลงทั้งร็อก ไทยป็อป ฮิปฮอปไทยเข้าด้วยกัน[12] เดือนถัดมาวงได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในอัลบั้ม จูกซ์ 100x100 ฤดูกาลที่ 2 และเผยแพร่เพลง "ดึงดัน" ซึ่งมี ตั๊ก - ศิริพร อยู่ยอด ร่วมร้องด้วย โดยโอมวางอารมณ์เพลงให้คล้ายกับเพลง "หมดห่วง" ของตั๊ก ที่โอมเคยนำไปร้องขณะใส่หน้ากากหอยนางรมใน The Mask Singer หน้ากากนักร้อง (ฤดูกาลที่ 2)[13] และในเดือนธันวาคม โอมได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในอัลบั้ม "ซัน แอนด์ มูน" ซึ่งเป็นอัลบั้มที่นำศิลปินในสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และสังกัดช่องวัน 31 มาร้องเพลงร่วมกันจำนวน 5 เพลง โดยส่วนของโอมนั้นเผยแพร่เพลง "How Are You" ซึ่งมี หนูนา - หนึ่งธิดา โสภณ ร่วมร้องด้วย[14] และเพลงนี้ถือเป็นเพลงสุดท้ายที่วงค็อกเทลผลิตในค่ายเพลงจีนี่ เรคคอร์ด ก่อนที่วงจะย้ายสังกัดมายังยีนแล็บที่โอมเป็นผู้บริหารค่ายในปีถัดมา

อัลบั้ม เฟตแอลฟา และ เฟตโอเมกา (พ.ศ. 2564–2566)

Thumb
ค็อกเทล ขณะแสดงสดในงาน MRT Music Journey ในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2566 ณ สถานีสวนจตุจักร

การยุบวง (พ.ศ. 2567–2568)

เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2567 โอมได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า วงค็อกเทลจะยุบวงภายในปี พ.ศ. 2568 และโอมจะยุติการเป็นนักร้องในคราวเดียวกัน โดยได้มีการเตรียมตัวในการยุบวงมาก่อนหน้านั้นแล้วเป็นเวลาหลายปี เช่น การจัดเตรียมกองทุนของวง การจัดสรรผลประโยชน์ต่าง ๆ รวมถึงสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และการแถลงยุบวงนี้ได้แถลงล่วงหน้าเป็นระยะเวลา 2 ปี เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมในการอำลาแฟนเพลง

ในแถลงการณ์ฉบับเดียวกันได้มีการประกาศเส้นเวลากิจกรรมก่อนยุบวงเบื้องต้นว่าในปี พ.ศ. 2567 จะมีการจัดคอนเสิร์ตพิเศษในเดือนพฤษภาคม และจะขึ้นแสดงในงานจ้างที่รับไว้ รวมถึงเทศกาลดนตรีต่าง ๆ เป็นปีสุดท้าย จากนั้นในปี พ.ศ. 2568 ค็อกเทลจะจัดคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งสุดท้ายและทัวร์คอนเสิร์ตอำลาแฟนเพลงทั่วประเทศ[15] ก่อนที่ต่อมาจะประกาศรายละเอียดเส้นเวลาของกิจกรรมทั้งหมดเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567[16] และต่อมามีการประกาศกำหนดการออกมาดังนี้

  • คอนเสิร์ตประจำที่รูปแบบพบปะทักทายแบบโต้ตอบในชื่อ "ค็อกเทล ข้อสอบ" โดยให้แฟนเพลงร่วมกันทำข้อสอบเพื่อออกแบบรายชื่อเพลงให้วงเล่นโดยไม่ซ้ำกันในแต่ละรอบ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 4, 5, 9–12, 16–19, 23–26, 30 และ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ณ ลิโด้ คอนเน็คท์[17]
  • สตูดิโออัลบั้ม "ยัวส์เอเวอร์" อัลบั้มชุดที่ 9 และชุดสุดท้ายของวง โดยเป็นอัลบั้มเดียวที่วงผลิตภายใต้บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด (มหาชน) ที่แยกออกมาจากจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ โดยอยู่ภายใต้สังกัดยีนแล็บตามเดิม และมีสมาชิกวงทั้งหมด 6 คน โดยมีสมาชิกที่เพิ่มเข้ามาคือ วิวัฒน์ สว่างวรรณรัตน์ ในตำแหน่งกีตาร์ริทึ่ม และชรัณ ตัณฑนันทน์ ในตำแหน่งเปียโน ซึ่งเล่นแบ็กอัปให้กับวงอยู่แต่เดิม มีเพลงทั้งหมด 11 เพลง แบ่งเป็นเพลงใหม่ 7 เพลง และเพลงที่ยังมิได้บรรจุในอัลบั้มใด ๆ อีก 4 เพลง โดยเผยแพร่อัลบั้มเต็มเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2567[18] และมีกิจกรรมเปิดอัลบั้มเป็นนิทรรศการ COCKTAIL, YOURS EVER, LIFETIME EXHIBITION จัดขึ้นในช่วงวันที่ 1–21 กันยายน พ.ศ. 2567 ที่ RCB Galleria 1 และ 2 ชั้น 2 ริเวอร์ซิตี[19]

