Loading AI tools
นักดนตรีชาวไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (ชื่อเล่น: ปุ้ม) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ปุ้ม วงตาวัน เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง และนักดนตรี อดีตสมาชิกวงแมคอินทอชและวงตาวัน ในตำแหน่งมือคีย์บอร์ดและร้องนำ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
บทความนี้คล้ายอัตชีวประวัติ ผู้เขียนหลักอาจมีความเกี่ยวข้องหรือเป็นคนเดียวกับผู้ที่ถูกกล่าวถึง กรุณาช่วยแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับมุมมองที่เป็นกลาง โปรดศึกษาการเขียนชีวประวัติของบุคคลที่มีชีวิตอยู่ |
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา | |
---|---|
คอนเสิร์ต จากเพื่อน พี่และน้อง แด่เรวัต พุทธินันทน์ เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2541 | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา |
รู้จักในชื่อ | ปุ้ม |
เกิด | 22 มิถุนายน พ.ศ. 2505 |
แนวเพลง | โพรเกรสซิฟร็อก, เวิลด์มิวสิก |
อาชีพ | นักดนตรี, นักร้อง, นักแต่งเพลง |
เครื่องดนตรี | คีย์บอร์ด |
ช่วงปี | พ.ศ. 2528 - ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | Warner Music แกรมมี่ Butterfly Records |
เว็บไซต์ | http://www.siameseproject.com/ |
พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (ปุ้ม) เกิดเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2505 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจาก โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยเข้าเรียนรุ่นเดียวกับ ศุ บุญเลี้ยง สมาชิกวงเฉลียง และ ระดับ ปวช. จากวิทยาลัยกรุงเทพวิจิตรศิลป์ สาขาจิตรกรรมไทย. เขาเป็นศิลปิน นักดนตรี นักแต่งเพลง คอมโพสเซอร์ และโปรดิวเซอร์ ในฐานะศิลปินเขาเคยมีผลงานร่วมกับวงดนตรีชื่อ “วงตาวัน” 5 ชุด ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2529-2538 (ค.ศ. 1986-1995) และมีผลงานในฐานะศิลปินเดี่ยว 4 ชุด คือ Shambala ในปี (2538), Ei (เปลี่ยนผ่าน) (2556/2558), ไตรรงค์ (2557), และอัลบั้ม Hymn (2558)
นับตั่งแต่ช่วงยุค 2530s (90s) จนถึงปัจจุบัน เขาเป็นที่รู้จักมากกว่าในฐานะคอมโพสเซอร์และโปรดิวเซอร์ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของศิลปินในเมืองไทยหลายต่อหลายคน โดยได้สร้างสรรค์ผลงานเพลงให้กับศิลปินต่างๆ ไว้มากมายนับร้อยเพลง เช่น ยืนยง โอภากุล และวงคาราบาว, ธเนศ วรากุลนุเคราะห์, สุรสีห์ อิทธิกุล, อัสนี และ วสันต์ โชติกุล, นูโว, ไมโคร, คริสติน่า อากีล่าร์, ทาทา ยัง, มาช่า วัฒนพานิช, ใหม่ เจริญปุระ, Y not 7, นัท มีเรีย, นิโคล เทริโอ, แอม เสาวลักษณ์, โบ สุนิตา, ธงไชย แมคอินไตย์, Double U, ปีเตอร์ คอร์ป ไดเรนดัล, มิสเตอร์ทีม, ตุ้ย ธีรภัทร์, ปาล์มมี่, ศุ บุญเลี้ยง ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีผลงานดนตรีด้านอื่นๆ อีก เช่น ดนตรีประกอบภาพยนตร์ ดนตรีประกอบละคร ดนตรีประกอบสารคดี ดนตรีประกอบโฆษณา
เขาเริ่มสร้างผลงานในฐานะนักแต่งเพลงและคอมโพสเซอร์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เริ่มจากการประพันธ์ดนตรีประกอบละครเวทีเรื่อง "หัวเราะกับน้ำตา" (กำกับการแสดงโดย ภาสุรี ภาวิไล) จากนั้นเข้าทำงานเป็นคอมโพสเซอร์ โปรดิวเซอร์ และนักดนตรีบันทึกเสียง กับบริษัทบัตเตอร์ฟลาย ซาวนด์แอนด์ฟิล์ม เซอร์วิส จำกัด
ในปี พ.ศ. 2535 เขาได้ย้ายไปทำงานที่บริษัท วอร์เนอร์ มิวสิก (ประเทศไทย) จำกัด ในตำแหน่ง Executive Producer ต่อมาได้ลาออก และย้ายมาทำงานกับคุณ เรวัต พุทธินันทน์ ที่บริษัทแกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น บ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด) ในตำแหน่ง คอมโพสเซอร์ และ โปรดิวเซอร์ จนกระทั่งเมื่อคุณเรวัต พุทธินันทน์ เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2539 จึงได้ลาออกมาทำงานอิสระ
