คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (อังกฤษ: Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University) เป็นคณะวิชาลำดับที่ 4 ของ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2499
ข้อมูลเบื้องต้น สถาปนา, คณบดี ...
คณะมัณฑนศิลป์
มหาวิทยาลัยศิลปากรFaculty of Decorative Arts, Silpakorn University |
|
สถาปนา | 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 (68 ปี) |
---|
คณบดี | อาจารย์ ดร. ธนาทร เจียรกุล |
---|
ที่อยู่ | คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เลขที่ 31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ เลขที่ 6 ถนนราชมรรคาใน ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000 |
---|
วารสาร | วารสารวิชาการศิลปะและการออกแบบ |
---|
สี | สีเสน[1] |
---|
มาสคอต | ตราดอกจอก |
---|
เว็บไซต์ | decorate.su.ac.th |
---|
ปิด
เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 คณะมัณฑนศิลป์ ได้ถือกำเนิดขึ้น ด้วยดำริของ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี และดำเนินการเปิดสอนในสาขาวิชาศิลปตกแต่ง (Decorative Arts) ในปีการศึกษานั้น โดย ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) ได้บัญญัติชื่อภาษาไทยว่า "คณะมัณฑนะศิลป์" แต่ต่อมาใน พ.ศ. 2517 ได้มีการดำเนินการปรับแก้ให้ถูกต้องกับภาษาเขียนเป็น "คณะมัณฑนศิลป์" และศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้จัดสร้างหลักสูตรสาขาวิชาศิลปตกแต่ง 4 ปี (อนุปริญญา 3 ปี ปริญญาตรี 4 ปี) มีศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี รักษาการในตำแหน่งคณบดี และ หลวงวิเชียร แพทยาคม (อธิบดีกรม กรมศิลปากร ในเวลานั้น) รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ มหาวิทยาลัยศิลปากร (เทียบเท่าอธิการบดีมหาวิทยาลัย)
ระหว่าง พ.ศ. 2499–2516 คณะมัณฑนศิลป์ จัดการศึกษาเพียงสาขาวิชาเดียว คือ สาขาวิชาศิลปตกแต่ง แต่ในเวลานั้น เรียกชื่อว่าสาขาวิชามัณฑนศิลป์ ตามชื่อคณะวิชา โดยแบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ อนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี และระดับปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิอนุปริญญาศิลปบัณฑิต (มัณฑนศิลป์) หรือปริญญาศิลปบัณฑิต (มัณฑนศิลป์) ตามลำดับ
ต่อมาใน พ.ศ. 2517–2544 คณะฯ ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างหลักสูตร เป็นการจัดการศึกษาเฉพาะระดับปริญญาตรี ไม่มีระดับอนุปริญญา พร้อมทั้งขยายสาขาวิชาเพิ่มขึ้น
ปัจจุบัน คณะมัณฑนศิลป์ เปิดสอนเพื่อผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี 7 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการออกแบบภายใน สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ สาขาวิชาประยุกตศิลปศึกษา สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ และสาขาวิชาออกแบบเครื่องแต่งกาย และเพื่อเป็นการส่งเสริมการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น คณะฯ ได้เปิดสอนระดับปริญญาโท 3 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ
- สำนักงานคณบดี
- ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน
- ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์
- ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์
- ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา
- ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา
- ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ
- ภาควิชาการออกแบบเครื่องแต่งกาย
ข้อมูลเพิ่มเติม ปริญญาตรี, ปริญญาโท ...
ปริญญาตรี |
ปริญญาโท |
ปริญญาเอก |
หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.)
- สาขาวิชาการออกแบบภายใน
- สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์
- สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์
- สาขาวิชาประยุกต์ศิลปศึกษา
- สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา
- สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ
- สาขาวิชาออกแบบเครื่องแต่งกาย
|
หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.)
- สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ
- สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์
- สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ
- สาขาวิชาการออกแบบ
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ (หลักสูตรนานาชาติ)
- สาขาวิชาการออกแบบ
- สาขาวิชาศิลปะการออกแบบเชิงวัฒนธรรม
|
ปิด
ข้อมูลเพิ่มเติม รายพระนามและรายนามคณบดีคณะมัณฑนศิลป์, ลำดับ ...
