Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (อังกฤษ: Chulabhorn Royal Academy) เป็นสถาบันการวิจัยและวิชาการชั้นสูงสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี[3] (มิใช่สถาบันอุดมศึกษา แต่มีสถาบันอุดมศึกษาอยู่ในส่วนงาน) และจัดการศึกษาทางวิชาการและวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การแพทย์ และการสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย สร้าง ประมวล ประยุกต์ ส่งเสริม เผยแพร่ พัฒนา จัดการศึกษาและผลิตบุคลากรในระดับสูง เพื่อสร้างองค์ความรู้ เป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การแพทย์ และการสาธารณสุข ให้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขแก่ประชาชน ให้ความช่วยเหลือผู้ยากไร้และผู้ประสบภัยพิบัติ รวมทั้งส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม และทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม[4]
ชื่ออื่น | Chulabhorn Royal Academy |
---|---|
ชื่อย่อ | CRA |
คติพจน์ | เป็นเลิศ เพื่อทุกชีวิต |
ประเภท | สถาบันการวิจัยและวิชาการชั้นสูง |
สถาปนา | 18 เมษายน พ.ศ. 2559 |
ผู้สถาปนา | ศาสตราจารย์ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี |
สังกัดการศึกษา | สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ |
งบประมาณ | 3,624,055,800 บาท (พ.ศ. 2568)[1] |
นายกสภาฯ | ศาสตราจารย์ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี |
รักษาการเลขาธิการราชวิทยาลัย | ศาสตราจารย์ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี |
อาจารย์ | 139 คน (พ.ศ. 2562)[2] |
บุคลากรทั้งหมด | 1,916 คน (พ.ศ. 2562)[2] |
ที่ตั้ง | |
สี | ██ สีส้ม |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของราชวิทยาลัย |
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประกอบด้วยโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาล โดยสมเด็จเจ้าฟ้าๆ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทานนาม "ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์" โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 ตาม พระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พ.ศ. 2559 ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงมติในวาระรับหลักการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2558 และได้ลงมติในวาระ 3 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2558 ด้วยคะแนน 151–0 เสียงโดยได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นสถาบันการศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการแพทย์ชั้นนำของภูมิภาคในการผลิตและพัฒนาบุคลากรชั้นสูง ทำการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ เผยแพร่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การแพทย์ การสาธารณสุข และให้บริการทางการแพทย์เป็นศูนย์กลางความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งทำงานประสานกับองค์การระหว่างประเทศ มีเป้าหมายสูงสุดคือการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเริ่มรับนักศึกษาของราชวิทยาลัยรุ่นแรกในปีการศึกษา 2560[5]
ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ซึ่งได้กำหนดให้แยกสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ออกจากราชวิทยาลัยและยังให้อยู่ภายใต้มูลนิธิจุฬาภรณ์ตามเดิม จึงได้ตัดกรรมการสภาราชวิทยาลัยที่มาจากสัดส่วนของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ออกด้วย อีกทั้งกำหนดให้อาจมีตำแหน่ง ประธานราชวิทยาลัย เพื่อให้สภาราชวิทยาลัยขอรับคำแนะนำและคำปรึกษาในกิจการทั้งปวงตามวัตถุประสงค์ของราชวิทยาลัย และประธานราชวิทยาลัยจะแต่งตั้ง รองประธานราชวิทยาลัย เพื่อทำหน้าที่ตามที่มอบหมายก็ได้[6]
วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการสภาราชวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยได้แต่งตั้งกรรมการสภาราชวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งสิ้น 7 คน[7] ดังนี้
ต่อมาในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ได้มีการเผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการสภาราชวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิโดยได้แต่งตั้ง จรัมพร โชติกเสถียร เป็นกรรมการสภาราชวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ประกอบไปด้วยส่วนงานดังต่อไปนี้[6][8]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.