Loading AI tools
เป็นชุดปฏิบัติการพิเศษ สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน่วยเฝ้าตรวจระยะไกล (อังกฤษ: Long Range Surveillance Unit: LRSU) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ลาซู เป็นชุดปฏิบัติการพิเศษ[2] สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 ค่ายพญาลิไท กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีศักยภาพในการปฏิบัติงานในสภาวะภูมิประเทศที่หลากหลาย ทั้ง 3 มิติ[3] คือ จู่โจมทางบก รบทางอากาศ พิฆาตทางน้ำ[4]
หน่วยเฝ้าตรวจระยะไกล Long Range Surveillance Unit | |
---|---|
อาร์มหน่วยลาดตระเวนระยะไกล | |
อาร์มตำรวจตระเวนชายแดน | |
เครื่องหมายราชการ | |
ชื่อทางการ | ชุดปฏิบัติการพิเศษ หน่วยเฉพาะกิจตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 |
อักษรย่อ | ชปพ.ฉก.ตชด.44 (ลาซู)[1] ชปพ.ลาซู / LRSU |
คำขวัญ | เสียสละ อดทน ดำรงตนอย่างมีเกียรติ |
ข้อมูลองค์กร | |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2553 |
โครงสร้างเขตอำนาจ | |
เขตอำนาจในการปฏิบัติการ | ประเทศไทย |
แผนที่เขตอำนาจของ กองกํากับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 | |
เขตอำนาจตามกฎหมาย | • จังหวัดยะลา • จังหวัดนราธิวาส • จังหวัดปัตตานี |
ลักษณะทั่วไป | |
เขตอำนาจเฉพาะทาง |
|
สำนักงานใหญ่ | ค่ายพญาลิไท บ้านบุดี หมู่ที่ 1 ตำบลบุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000 |
ผู้บริหารหน่วยงาน |
|
หน่วยงานปกครอง | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ • กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน |
สิ่งอำนวยความสะดวก | |
รถตำรวจลาดตระเวน | จักรยานยนต์วิบาก |
เรือลาดตระเวน | เรือยาง เรือท้องแบน |
เครื่องบิน | เฮลิคอปเตอร์ จากกองบินตำรวจ |
ปฏิบัติการสำคัญ | |
เว็บไซต์ | |
https://bpp44.go.th/ |
บางครั้งถูกเรียกว่า หน่วยเฝ้าตรวจลาดตระเวนระยะไกล แต่หากยึดตามชื่อเรียกของตัวหน่วยงานเอง จะใช้ชื่อว่าหน่วยเฝ้าตรวจระยะไกล[5][6][7][8] ซึ่งตรงตามคำแปลทางการทหารของศูนย์ภาษา กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ[9] และคู่มือศัพท์และคำย่อทางทหาร กรมจเรทหารบก[10]
หน่วยเฝ้าตรวจระยะไกล มีจุดเริ่มต้นมาจากความต้องการชุดปฏิบัติการพิเศษที่มีศักยภาพสูง สามารถปฏิบัติงานในภูมิประเทศที่หลากหลายซับซ้อนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วยป่าเขา หน้าผาสูงชัน[11] พื้นที่แหล่งน้ำขนาดใหญ่ อาทิ เขื่อนบางลาง และลำน้ำเหนือเขื่อน ในพื้นที่จังหวัดยะลา ซึ่งผู้ก่อความไม่สงบได้ใช้ภูมิประเทศดังกล่าวในการปฏิบัติการจนทำให้มีเจ้าหน้าที่เสียชีวิตจำนวนมาก ทำให้เกิดความสูญเสียในการปฏิบัติงานและทำการโต้ตอบได้อย่างยากลำบาก เพราะสภาพภูมิประเทศและการขาดทักษะของเจ้าหน้าที่
ในปี พ.ศ. 2553[12] พันตำรวจเอก ณรงค์ ธนานันทกุล ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 ในขณะนั้น จึงก่อตั้งหลักสูตรการฝึกที่ได้นำหลักสูตรการรบที่มีความหลากหลายของหน่วยปฏิบัติการพิเศษหน่วยตระเวนชายแดนสหรัฐ[12]มาปรับประยุกต์ให้เหมาะกับสภาพของพื้นที่และฝึกให้กับบุคลากรในสังกัด[3] เพื่อเสริมศักยภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดน ทำการฝึกรุ่นแรกในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553[6] โดยใช้รหัสการฝึกแต่ละรุ่นเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ[8][7]
หน่วยเฝ้าตรวจระยะไกล มีภารกิจหลักในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 และตำรวจภูธรภาค 9 ในการรักษาความสงบและดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การอารักขาบุคคลสำคัญที่ลงมาในพื้นที่รับผิดชอบตามที่ได้รับมอบหมาย[13][12] การช่วยเหลือประชาชนและหน่วยงานในพื้นที่เสี่ยง[14][15] และเป็นหน่วยในการปฏิบัติการร่วมกับทหารในการปิดล้อมพื้นที่ ตรวจค้นเป้าหมาย การลาดตระเวนเพื่อค้นหาผู้ก่อความไม่สงบ พิสูจน์ทราบ และดำเนินการต่อเป้าหมายเพื่อทำลายภัยคุกคาม[16]
