เทือกเขาฆาฏตะวันตก
เทือกเขา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทือกเขา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฆาฏตะวันตก (อังกฤษ: Western Ghats; ฮินดี: पश्चिमी घाट) เป็นเทือกเขาที่พาดขนานไปกับชายฝั่งทิศตะวันตกของคาบสมุทรอินเดีย โดยอยู่ในประเทศอินเดียโดยทั้งหมด ได้รับการบรรจุอยู่ในมรดกโลกของยูเนสโก และเป็นหนึ่งในแปด "พื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงที่สุด" ของโลก[1][2] บางครั้งเรียกผาใหญ่แห่งอินเดีย[3] เทือกเขาพาดผ่านจากเหนือไปใต้ควบคู่ไปกับขอบปลายทางตะวันตกของที่ราบสูงเดกกัน และแยกจากที่ราบสูงโดยที่ราบชายขอบแคบ ๆ เรียกว่า กอนกัน และเรียบไปกับทะเลอาหรับ ยังเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และป่าสงวน 39 แห่ง ที่บรรจุอยู่ในรายชื่อมรดกโลก โดยมี 21 แห่งในรัฐเกรละ, 10 แห่งในรัฐกรณาฏกะ, 5 แห่งในรัฐทมิฬนาฑู และ 4 แห่งในรัฐมหาราษฏระ[4][5]
ฆาฏตะวันตก | |
---|---|
Sahyadri | |
เทือกเขาฆาฏตะวันตก มองจากเมือง Gobichettipalayam รัฐทมิฬนาฑู | |
จุดสูงสุด | |
ยอด | Anamudi, รัฐเกรละ (Eravikulam National Park) |
ความสูง เหนือระดับน้ำทะเล | 2,695 เมตร (8,842 ฟุต) |
พิกัด | 10°10′N 77°04′E |
ข้อมูลเชิงขนาด | |
ยาว | 1,600 กม. (994 ไมล์) เหนือ–ใต้ |
กว้าง | 100 กม. (62 ไมล์) ตะวันออก–ตะวันตก |
พื้นที่ | Invalid unit |
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ | |
ประเทศ | อินเดีย |
รัฐ | |
ภาค | ภาคตะวันตกของประเทศอินเดีย และ ภาคใต้ของประเทศอินเดีย |
เมือง | |
ชีวนิเวศ | Tropical and subtropical moist broadleaf forests |
ข้อมูลทางธรณีวิทยา | |
อายุหิน | ซีโนโซอิก |
ประเภทหิน | หินบะซอลต์, ศิลาแลง และ หินปูน |
เกณฑ์พิจารณา | Natural: ix, x |
อ้างอิง | 1342 |
ขึ้นทะเบียน | 2012 (สมัยที่ 36th) |
พื้นที่ | 795,315 ha |
เทือกเขาเริ่มต้นใกล้เมืองโสนคาธในรัฐคุชราตทางใต้ของแม่น้ำตาปตีและมีความยาวราว 1,600 km (990 mi) โดยพาดผ่านรัฐมหาราษฏระ รัฐกัว รัฐกรณาฏกะ รัฐเกรละ และรัฐทมิฬนาฑู สิ้นสุดที่มรุนธุวัซห์มาลัยที่สวามิโทปใกล้ปลายทางใต้ของอินเดีย เทือกเขาเหล่านี้ครอบคลุมพื้นที่ 160,000 km2 (62,000 sq mi) และมีพื้นที่รองรับน้ำของธารน้ำเป็นเกือบร้อยละ 40 ของอินเดีย ฆาฏตะวันตกยังช่วยสกัดกั้นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ให้เข้าถึงที่ราบสูงเดกกันได้[6] ความสูงโดยเฉลี่ยคือ 1,200 m (3,900 ft)[7]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.