Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาอำมาตย์ตรี พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์) (15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) อดีตรัฐมนตรีไม่ได้ประจำกระทรวง ในรัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และอดีตสมาชิกวุฒิสภา
พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์) | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 21 มิถุนายน 2476 – 16 ธันวาคม 2476 | |
นายกรัฐมนตรี | พระยาพหลพลพยุหเสนา |
ก่อนหน้า | พระยาจ่าแสนยบดีศรีบริบาล |
ถัดไป | พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 เมืองพระนคร |
เสียชีวิต | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 (84 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ มีนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 ที่จังหวัดพระนคร เป็นโอรสของหม่อมเจ้าเข็ม อิศรศักดิ์ พระโอรสในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนวัดนวลนรดิศ [1]
ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็น หม่อมอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ ราชินิกูล ถือศักดินา 800 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438[2]ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ข้าหลวงประจำเมืองเชียงใหม่ แล้วเลื่อนเป็น พระยาอิศรพันธ์โสภณ แล้วเลื่อนเป็น พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ ถึงแก่กรรมเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 อายุ 84 ปี พระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2501 ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส[3]
พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย (ผู้แทนราษฎรชั่วคราว พ.ศ. 2475) ขณะมีอายุได้ 59 ปี ซึ่งถือว่าเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดแรก ทั้งที่มิได้เป็นหนึ่งในคณะผู้ร่วมเปลี่ยนแปลงการปกครอง ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีไม่ได้ประจำกระทรวง ในรัฐบาลของพระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เมื่อ พ.ศ. 2476[4] และต่อมาจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)[5]
ต่อมาในเหตุการณ์กบฏพระยาทรงสุรเดช เมื่อ พ.ศ. 2481 พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการกบฎเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงถูกนำตัวขึ้นสู่การพิพากษาของศาลพิเศษที่ถูกจัดตั้งขึ้นในการนี้โดยเฉพาะ และถูกตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิตเมื่อปี พ.ศ. 2482 โดยก่อนหน้านั้นในเหตุการณ์กบฏบวรเดช เมื่อ พ.ศ. 2476 ก็ถูกเพ่งเล็งมาก่อนแล้วว่าให้การดูแลเอาใจใส่นักโทษเป็นพิเศษในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ก่อนจะได้รับการนิรโทษกรรมในยุครัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 2487 ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง และได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกพฤติสภาชุดที่ 2 (วุฒิสภา)[6] หลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2490 และพ้นจากตำแหน่งไปหลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2494 และได้วางมือทางการเมืองในที่สุด แต่ก็ยังคงติดตามการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองมาตลอดจนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรม[1]
พงศาวลีของพระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.