รายพระนามและรายนามคณบดีคณะมัณฑนศิลป์ |
ลำดับ |
คณบดี |
วาระการดำรงตำแหน่ง |
1 |
ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี |
พ.ศ. 2499 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2501 |
2 |
หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร |
1 กันยายน พ.ศ. 2501 – 30 สิงหาคม พ.ศ. 2505[2] |
3 |
ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ |
1 กันยายน พ.ศ. 2505 – 30 กันยายน พ.ศ. 2514 |
4 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์พูนสวาท กฤดากร |
รักษาราชการแทนคณบดี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2514 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2515[3] รักษาราชการแทนคณบดี 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 – 12 เมษายน พ.ศ. 2519[4] |
5 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เสริมศักดิ์ นาคบัว |
13 เมษายน พ.ศ. 2519 – 12 เมษายน พ.ศ. 2523[5] |
6 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เอนก วีรเวชชพิสัย |
13 เมษายน พ.ศ. 2523 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2525 (ลาออก)[6] |
7 |
อาจารย์ พรรณเพ็ญ ฉายปรีชา |
รักษาราชการแทนคณบดี 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 – 7 มกราคม พ.ศ. 2526[7] 8 มกราคม พ.ศ. 2530 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2531 (ลาออก)[8] |
8 |
อาจารย์ จักร ศิริพานิช |
8 มกราคม พ.ศ. 2526 – 7 มกราคม พ.ศ. 2530[9] |
9 |
อาจารย์ นิรันดร์ ไกรฤกษ์ |
8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 – 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 |
10 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พงษ์ศักดิ์ อารยางกูร |
8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 – 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540[10] 5 มีนาคม พ.ศ. 2544 – 4 มีนาคม พ.ศ. 2548[11] รักษาราชการแทนคณบดี 5 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 9 มีนาคม พ.ศ. 2548[12] |
11 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธีระ ปาลเปรม |
5 มีนาคม พ.ศ. 2540 – 4 มีนาคม พ.ศ. 2544[13] |
12 |
อาจารย์ วัฒนพันธุ์ ครุฑะเสน |
110 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551[14] รักษาการ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551 – 8 ตุลาคม พ.ศ. 2551[15] |
13 |
รองศาสตราจารย์ เอกชาติ จันอุไรรัตน์ |
9 ตุลาคม พ.ศ. 2551 – 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555[16] |
14 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เอกพงษ์ ตรีตรง |
9 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559[17] |
15 |
อาจารย์ ดร. ธนาทร เจียรกุล |
9 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน[18] |
ปิด
- หมายเหตุ ตำแหน่งทางวิชาการในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น
- กรกต อารมย์ดี ศิลปินและนักออกแบบ เจ้าของแบรนด์ KORAKOT INTERNATIONAL LIMITED PARTNERSHIP.
- กฤตธีรา อินพรวิจิตร (เข็ม ตีสิบ) เป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ ทำงานศิลปะ เขียนหนังสือ
- กวี ลักษณะสกุลชัย สไตลิสท์ชื่อดังจากนิตยสาร "แพรว"
- คงรัฐ สุนทรโรจน์พัฒนา มัณฑนากร และอาจารย์ประจำ คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต
- คณิต เสตะรุจิ มัณฑนากร และหนึ่งในนักออกแบบยอดเยี่ยมแห่งปี 2004
- คมภิญญ์ เข็มกำเนิด ผู้กำกับภาพยนตร์แอนิเมชัน "ก้านกล้วย"
- คาริญญ์ยวัฒ ดุรงค์จิรกานต์ นักร้องนำวง Slot Machine
- จรูญ อังศวานนท์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์) ประจำ พ.ศ. 2557
- จิดาภา แช่มช้อย (แพนด้า BNK48) สมาชิกวง บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต (BNK48) รุ่นที่ 2 เค็งกีวเซ (Kenkyūsei)
- ชัยพร พานิชรุทติวงศ์ แอะนิเมเทอร์ "ปังปอนด์ ดิ แอนิเมชั่น"
- ชัยยศ อิษฏ์วรพันธุ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและศิลปะ (ปัจจุบันเป็นอาจารย์ที่ภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร)
- ชัยยุทธ์ พลายเพ็ชร นักออกแบบ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Propaganda
- ชยานนท์ เครือเอี่ยม มือกลองวง The Jukks
- ชญานิษฐ์ ชาญสง่าเวช นักแสดงค่ายนาดาวบางกอก
- ชูเกียรติ ลิขิตปัญญารัตน์ Design Director–Brandcreate นักศึกษาเก่าดีเด่นประจำปี 2554 ประเภทผู้ส่งเสริมการศึกษาวิชาการ
- เชาวเลข สร่างทุกข์ ผู้ร่วมก่อตั้งและหุ้นส่วนค่ายเพลง Smallroom
