คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
ฉบับร่าง:ภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
ภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ (เกิด 5 ธันวาคม พ.ศ. 2533) ชื่อเล่น ตี๋ เป็นนักการเมืองชาวไทย เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ และรองโฆษกพรรคประชาชน
ฉบับร่างนี้ถูกตีกลับ เมื่อ 8 พฤษภาคม 2568 โดย Sry85 (คุย) เขียนเนื้อหาออกแนวชื่นชมหรือเป็นแท่นหาเสียงของนักการเมือง เข้าข่ายเขียนไม่เป็นกลาง
ขอความช่วยเหลือ
วิธีปรับปรุงบทความของคุณ
คุณยังสามารถดู วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร และ วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ เพื่อค้นหาตัวอย่างบทความที่ดีที่สุดของวิกิพีเดียในหัวข้อที่คล้ายกับบทความที่คุณแจ้งทบทวน ทรัพยากรการแก้ไข
| ![]() |
![]() | นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ วรุฒ หิ่มสาใจ (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 3 วินาทีก่อน (ล้างแคช) |
Remove ads
Remove ads
ประวัติ
ภัทรพงษ์ เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2533 ที่จังหวัดเชียงใหม่
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และระดับปริญญาโท วิศวกรรมศาสตร์ สาขาโครงสร้าง ในหลักสูตรร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยเอดินบะระ และมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ ที่ประเทศสกอตแลนด์ หลังจากนั้นได้ประกอบอาชีพวิศวกร ทำงานในบริษัทเอกชน และดำเนินธุรกิจส่วนตัวอยู่พักหนึ่ง ก่อนจะหันไปทำงานด้านการเมืองในเวลาต่อมา[1]
Remove ads
งานการเมือง
สรุป
มุมมอง
พ.ศ. 2562 ภัทรพงษ์เริ่มต้นทำงานการเมืองในระดับท้องถิ่นกับพรรคเพื่อไทยก่อน ผ่านมาหนึ่งปีเขาจึงลาออกจากพรรค โดยเหตุผลคือในระหว่างที่ทำงานนั้น เขายังไม่ได้จับประเด็นเชิงนโยบายที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้สังคมได้อย่างแท้จริง กลับเป็นเรื่องสร้างเครือข่ายการเมืองเพียงอย่างเดียว และในช่วงปลายปี พ.ศ. 2563 เขาได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคก้าวไกล และได้รับเลือกให้เป็นว่าที่ผู้สมัครของจังหวัดเชียงใหม่ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564[1]
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ภัทรพงษ์ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 8[2] เป็นสมัยแรก หลังจากนั้นในการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 ที่นำโดยนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ภัทรพงษ์มีบทบาทในสภาในการอภิปรายนโยบายต่างๆ ซึ่งได้รับคำชมจาก ปิยบุตร แสงกนกกุล อดีตเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ว่าเป็น 1 ใน 5 สส. ของพรรคก้าวไกลที่อภิปรายได้ดี
เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2567 พรรคก้าวไกลได้เปิดตัวทีมก้าวไกลสู้ไฟป่า โดยภัทรพงษ์ได้เป็นหนึ่งในทีม[3] และได้ช่วยอาสาสมัครจัดทำแนวกันไฟ เพื่อเป็นแนวตั้งรับในการดับไฟป่า รวมถึงลดความรุนแรงของไฟป่า ที่ตำบลป่าสัก อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน[4]
ผลงานสำคัญของภัทรพงษ์คือ การอภิปรายเกี่ยวกับมลภาวะทางอากาศของภาคเหนือ เช่น ปัญหาฝุ่นควันในภาคเหนือของประเทศไทย โดยเสนอแนะวิธีแก้ปัญหา และกระตุ้นให้นายกรัฐมนตรีแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน
ภัทรพงษ์กล่าวว่า เคยเสนอโมเดล ‘ตึก 5 ชั้น’ ในการอภิปรายนโยบายรัฐบาลตั้งแต่สมัยอดีตนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน[5] พร้อมข้อเสนอแนะ Action Plan ตามช่วงเวลาอย่างชัดเจนในการเตรียมพร้อมรับมือเพื่อแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ต้นตอ แบ่งเป็น 5 ด้าน ดังนี้[6]
- ด้านสาธารณสุข รัฐต้องจัดให้มีสวัสดิการตรวจมะเร็งปอดและโรคทางเดินหายใจแบบถ้วนหน้าให้ประชาชนในพื้นที่ที่เจอวิกฤตฝุ่นควันมาอย่างต่อเนื่อง
- การจัดการการเผาทางการเกษตรทั้งในและนอกประเทศ โดยเฉพาะการออกประกาศห้ามนำเข้าสินค้าที่มีที่มาจากการเผาทุกชนิด
- การบริหารจัดการไฟป่า วางแผนเฉพาะเจาะจงกับพื้นที่ไฟป่าขนาดใหญ่และไฟป่าซ้ำซากเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนเจ้าหน้าที่และงบประมาณ
- การจัดเก็บข้อมูลที่สามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์และแจ้งเตือนค่า PM2.5 ให้กับประชาชน
- การกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นเป็นผู้นำในการบริหารจัดการพื้นที่
และเหตุการณ์ไฟไหม้ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาเสียดอ้า ตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ภัทรพงษ์ได้ติดตามเหตุการณ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งการไฟไหม้ครั้งนั้นกินเวลาตั้งแต่ 3 มกราคม พ.ศ. 2568 จนกระทั่ง 11 มกราคมก็ยังไม่สามารถดับไฟป่าได้ ภัทรพงษ์กล่าวไว้ว่า ปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งคืองบประมาณดับไฟป่านั้น ถูกไม่ให้ความสำคัญ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลพญาเย็นนั้น ไม่ได้รับงบประมาณในด้านไฟป่าเลยแม้แต่บาทเดียว โดยมีเพียงแค่โครงการอบรมป้องกันไฟป่า 10,000 บาท และงบกลางสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินภัยพิบัติ 200,000 บาทเท่านั้น[7]
และในการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2568 ภัทรพงษ์ได้อภิปรายเกี่ยวกับปัญหาฝุ่นและมลพิษทางภาคเหนือ ซึ่งได้โจมตีถึงการไม่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาเรื่องมลภาวะทางอากาศ โดยส่วนหนึ่งของอภิปรายนั้นคือ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เคยพูดเองว่า “ไม่ใช่เรื่องเซอร์ไพรส์ รู้อยู่แล้วว่าฝุ่นจะมา ทำการบ้านตั้งแต่ก่อนรับตำแหน่ง” ตนจึงชี้ให้เห็นว่า “การบ้าน” ที่นายกฯ บอกว่าทำนั้น เดิมพันด้วยปอดและชีวิตของประชาชน แต่นายกฯ กลับทำอย่างชุ่ยๆ ไม่ได้ถอดบทเรียนจากอดีตรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน แม้แต่น้อย[8] ซึ่งจนจบการอภิปรายนั้น ไม่มีใครยกมือประท้วงการอภิปรายของเขาเลยแม้แต่คนเดียว
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ
Remove ads
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads