Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การอ้างผลที่ตามมา[1] (อังกฤษ: Appeal to consequences, argumentum ad consequentiam, คำละตินแปลว่า การให้เหตุผลโดยผลที่จะเกิดขึ้น) เป็นการให้เหตุผลที่สรุปว่าสมมติฐาน (ปกติจะเป็นความเชื่อ) เป็นจริงหรือไม่จริง โดยอาศัยเพียงว่าข้อตั้งจะให้ผลที่ตามมาอันน่าพึงใจหรือไม่น่าพึงใจ การให้เหตุผลเช่นนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของ การอ้างอารมณ์ (appeal to emotion) และเป็นเหตุผลวิบัติชนิดหนึ่ง เพราะความน่าพึงใจของผลไม่ได้ทำให้เหตุผลนั้นเป็นจริง นอกจากนั้นแล้ว เพราะจำแนกว่าผลนั้นน่าพึงใจหรือไม่น่าพึงใจ จึงมีมุมมองที่เป็นอัตวิสัยโดยธรรมชาติ คือเป็นจริงสำหรับบางบุคคลเท่านั้น (เทียบกับเหตุผลที่ควรจะเป็นปรวิสัย คือเป็นความจริงกับทุกๆ คน)
การให้เหตุผลที่อาศัยการอ้างผลที่ตามมาโดยทั่วไปจะมีสองรูปแบบ[2]
ดังนั้น จึงมีลักษณะคล้ายกับเหตุผลวิบัติโดย wishful thinking (การคิดตามความปรารถนา)
ในนิติศาสตร์ การให้เหตุผลโดยความไม่สะดวกหรือที่เรียกว่า argumentum ab inconvenienti เป็นการอ้างผลที่ตามมาซึ่งไม่จัดว่าวิบัติ เพราะเป็นการแสดงว่า การกระทำที่เสนอนั้นจะสร้างความยากลำบากเกินเหตุ ยกตัวอย่างเช่น ให้เหตุผลเช่นนี้เพื่อค้านกฎหมายที่บังคับผู้ให้กู้เงินแบบจำนองทรัพย์สิน ให้ต้องตรวจสอบว่าผู้ที่ต้องการยืมเงินมีสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นจริงๆ โดยสอบถามกับสำนักงานศาลทุกๆ แห่งทั่วประเทศ
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.