- ทรงศีล ทิวสมบุญ นักเขียนการ์ตูน (ถั่วงอกและหัวไฟ)
- ทิววัฒน์ ภัทรกุลวณิชย์ นักเขียนการ์ตูน นักเขียนภาพประกอบ (หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, BANGKOK POST, นิตยสารพลอยแกมเพชร, IMAGE MAGAZINE)
- ทีปกร แย้มกสิกร มัณฑนากร
- ธนาวัฒน์ สุขัคคานนท์ มัณฑนากร และเลขาธิการสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย (กรรมการผู้จัดการบริษัท INTERIOR VISION)
- ธัชมาพรรณ จันทร์จำรัสแสง "Pomme Chan" นักวาดภาพประกอบแถวหน้าของอังกฤษ
- ธีรวัลย์ วรรธโนทัย คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- นนทรีย์ นิมิบุตร ผู้กำกับภาพยนตร์
- นันทิรัตน์ สุวรรณเกต แฟชั่นดีไซน์เนอร์ (เจ้าของแบรนด์ Koi Suwanagate) เป็น 1 ใน 10 นักออกแบบหน้าใหม่ที่น่าจับตามองประจำปี 2009 จาก CFDA
- บรรณนาท ไชยพาน มัณฑนากร และอาจารย์พิเศษ คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต
- บุญเสริม เปรมธาดา สถาปนิก รางวัลชนะเลิศ The ar+d Awards for Emerging Architecture 2011 ของประเทศอังกฤษ จากการออกแบบ สถาบันกันตนา
- พงษ์สรวง คุณประสพ ศิษย์เก่ายอดเยี่ยม
- ไพโรจน์ ธีระประภา
- หม่อมหลวง ภาวิณี สันติสิริ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มาโนช กงกะนันทน์
- เหมือนฝัน ทรัพย์เอนก นักวาดภาพประกอบสำหรับเด็ก
- ยิ่งยง โอภากุล
- ยุทธเลิศ สิปปภาค ผู้กำกับภาพยนตร์
- ลักษมณ์ เตชะวันชัย นายกสมาคมแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกไทย (TACGA) คนแรก สองสมัย (พ.ศ. 2550 – 2554)
- วิฑูรย์ คุณาลังการ มัณฑนากร (ผู้ออกแบบโครงการโนเบิล รีมิกซ์และกลุ่มร้านเกรย์ฮาวด์)
- วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ผู้กำกับภาพยนตร์
- วิศุทธิ์ พรนิมิตร นักเขียนการ์ตูน (hesheit)
- สมชาย จงแสง มัณฑนากร (ศิลปิน รางวัลศิลปาธร ประจำปี 2552)
- สุทธิชาติ ศราภัยวานิช นักเขียนการ์ตูน (Joe the Sea–cret Agent)
- สุรเชษฐ์ เฑียรบุญเลิศรัตน์ แอะนิเมเทอร์ ปักษาวายุ
- สุวรรณ คงขุนเทียน มัณฑนากร และนักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ เจ้าของแบรนด์ดัง "โยธกา"
- อภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล ผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ TCDC
- ศาสตราจารย์ เอกชาติ จันอุไรรัตน์ อดีตคณบดีคณะมัณฑนศิลป์ ศาสตราจารย์สาขาวิชาการออกแบบภายใน
- อิษยา ฮอสุวรรณ นักแสดงสังกัด ช่อง 3 เอชดี
หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ ปรับปรุงมาจากห้องปฏิบัติงานปั้น สิ่งทอ และวิชาพื้นฐานศิลปะของคณะ ดำเนินการโดยคณะกรรมการหอศิลปะและการออกแบบ แล้วเสร็จในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2540 โดยมีวัตถุประสงค์หลักดังนี้
- จัดแสดงผลงานของอาจารย์ นักศึกษา คณะมัณฑนศิลป์
- เป็นศูนย์รวมการแสดงผลงาน และแลกเปลี่ยนทางวิชาการศิลปะและการออกแบบ
- เป็นศูนย์ข้อมูลทางศิลปะและการออกแบบ
- คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นคณะมัณฑนศิลป์แห่งเดียวในประเทศไทย
- คณะมัณฑนศิลป์ เดิมสะกดชื่อคณะว่า "คณะมัณฑนะศิลป์"
สรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560
คำสั่ง มศก. ที่ 21/2501 ลงวันที่ 5 กันยายน 2501
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 243/2514 ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2514
คำสั่งกองบัญชาการคณะปฏิวัติที่ 285/2515 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2515
คำสั่ง มศก. ที่ 144 /2519 ลงวันที่ 21 เมษายน 2519
คำสั่ง มศก. ที่ 253/2523 ลงวันที่ 14 เมษายน 2523
รายงานการประชุมสภา มศก.ครั้งที่ 5/2525 วันที่ 27 ตุลาคม 2525
คำสั่ง มศก.ที่ 1008/2529 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2529
คำสั่ง มศก. ที่ 22/2526 ลงวันที่ 10 มกราคม 2526
คำสั่ง มศก.ที่ 1174/2535 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2535
คำสั่ง มศก.ที่ 23/2544 ลงวันที่ 11 มกราคม 2544
คำสั่ง มศก.ที่ 301/2548 ลงวันที่ 7 มีนาคม 2548
คำสั่ง มศก.ที่ 213/2540 ลงวันที่ 4 มีนาคม 2540
คำสั่ง มศก.ที่ 319/2548 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2548
คำสั่ง มศก. ที่ 12671/2551 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2551
คำสั่ง มศก. ที่ 1731/2551 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2551
คำสั่ง มศก.ที่ 1476/2555 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2555
คำสั่ง มศก.ที่ 1354/2559 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2559