รางวัลความสำเร็จของอุตสาหกรรมดนตรีเกาหลีใต้ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มามาอะวอดส์ (อังกฤษ: MAMA Awards) ชื่อเดิม เอ็มเน็ตเอเชียนมิวสิกอะวอดส์ (อังกฤษ: Mnet Asian Music Awards, เกาหลี: 엠넷 아시안 뮤직 어워드)[1] เป็นงานประกาศรางวัลดนตรีสำคัญที่จัดขึ้นทุกปีโดยบริษัทบันเทิงซีเจ อีแอนด์เอ็ม จัดขึ้นครั้งแรกในเกาหลีใต้ รางวัลส่วนใหญ่ได้รับโดยศิลปินเคป็อป และมีศิลปินเอเชียรายอื่นที่ชนะรางวัลประเภทต่าง ๆ เช่น รางวัลศิลปินเอเชียยอดเยี่ยมและรางวัลอื่นที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ
มามาอะวอดส์ | |
---|---|
ปัจจุบัน: มามาอะวอดส์ 2024 | |
รางวัลสำหรับ | ความสำเร็จที่โดดเด่นในอุตสาหกรรมดนตรีเคป็อปและเอเชีย |
ประเทศ | เกาหลีใต้, สิงคโปร์, ญี่ปุ่น, เวียดนาม, ฮ่องกง และมาเก๊า |
จัดโดย | แผนกบันเทิงซีเจอีแอนด์เอ็ม (เอ็มเน็ต) |
รางวัลแรก | 27 พฤศจิกายน 1999 |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ |
โทรทัศน์/วิทยุ | |
เครือข่าย | เอ็มเน็ต โดยซีเจ อีแอนด์เอ็ม และเครือข่ายระหว่างประเทศอื่น ๆ |
| |||||||||||||||||||
|
พิธีมอบรางวัลจัดขึ้นครั้งแรกในโซลเมื่อปี ค.ศ. 1999 โดยออกอากาศทางเอ็มเน็ต[2] มามายังจัดขึ้นในประเทศและเมืองต่าง ๆ ในเอเชียนอกเกาหลีใต้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 และขณะนี้มีการออกอากาศทางออนไลน์ทั่วโลกนอกเหนือจากเอเชีย[3][4]
งานจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1999 เป็นพิธีมอบรางวัลมิวสิกวิดีโอ โดยมีต้นแบบมาจากเอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ ในชื่อ เอ็มเน็ตวิดีโอมิวสิกอะวอดส์[2][5] งานรวมเข้ากับเคเอ็มทีวีโคเรียนมิวสิกอะวอดส์ในปี ค.ศ. 2004 และเปลี่ยนชื่อเป็นเอ็มเน็ตเคเอ็มมิวสิกวิดีโอเฟสติวัล[6][7] ในช่วงกลางทศวรรษ 2000 พิธีมอบรางวัลได้ดึงดูดความสนใจจากนานาชาติ เนื่องจากการแพร่กระจายของกระแสเกาหลีและออกอากาศในประเทศจีนและญี่ปุ่นในปี 2008[2][8]
ในปี 2009 งานได้เปลี่ยนชื่อเป็นเอ็มเน็ตเอเชียนมิวสิกอะวอดส์ (MAMA) เพื่อสะท้อนถึงการขยายงานออกนอกเกาหลีใต้[9] ในปี 2010 มามาจัดขึ้นที่มาเก๊า นับเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นนอกเกาหลีใต้ ถัดมาในปี 2011 งานมามาจัดขึ้นที่สิงคโปร์ จากนั้นจัดขึ้นที่ฮ่องกงตั้งแต่ปี 2012 ถึง 2017[8] ในปี 2017 พิธีมอบรางวัลได้ขยายเป็นสี่คืน และบางส่วนของงานจัดขึ้นในเวียดนามและญี่ปุ่น นอกเหนือจากฮ่องกง[2] ในปี 2018 มามามีสามส่วนและจัดขึ้นในสามประเทศ เกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพงานมามาเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี ร่วมกับญี่ปุ่นและฮ่องกง ในปี 2020 มามาจัดขึ้นทางออนไลน์ที่เกาหลีใต้เท่านั้นเนื่องจากการระบาดของโควิด-19[10][11][12][13]
