Remove ads

จัง จริงจิตร (23 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2497) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง (ส.ส.ตรัง) คนแรก[1][2][3]

ข้อมูลเบื้องต้น จัง จริงจิตร, ข้อมูลส่วนบุคคล ...
จัง จริงจิตร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 กรกฎาคม พ.ศ. 2440
อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ประเทศสยาม
เสียชีวิต9 ธันวาคม พ.ศ. 2497 (57 ปี)
ปิด
Remove ads

ประวัติ

เกิดเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 ที่ตำบลโคกขัน อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เป็นบุตรชายของนายหงวน และนางพริ้ม จริงจิตร

Remove ads

การศึกษาและการทำงาน

นายจังจบการศึกษาที่โรงเรียนตรังคภูมิ และเข้าศึกษาต่อระดับมัธยม ณ โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำมณฑล จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และสอบได้ประโยคครูมูล (ครู ป.) จากนั้นจึงเข้ารับราชการเป็นครูระดับชั้นจัตวา เมื่อปี พ.ศ. 2458 ณ โรงเรียนตรังคภูมิ โรงเรียนเดิมที่เคยศึกษา จากนั้นเมื่อมีการย้ายเมืองไปตั้งใหม่ที่ตำบลทับเที่ยง จังจึงไปเป็นครูในโรงเรียนวิเชียรมาตุ ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดแห่งใหม่ ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนฝึกหัดครูวัดบวรนิเวศอีก 1 ปี สอบไล่ได้ประโยคครูประถม และในปี พ.ศ. 2467 ได้เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สอบไล่ได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 (ม.ศ.7)

จากนั้นได้ไปสอนที่โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2469 และย้ายกลับไปสอนที่โรงเรียนวิเชียรมาตุในปีเดียวกันเพราะเป็นห่วงครอบครัว จากนั้นในปี พ.ศ. 2476 ได้รับการแต่งตั้งจากกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ ในปัจจุบัน) ได้เป็นธรรมการ (ศึกษาธิการ ในปัจจุบัน) อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่

นายจัง จริงจิตร เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีของชาวจังหวัดตรังในชื่อ "ครูจัง" และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง คนแรก จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งทางอ้อม และเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกในประเทศไทย[4]

โดยในการเลือกตั้งครั้งนั้น จังได้มีผู้ช่วยหาเสียงคนสำคัญ คือ นางสาวกิมถ้วน จูห้อง (ถ้วน หลีกภัย ในเวลาต่อมา) ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานสาว หลังเลือกตั้งจังก็ได้ตอบแทน น.ส.กิมถ้วน ด้วยการหาตลาดขายค้าหมากพลูส่งไปยังปีนัง ตามที่ น.ส.กิมถ้วน ร้องขอ[5]

Remove ads

ด้านครอบครัว

ด้านชีวิตครอบครัว จังได้สมรสกับ นางกี่ จริงจิตร (นามสกุลเดิม: เซ่งยี่) มีบุตรธิดารวมกันทั้งหมด 5 คน

Remove ads

ถึงแก่อนิจกรรม

ภายหลังจากการสิ้นสุดการเป็น ส.ส. แล้ว นายจังก็กลับไปรับราชการเป็นครูตามเดิม โดยใช้ชีวิตอย่างสมถะ และถึงแก่กรรมลงเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2497 สิริอายุได้ 57 ปี[3]

Remove ads

อ้างอิง

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.

Remove ads