ต่อมาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2567 วงค็อกเทลได้ประกาศชื่อคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งสุดท้ายว่า "ค็อกเทล เอเวอร์ ไลฟ์" และกำหนดจัดขึ้นที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน เดิมกำหนดในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2568 เพียง 1 รอบ[20] แต่เนื่องจากบัตรถูกจำหน่ายหมดอย่างรวดเร็ว จึงเพิ่มรอบอีก 1 รอบในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2568[21]

ต่อมาเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2568 วงค็อกเทลได้ประกาศว่า หลังเสร็จสิ้นคอนเสิร์ตใหญ่แล้ว วงค็อกเทลจะจัดคอนเสิร์ตทัวร์เพื่อเดินสายอำลาแฟนเพลงในจังหวัดของประเทศไทยทั้ง 77 จังหวัด ในชื่อว่า "ค็อกเทล 77 เอเวอร์ ทัวร์"[22] และสองวันถัดมา (5 มีนาคม) ได้ประกาศว่าจะเริ่มการทัวร์คอนเสิร์ตที่จังหวัดสงขลาในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2568 และสิ้นสุดที่กรุงเทพมหานครในวันที่ 24 ธันวาคม จึงถือว่าวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2568 เป็นวันยุบวงค็อกเทลไปโดยปริยาย รวมระยะเวลาดำเนินกิจกรรมในนามวงค็อกเทลทั้งหมด 23 ปีถ้วน[23]

Remove ads

สมาชิก

ปีที่สมาชิกเข้าหรือออกจากวงประมาณการจากปีที่มีการจำหน่ายอัลบั้ม

เส้นเวลา
Remove ads

ผลงาน

สรุป
มุมมอง
Thumb
อัลบั้ม เฟท แอลฟา (Fate αlpha) และ เฟท โอเมกา (Fate Ωmega)

อัลบั้ม

คอนเสิร์ต

ค็อกเทล ข้อสอบ

ข้อมูลเบื้องต้น สถานที่จัด, วันเริ่มต้นการแสดง ...

ลีโอ พรีเซนทส์ "ค็อกเทล ข้อสอบ" แอน อินเตอร์แอคทีฟ มีทแอนด์กรีด คอนเสิร์ต (อังกฤษ: LEO presents "COCKTAILข้อสอบ" An Interactive Meet and Greet Concert) เป็นคอนเสิร์ตลำดับที่ 4 ของวงค็อกเทล ในรูปแบบคอนเสิร์ตประจำที่ (Residency) ที่ให้คนดูของแต่ละรอบเลือกเพลงของวงค็อกเทลที่แต่ละคนต้องการฟังทั้งหมด 6 หมวดหมู่ โดยใช้รูปแบบเดียวกับการทำข้อสอบ และนำมาประมวลผลเป็นรายชื่อเพลงที่คนดูต้องการฟังมากที่สุดในแต่ละรอบ ทำให้แต่ละรอบจะมีรายชื่อเพลงที่ไม่ซ้ำกัน จัดขึ้นทั้งหมด 16 รอบ ในวันที่ 4, 5, 9–12, 16–19, 23–26, 30 และ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ที่ฮอลล์ 2 ลิโด้ คอนเน็คท์ เริ่มเปิดจำหน่ายบัตรทั่วประเทศในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2567 โดยบัตรการแสดงถูกจำหน่ายหมดทุกที่นั่งทุกรอบการแสดง[25][17]

แขกรับเชิญ

ค็อกเทล เอเวอร์ ไลฟ์

ค็อกเทล 77 เอเวอร์ ทัวร์

Remove ads

รางวัล

ข้อมูลเพิ่มเติม ปี, รางวัล ...

อ้างอิง

Loading content...
Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Remove ads