นอกจากนี้ยังมีภารกิจในการป้องกันพื้นที่ป่าต้นน้ำและทรัพยากรธรรมชาติ[17]ภายในโครงการอนุรักษ์สภาพป่าไม้และสัตว์ป่า สวนป่าพระนามาภิไธยภาคใต้ (พื้นที่ส่วนที่ 2) จังหวัดยะลา/นราธิวาส (ป่าบาลา - ฮาลา) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติสูง[18] และการเตรียมความพร้อมเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำในสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ห่างไกลหรือพื้นที่ที่รถยนต์เข้าไม่ถึง[19] ภายในพื้นที่เขื่อนบางลางซึ่งมีฐาน ตชด. 445 (ฐานนางนวล) ตั้งอยู่[20] ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และในพื้นที่อื่นในภาคใต้ตามการร้องขอกำลังจากหน่วยที่เกี่ยวข้อง[21]
สำหรับหน่วยเฝ้าตรวจระยะไกลจะเข้าเวรปฏิบัติงานระยะเวลา 30 วัน และมีช่วงพักผ่อน 10 - 12 วัน ก่อนจะสลับเปลี่ยนกำลังมาประจำการอีกครั้ง[12]
ถึงแม้ว่าหน่วยเฝ้าตรวจระยะไกล จะเป็นหน่วยเฉพาะกิจที่ของกองกำลังกึ่งทหารที่ต้องใช้อาวุธ แต่หลักการสำคัญในการปฏิบัติงานของหน่วยคือการมวลชนสัมพันธ์[22] การพบปะและพูดคุยสื่อสารกับชาวบ้านในพื้นที่ สร้างความสัมพันธ์ที่ดี จะช่วยให้ชาวบ้านในพื้นที่ให้ความร่วมมือมากกว่าการใช้แนวทางแข็งกร้าว ซึ่งตำรวจตระเวนชายแดนต้นสังกัดของหน่วยก็มีหลักในการปฏิบัติการต่อมวลชนแบบนี้เช่นกัน[12][2]
หลักสูตรหน่วยเฝ้าตรวจระยะไกล ดำเนินการฝึกโดยกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 ค่ายพญาลิไท โดยหลักสูตรการฝึกใช้ระยะเวลาประมาณ 60 - 65 วัน[23] ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ โดยในภาคปฏิบัติส่วนหนี่งจะมีการฝึกในพื้นที่จริงคือป่าฮาลา-บาลา อำเภอเบตก จังหวัดยะลา พร้อมด้วยอาวุธประจำกาย เป็นระยะเวลา 7 วัน[24]
สำหรับคุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึก จะต้องเป็นข้าราชการตำรวจ ทั้งภายในกองบัญชการตำรวจตระเวนชายแดนเอง และสังกัดอื่น อาทิ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษของตำรวจภูธร[7] กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด[25] ที่มีสภาพร่างกายและจิตใจที่พร้อม มีความคุ้นเคยกับอุปกรณ์พิเศษในการปฏิบัติงานทั้ง 3 มิติ คือ ภาคพื้นดิน ภาคน้ำ และภาคอากาศ มีความชำนาญในการปฏิบัติการในพื้นที่ป่าภูเขา การปฏิบัติการทางน้ำ[26] การส่งกำลังทางอากาศ และการบรรเทาสาธารณภัยทางน้ำ[16]
เมื่อผ่านการฝึกแล้วจะถูกส่งตัวกลับต้นสังกัด ทั้งของหน่วยเฝ้าตรวจระยะไกลเอง และหน่วยงานสังกัดอื่นที่เข้าร่วมฝึก โดยเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จะมีหน้าที่ในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 และตำรวจภูธรภาค 9 ในการรักษาความสงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้[12] ซึ่งบางส่วนของหน่วยเฝ้าตรวจระยะไกลจะถูกส่งเข้าไปประจำการที่ฐานนางนวล (ฐานฮาลา 2) กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 445 อำเภอเบตง จังหวัดยะลา[22] ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในพื้นที่สีแดงที่กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบเคลื่อนไหวอยู่[12]
เมื่อสำเร็จการฝึกจะได้รับเครื่องหมายแสดงความสามารถ โดยความหมายของเครื่องหมาย[4] ประกอบไปด้วย
อุปกรณ์ประจำกายพื้นฐานของหน่วยเฝ้าตรวจระยะไกล[12] ประกอบไปด้วย
หน่วยเฝ้าตรวจระยะไกล มีขอบเขตการปฏิบัติการหลักภายใต้เขตพื้นที่ของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 คือพื้นที่จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี โดยปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ในพื้นที่ อาทิ ร่วมกับชุดสลาตัน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า[28] ที่ประกอบกำลังจาก กรมทหารพรานที่ 43 หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 30 ในการปิดล้อมตรวจค้น และจับกุมผู้ก่อความไม่สงบ จนเป็นที่ยอมรับในผลการปฏิบัติงาน[3]
การนำกำลังร่วมปฏิบัติการคุ้มกันพื้นที่เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดพิสูจน์หลักฐาน และชุดเก็บกู้วัตถุระเบิด เข้าพิสูจน์ทราบวัตถุระเบิดหรือพยานวัตถุต่าง ๆ หลังเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ[29] เพื่อป้องกันการสร้างสถานการณ์เพื่อลวงให้เจ้าหน้าที่เข้าปฏิบัติการและก่อเหตุซ้ำ และอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้ และชุดพิสูจน์หลักฐาน โดยปฏิบัติการร่วมกันกับตำรวจท้องที่ และร่วมกับชุดปฏิบัติการอื่น ๆ
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.