Loading AI tools
ภิกษุรูปสำคัญทางพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานในจีน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสวียนจั้ง (จีน: 玄奘; พินอิน: Xuánzàng; 6 เมษายน พ.ศ. 1145 – 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1207[1]) หรือที่รู้จักในนิยายไซอิ๋วว่า ถังซัมจั๋ง (จีน: 唐三藏) เป็นพระภิกษุที่บำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา มาแต่เยาว์ เมื่อเติบใหญ่ขึ้นจึงได้ออกเดินทาง โดยได้เขียนเป็นบันทึกการเดินทางไว้ด้วย ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 1183 (ค.ศ. 646) มีชื่อว่า "ต้าถังซีโหยวจี้" (大唐西游记) แปลว่า "จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง" โดยในนั้นเล่าถึงการเดินทางที่ไปพบปะกับภูมิประเทศที่แตกต่างออกไป สภาพผู้คน วัฒนธรรมที่หลากหลาย น่าสนใจ รวมไปถึงการทหารและการเมืองการปกครอง โดยการเดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาและศาสตร์ความรู้ต่างๆที่ทวีปอินเดีย เมื่อเดินทางกลับมาประเทศจีน ได้นำพระสูตรทั้งมหายานและเถรวาทกลับมาด้วยกว่า 600 ม้วน เพื่อกลับมาแปลเป็นภาษาจีน
เสวียนจั้ง (พระถังซัมจั๋ง) | |
---|---|
ภาพของเสวียนจั้ง ของญี่ปุ่นสมัยคามาคุระ (ช่วงศตวรรษที่ 14) | |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 เมษายน พ.ศ. 1145 ลั่วหยาง, มณฑลเหอหนาน, ประเทศจีน |
มรณภาพ | 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1207 (61 ปี) Tongchuan, มณฑลส่านซี, ประเทศจีน |
ศาสนา | พุทธ |
สำนัก | East Asian Yogācāra |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ศิษย์
|
เสวียนจั้ง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาษาจีน | 玄奘 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||
Chen Hui[a] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 陳褘 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 陈袆 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||
Chen Yi | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 陳禕 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 陈祎 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อสันสกฤต | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
สันสกฤต | ह्यून सान्ग[ต้องการอ้างอิง] |
เสวียนจั้ง มีชื่อเดิมว่า 陈祎 เฉินอี เป็นชาวมณฑลเหอหนาน เมื่อเยาว์วัยได้ติดตามพี่ชายคนที่สอง ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุในเมืองลั่วหยาง และได้รับเลือกให้เป็นนาคหลวง บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 13 ปี และมีความสามารถในการแสดงธรรมเป็นอย่างมาก เมื่อสิ้นราชวงศ์สุย และเปลี่ยนเป็นราชวงศ์ถังแล้ว ท่านจึงตัดสินใจเดินทางไปแสวงธรรมในประเทศอินเดีย ได้ออกเดินทางเมื่อปี พ.ศ. 1170
เสวียนจั้ง ได้ศึกษาพระธรรมที่มหาวิทยาลัยนาลันทา และจาริกแสวงบุญในอินเดีย นานถึง 11 ปี รวมระยะเวลาไปกลับทั้งสิ้น 19 ปี เป็นระยะทางกว่า 5 หมื่นลี้ ส่งให้จดหมายเหตุชิ้นนี้ของท่านนั้นอุดมไปด้วยข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับดินแดนในเอเชียกลางและเอเชียใต้เมื่อพันกว่าปีที่แล้วกว่า 138 แว่นแคว้น โดยในจำนวนนี้มี 110 แคว้นที่ท่านเดินทางไปด้วยตนเอง ขณะที่อีก 28 แคว้นนั้นท่านบันทึกจากคำบอกเล่าของผู้อื่น นับเป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่ง
เสวียนจั้ง เดินทางกลับจีนพร้อมทั้งนำพระไตรปิฎกฉบับภาษาสันสกฤตกลับมาด้วย ท่านเดินทางถึงเมืองหลวงของจีนคือ เมืองฉางอาน ในปี พ.ศ. 1188 ในสมัย พระเจ้าถังไท่จง พระองค์ทรงเป็นปราชญ์ผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงทรงอุปถัมภ์การแปลพระไตรปิฎก จากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจีน และ พระเจ้าถังไท่จงได้ทรงอาราธนาพระถังซัมจั๋งให้เขียนบันทึกการเดินทางไปอินเดีย จึงปรากฏหนังสือเรื่อง ต้าถังซีวีจี้ ในรัชกาลต่อมาพระเจ้าถังเกาจง พระองค์ทรงรับอุปถัมภ์งานแปลพระไตรปิฎกต่อ พระถังซัมจั๋งดำเนินงานต่อไปจนมรณภาพในปี พ.ศ. 1207[2]
พระถังซัมจั๋ง ภาคนิยายไซอิ๋ว (西游记) เป็นผู้มีบุญมาเกิด โดยลอยมาตามน้ำ พระภิกษุรูปหนึ่งเก็บได้ และเลี้ยงให้เติบใหญ่ โดยเป็นผู้ที่ใฝ่ในพระธรรมมาตั้งแต่ยังเล็ก เมื่อเติบใหญ่จึงได้บวชเรียน มีชื่อเสียงทางด้านศีล สมาธิ ปัญญา จนกระทั่งได้รับการอุปถัมภ์จากถังไท่จงฮ่องเต้ กษัตริย์แห่งราชวงศ์ถัง ผู้ที่เลื่อมใสในพุทธศาสนา นับถือเป็นน้องชายบุญธรรม ให้ใช้ชื่อว่า "ถังซัมจั๋ง" และได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ไปอัญเชิญพระไตรปิฎก ณ ชมพูทวีป อันห่างไกล
ตลอดระยะเวลาการเดินทาง พระถังซัมจั๋ง ต้องเผชิญกับอุปสรรคนานัปการ เชื่อว่าเนื้อของพระถังซัมจั๋งกินแล้วอายุยืนหมื่นปี พระถังซัมจั๋งจึงมักถูกพวกปีศาจจับตัวบ่อยครั้ง
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.