ความเข้มของการส่องสว่าง (อังกฤษ: luminous intensity) เป็นปริมาณทางกายภาพที่ใช้ในการวัดแสง โดยแสดงถึงปริมาณของแสงที่ปล่อยออกมาในทิศทางหนึ่งจากแหล่งกำเนิดแสงที่มีลักษณะเป็นจุด ซึ่งแสดงเป็นอนุพันธ์ของฟลักซ์ส่องสว่างต่อมุมตันรอบแหล่งกำเนิดลำแสง
ความเข้มของการส่องสว่าง | |
---|---|
สัญลักษณ์ทั่วไป | I, Iv |
หน่วยเอสไอ | แคนเดลา (cd) |
มิติ | J |
ความเข้มของการส่องสว่างเป็นหนึ่งในปริมาณทางฟิสิกส์ที่มนุษย์รับรู้ได้ ความเข้มของการส่องสว่างถูกจัดให้เป็นหนึ่งในปริมาณพื้นฐาน มิติของความเข้มของการส่องสว่างแทนด้วย J ในระบบหน่วยเอสไอได้กำหนดให้แคนเดลา (สัญลักษณ์: cd) เป็นหน่วยของความเข้มของการส่องสว่าง
พื้นหลัง
ความเข้มของการส่องสว่างเป็นคำจำกัดความเชิงปริมาณของความสว่างของแสงที่มนุษย์รับรู้ ดังนั้น คำจำกัดความของความเข้มของการส่องสว่างจึงสะท้อนถึงลักษณะของการมองเห็นของมนุษย์
แสงที่มนุษย์มองเห็นเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ชนิดหนึ่ง มนุษย์สามารถรับรู้แสงผ่านจอตาในลูกตา เซลล์รูปกรวย และ เซลล์รูปแท่ง ในเรตินาประกอบด้วย โปรตีน ที่เรียกว่าโฟตอปซินและโรดอปซิน ตามลำดับ และการมองเห็นเกิดขึ้นเมื่อโปรตีนเหล่านี้ได้รับแสงที่มีความยาวคลื่นเฉพาะ
ความเข้มของแสงในฐานะคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (พลังงานของแสง) ถูกกำหนดโดยแอมพลิจูดของมัน แต่ในทางกลับกัน ความสว่างที่มนุษย์รับรู้นั้นไม่ได้แปรผันโดยตรงกับความเข้มของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เนื่องจากเซลล์รับแสงที่ประกอบกันเป็นเรตินาของมนุษย์จะตอบสนองต่อแสงที่มีความยาวคลื่นเฉพาะ (ช่วงที่มองเห็นได้) เท่านั้น มนุษย์จึงไม่สามารถรับรู้ความสว่างของแสงที่มีความยาวคลื่นในช่วงที่มองไม่เห็น เช่น รังสีอินฟราเรด และ รังสีอัลตราไวโอเลต เนื่องจากลักษณะเฉพาะของการมองเห็นของมนุษย์ วิธีที่เรารับรู้ความสว่างจึงไม่เพียงขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับความยาวคลื่นด้วย
คำนิยาม
ถ้าให้ ω เป็นมุมตันบนพื้นผิว S ที่ล้อมรอบจุดกำเนิดแสง เมื่อฟลักซ์ส่องสว่างทะลุผ่านพื้นผิว S เป็น Φ แล้วความเข้มของการส่องสว่างไปยังทิศทางหนึ่งในมุมตันขนาดเล็ก dω คือ[1]
และจะได้ว่า
ถ้าให้ค่ามุมจากจุดจอมฟ้า เป็น θ และมุมทิศ เป็น φ แล้ว จะได้ว่า[1]
เราอาจนิยามความเข้มของการส่องสว่างของการแผ่รังสีได้จากค่าความเข้มของการแผ่รังสีโดยถ่วงน้ำหนักด้วยค่าประสิทธิภาพการส่องสว่างตามแต่ละช่วงความยาวคลื่นของฟลักซ์การแผ่รังสี ถ้าความเข้มของการแผ่รังสีสเปกตรัมที่ความยาวคลื่น λ เป็น Ie,λ และให้ K(λ) เป็นประสิทธิภาพการส่องสว่างของแต่ละช่วงคลื่นแล้ว ความเข้มของการส่องสว่างจะคำนวณได้โดย
หรืออาจนิยามจากค่าอัตราส่วนของประสิทธิภาพการส่องสว่าง V=K/Km เทียบกับประสิทธิภาพการส่องสว่างสูงสุด Km เป็น[1]
การมองเห็นซึ่งแสดงถึงความรู้สึกของมนุษย์นั้นแตกต่างกันไปในแต่ละคน และแม้แต่บุคคลคนเดียวกันก็เปลี่ยนไปตามสภาพร่างกายขณะนั้น ดังนั้นในการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยน้ำหนักและการวัด (CGPM) ครั้งที่ 16 ในปี 1979 จึงมีการกำหนดประสิทธิภาพการส่องสว่างสัมพัทธ์มาตรฐานสำหรับประสิทธิภาพการส่องสว่างสูงสุดไว้
อ้างอิง
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.