วันที่ 20 กรกฎาคม 2021 มีรายงานจาก Ilgan Sports ว่างานประกาศรางวัลเอ็มเน็ตเอเชียนมิวสิกอะวอดส์ 2021 กำลังอยู่ระหว่างการหารือเกี่ยวกับงานที่จะจัดขึ้นในฮ่องกง แม้ว่าจะมีการระบาดอย่างต่อเนื่องและข้อจำกัดด้านการเดินทาง[14] วันที่ 23 สิงหาคม 2022 ซีเจ อีแอนด์เอ็มประกาศว่างานจะเปลี่ยนชื่อเป็น "มามาอะวอดส์" นับจากนี้เป็นต้นไป[15]
ปี[A] | วันที่[19] | เมือง[19] | สถานที่[19] | พิธีกร |
---|---|---|---|---|
เอ็มเน็ตวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ (Mnet Video Music Awards) | ||||
1999 | 27 พฤศจิกายน | ![]() |
ยูนิเวอร์แซลอาตส์เซ็นเตอร์ | ชเว ฮัล-ลี |
เอ็มเน็ตมิวสิกวิดีโอเฟสติวัล (Mnet Music Video Festival – MMF) | ||||
2000 | 24 พฤศจิกายน | ![]() |
ยูนิเวอร์แซลอาตส์เซ็นเตอร์ | ชา แทฮยอน และ คิม ฮยอน-จู |
2001 | 23 พฤศจิกายน | ชา แทฮยอน และ ซง ฮเย-กโย | ||
2002 | 29 พฤศจิกายน | ชิน ดง-ยอบ และ คิม จอง-อึน | ||
2003 | 27 พฤศจิกายน | มหาวิทยาลัยคยองฮี | ชา แทฮยอน และ ซ็อง ยู-รี | |
เอ็มเน็ตเคเอ็มมิวสิกวิดีโอเฟสติวัล (Mnet Km Music Video Festival – MKMF) | ||||
2004 | 4 ธันวาคม | ![]() |
มหาวิทยาลัยคยองฮี | ชิน ดง-ยอบ และ จอง-อึน |
2005 | 27 พฤศจิกายน | โอลิมปิกยิมนาสติกอารีนา | ชิน ดง-ยอบ และ คิม อา-จุง | |
เอ็มเน็ตเคเอ็มมิวสิกเฟสติวัล (Mnet Km Music Festival – MKMF) | ||||
2006 | 25 พฤศจิกายน | ![]() |
โอลิมปิกยิมนาสติกอารีนา | ชิน ดง-ยอบ และ คิม อก-บิน |
2007 | 17 พฤศจิกายน | ศูนย์กีฬากรุงโซล | ชิน ดง-ยอบ และ อี ดาแฮ | |
2008 | 15 พฤศจิกายน | เรน | ||
เอ็มเน็ตเอเชียนมิวสิกอะวอดส์ (Mnet Asian Music Awards – MAMA) | ||||
2009 | 21 พฤศจิกายน | ![]() |
ศูนย์กีฬากรุงโซล | ไทเกอร์ เจเค |
2010 | 28 พฤศจิกายน | ![]() |
โคไทอารีนา เดอะเวนีเชียนมาเก๊า | ไม่มี |
2011 | 29 พฤศจิกายน | ![]() |
สนามกีฬาในร่มสิงคโปร์ | อี บย็อง-ฮ็อน |
2012 | 30 พฤศจิกายน | ![]() |
ศูนย์นิทรรศการและการประชุมฮ่องกง | ซง จุง-กี |
2013 | 22 พฤศจิกายน | เอเชียเวิลด์–อารีนา | อี ซึง-กี | |
2014 | 3 ธันวาคม | ซง ซึง-ฮ็อน | ||
2015 | 2 ธันวาคม | ไซ | ||
2016 | 2 ธันวาคม | อี บย็อง-ฮ็อน | ||
2017 | 25 พฤศจิกายน | ![]() |
โรงละครฮัวบินห์ | ธู มินห์ |
29 พฤศจิกายน | ![]() |
โยโกฮามะอารีนา | พัก โบ-ก็อม | |
30 พฤศจิกายน | ![]() |
ดับเบิ้ลยูฮ่องกง | ไม่มี | |
1 ธันวาคม | เอเชียเวิลด์–อารีนา | ซง จุง-กี | ||
