คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

ฟุตบอลทีมชาติอียิปต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Remove ads

ฟุตบอลทีมชาติอียิปต์ (อาหรับแบบอียิปต์: فريق مصر لكورة القدم รู้จักกันในฉายา "ฟาโรห์")[1] เป็นทีมฟุตบอลชายตัวแทนของประเทศอียิปต์ อยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลอียิปต์ (EFA) ซึ่งก่อตั้งในปี ค.ศ. 1921 และเป็นผู้ควบคุมฟุตบอลในประเทศอียิปต์ ทีมชาติอียิปต์เคยใช้สนามกีฬานานาชาติไคโรเป็นสนามเหย้า แต่ในปี ค.ศ. 2012 ได้ย้ายไปเล่นที่สนามกีฬาบุรญุลอะร็อบในอเล็กซานเดรีย ผู้จัดการทีมในปัจจุบันคือ อีฮาบ ญะลาล

ข้อมูลเบื้องต้น ฉายา, สมาคม ...
Remove ads

อียิปต์เป็นทีมชาติที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในทวีปแอฟริกา โดยคว้าแชมป์แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ถึง 7 สมัย ในปี 1957, 1959 (เจ้าภาพ), 1986, 1998, 2006, 2008 และ 2010 อันดับโลกฟีฟ่าที่สูงที่สุดคืออันดับที่ 9 ทำให้เป็นหนึ่งในสามทีมชาติของแอฟริกาที่เคยติด 10 อันดับแรกของฟีฟ่า อียิปต์ปรากฏตัวในฟุตบอลโลก 3 ครั้ง ในปี 1934, 1990 และ 2018 และเป็นทีมแรกในแอฟริกาและตะวันออกกลางที่ผ่านเข้าไปเล่นรอบสุดท้ายของฟุตบอลโลก

อียิปต์ผ่านเข้าไปเล่นรอบสุดท้ายของแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2017 และจบอันดับรองชนะเลิศ หลังจากแพ้นัดชิงชนะเลิศให้แก่แคเมอรูน การแข่งขันครั้งนี้ ทำให้อันดับโลกฟีฟ่าขยับไปถึงอันดับที่ 19 ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2017

วันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 2017 อียิปต์ผ่านรอบคัดเลือกและได้ไปเล่นรอบสุดท้ายของฟุตบอลโลก 2018 เป็นครั้งแรกในรอบ 28 ปี และเป็นครั้งที่สามที่ทีมได้ปรากฏตัวในการแข่งขันรายการนี้

Remove ads

สถิติ

สรุป
มุมมอง
ณ วันที่ 26 มกราคม 2022[3]

ผู้เล่นตัวหนา หมายถึง ผู้เล่นที่ยังคงเล่นให้แก่ทีมชาติในปัจจุบัน

ลงเล่นมากที่สุด

ข้อมูลเพิ่มเติม #, ผู้เล่น ...

ทำประตูสูงสุด

ข้อมูลเพิ่มเติม #, ผู้เล่น ...
Remove ads

อดีตผู้เล่นที่มีชื่อเสียง

เกียรติประวัติ

แอฟริกา

ชนะเลิศ (7): 1957, 1959, 1986, 1998, 2006, 2008, 2010 (ชนะเลิศมากที่สุด)
รองชนะเลิศ (3): 1962, 2017, 2021
อันดับที่สาม (3): 1963, 1970, 1974
อันดับที่สี่ (3): 1976, 1980, 1984
ชนะเลิศ (2): 1 1987, 1 1995
อันดับที่สาม (1): 3 1973
  • แอโฟรเอเชียนคัพออฟเนชันส์
รองชนะเลิศ (2): 2 1988, 2007
  • ไนล์เบซินทัวร์นาเมนต์
ชนะเลิศ (1): 1 2011

อาหรับ

  • แพนอารบิกเกมส์
ชนะเลิศ (4): 1 1953, 1 1965, 1 1992, 1 2007 (ชนะเลิศมากที่สุด)
รองชนะเลิศ (1): 2 1961
  • อาหรับคัพออฟเนชันส์
ชนะเลิศ (1): 1 1992
อันดับที่สาม (1): 3 1988
  • ปาเลสไตน์คัพออฟเนชันส์
ชนะเลิศ (2): 1 1972,1 1975 (ชนะเลิศมากที่สุด)

อื่น ๆ

เมดิเตอร์เรเนียนเกมส์

ชนะเลิศ (1): 1 1955
เหรียญเงิน (1): 2 1951
เหรียญทองแดง (1): 3 1983

อ้างอิง

Loading content...

แหล่งข้อมูลอื่น

Loading content...
Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Remove ads