2018 | 10 ธันวาคม | ![]() |
ทงแดมุนดีไซน์พลาซ่า | จอง แฮ-อิน[20] |
12 ธันวาคม | ![]() |
ไซตามะซูเปอร์อารีนา | พัก โบ-ก็อม[20] | |
14 ธันวาคม | ![]() |
เอเชียเวิลด์–อารีนา | ซง จุง-กี[20] | |
2019 | 4 ธันวาคม | ![]() |
นาโกยะโดม | พัก โบ-ก็อม[21] |
2020 | 6 ธันวาคม | ![]() |
ซีเจอีแอนด์เอ็มคอนเทนส์เวิลด์ | ซง จุง-กี[22] |
2021 | 11 ธันวาคม | อี ฮโยรี[23] | ||
มามาอะวอดส์ (MAMA Awards) | ||||
2022 | 29–30 พฤศจิกายน | ![]() |
เคียวเซระโดม | โซมี และ พัก โบ-ก็อม[24][25] |
2023 | 28–29 พฤศจิกายน | ![]() |
โตเกียวโดม | |
2024 | 21 พฤศจิกายน | ![]() |
โรงละครดอลบี | พัก โบ-ก็อม[26] |
22 พฤศจิกายน | ![]() |
เคียวเซระโดม | คารีนา ซ็อง ฮัน-บิน เรย์ โยชิ | |
23 พฤศจิกายน | คิม แท-รี[26] |
สี่รางวัลใหญ่ (เรียกว่า แดซัง)
รางวัลแต่ละประเภทเปิดตัวในปี ค.ศ. 1999 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น
รางวัลเหล่านี้ได้รับเพียงครั้งเดียวหรือเป็นครั้งคราว
สถิติ | ศิลปิน | ปีแรกที่ ได้รับรางวัล |
ปีล่าสุดที่ ได้รับรางวัล[a] |
---|---|---|---|
21 | บีทีเอส | 2016 | 2023 |
6 | เอ็กโซ | 2013 | 2017 |
5 | บิกแบง | 2008 | 2015 |
4 | ทูเอนีวัน | 2009 | 2011 |
3 | ทไวซ์ | 2016 | 2018 |
ซูเปอร์จูเนียร์ | 2007 | 2012 | |
เซเวนทีน | 2023 | 2024 | |
2 | นิวจีนส์ | 2023 | 2023 |
จี-ดรากอน | 2009 | 2013 | |
ทงบังชินกี | 2005 | 2008 | |
เอสจี วอนนาบี | 2006 | 2006 | |
โบอา | 2002 | 2004 | |
เอชโอที | 1999 | 2000 | |
สถิติ | ศิลปิน |
---|---|
52 | บีทีเอส |
19 | เซเวนทีน |
18 | ทไวซ์ |
16 | เอ็กโซ |
13 | บิกแบง |
ซูเปอร์จูเนียร์ | |
12 | ไอยู |
11 | แบล็กพิงก์ |
ทงบังชินกี | |
10 | ทูเอนีวัน |
ไซ | |
ชินฮวา | |
9 | เอสปา |
8 | โบอา |
7 | ไอฟ์ |
รายการออกอากาศสดในสิบสามประเทศทั่วเอเชีย ในเกาหลีใต้ออกอากาศทางเอ็มเน็ตและซีเจ อีแอนด์เอ็ม ช่องทีวีอื่น ๆ ที่ออกอากาศรายการ ได้แก่ ทีวีเอ็นเอเชีย (มัลดีฟส์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไต้หวัน) และ จูกซ์ (ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมาร์ และไทย) เอ็มเน็ตเจแปน เอ็มเน็ตสมาร์ท และเอยูสมาร์ทพาส (ญี่ปุ่น) วิว ทีวีซิกซ์ วิวทีวี viu.tv (ฮ่องกง) ฟรายเดย์วิดีโอแอนด์ฟรายเดย์มิวสิก (ไต้หวัน) มีวอตช์ (สิงคโปร์) อินโดซียาร์แอนด์วิดีโอ (อินโดนีเซีย) gigafest.smart (ฟิลิปปินส์) เอฟพีทีทีวีแอนด์ฟ็อกซ์ซี (เวียดนาม)
รายการยังออกอากาศออนไลน์ทั่วโลกผ่านช่องยูทูบ Mnet K-POP, KCON official เช่นเดียวกับ KCON[27]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.