ในปี พ.ศ. 2542 เขาเริ่มก่อตั้งสถาบันเจนเอกซ์อะคาเดมี่ ซึ่งเป็นสถาบันแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดขึ้นเพื่อพัฒนาบุคคลากรวิชาชีพสายบันเทิง (ดนตรี สื่อสารมวลชน และมัลติมีเดีย) โดยทำหน้าที่เป็นหัวหน้าภาควิชาดนตรีและเทคโนโลยี เป็นคนกำกับและดูแล รวมทั้งเป็นผู้จัดทำหลักสูตรของภาควิชานี้หลายวิชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาประพันธ์เพลง วิชาออกแบบเสียง วิชาประพันธ์ดนตรีประกอบภาพยนตร์ฯ ซึ่งเขาเป็นผู้สอนอย่างต่อเนื่องยาวนานมากว่า 12 ปี วิชาเหล่านี้มีการสอนในต่างประเทศมานานแล้ว แต่ในเมืองไทยไม่เคยมีการสอนมาก่อน เขาเป็นผู้บุกเบิกให้มีการสอนวิชาเหล่านี้ขึ้นจนกระทั่งมหาวิทยาลัยหลายแห่งได้ทำการบรรจุวิชาเหล่านี้เข้าในหลักสูตรในที่สุด นี่จึงเป็นเหตุทำให้เขาหันเหมาทางด้านวิชาการอย่างเต็มตัว
ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 เขาได้ย้ายมาเป็น Executive Producer ให้กับบริษัท บัตเตอร์ฟลาย เรคคอร์ด จำกัด ควบคู่ไปกับการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับดนตรีชาติพันธ์ในเอเชีย ซึ่งได้ทำมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547 โดยเขาได้เป็นผู้ริเริ่มโครงการที่มีชื่อว่า “อุษาอัสลิ สายเลือดเดียวกัน สายพันธุ์นาฏดนตรี” ซึ่งนำเสนอสมมุติฐานใหม่แก่ทางสาขาวิชาดนตรีชาติพันธ์วิทยาสองข้อ
1.ในเมื่อมนุษย์มีพันธุกรรมที่เชื่อมโยงเป็นครอบครัวเดียวกันทางสายเลือดแล้ว เป็นไปได้หรือไม่ว่าดนตรีหรือศิลปะวัฒนธรรมอื่น เช่น นาฏศิลป์ จะมีพันธุกรรมเชื่อมโยงเช่นเดียวกันและสัมพันธ์กับการอพยพย้ายถิ่น
2.หากสมมุติฐานข้อแรกเป็นไปได้ ดนตรีก็น่าจะจำแนกออกเป็นสาแหรกวงศ์ตระกูลได้เหมือนที่ภาษาแยกออกได้เป็นตระกูลต่างๆ
เขาได้ทำการเก็บข้อมูลและศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังเรื่อยมา และยังคงทำมาจนถึงทุกวันนี้ โดยมีความตั้งใจว่าข้อมูลที่ได้รวบรวมมาทั้งหมดจะจัดสร้างเป็นฐานข้อมูลนาฏดนตรีเอเชียเพื่อให้คนอื่นๆ ได้ศึกษากันต่อไป ในปีพ.ศ. 2549 เขาได้เป็นผู้ริเริ่มโครงการ "ร้อง บรรเลง เพลงของพ่อ" โครงการเผยแผ่เพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ประกอบด้วยอัลบั้มเพลง ภาพยนตร์สารคดี และคอนเสิร์ตเทิดพระเกียรติ
ต่อมาในปีพ.ศ. 2555 เขาได้เป็นผู้ริเริ่มและเป็นหัวหน้าโครงการศิลปะเทิดพระเกียรติครั้งประวัติศาสตร์ "นิทานแผ่นดิน" ที่มีขึ้นเนื่องในวโรกาสครบรอบ 84 พระชนม์พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ โครงการนำเสนอด้วยบทเพลงชื่อ นิทานแผ่นดิน ที่เล่าความเป็นมาของคำว่า ราชา-พระเจ้าแผ่นดิน รวมทั้งเป็นการทำงานร่วมกันของศิลปินดนตรีมากมายหลายท่านจากทั้งสี่ภาค และศิลปินทัศนศิลป์ระดับชาติอีก 9 ท่าน ที่มาร่วมกันทำ Land Art หรือนิเวศศิลป์ขนาดใหญ่ขึ้น 9 แห่งทั่วประเทศ ทั้งหมดถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์สารคดียาว 10 ตอน ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
ในปีพ.ศ. 2557 เขารับหน้าที่เป็นมิวสิกไดเร็คเตอร์และคอมโพสเซอร์ ประพันธ์ดนตรีให้กับการแสดงมิวสิกอลเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เรื่อง “พระมหาชนก เดอะฟีโนมินอนไลฟ์โชว์” (The Phenomenon Live Show) ซึ่งจัดแสดงบนเวทีที่สร้างขึ้นกลางทะเลสาบของสวนเบญจกิตติ
และในปีพ.ศ. 2558 ในคอนเสิร์ท “The Symphonic of Wongtawan Concert” เขาได้ทำการแสดงดนตรีร่วมสมัยที่ผสมผสานดนตรีโปรเกรสซีฟร๊อคเข้ากับดนตรีซิมโฟนี่ออร์เคสตร้า ซึ่งเป็นการกลับมารวมตัวกันแสดงอีกครั้งของวงตาวัน เพื่อฉลองครบรอบ 30 ปีของวง ร่วมกับวงออร์เคสตร้า 60 ชิ้นที่ใช้ชื่อว่า มหานครฟิลฮาร์โมนิคออร์เคสตร้า ปิดท้ายปี 2558 ด้วยการแสดงชุด “มหากาพย์นิทานแผ่นดิน” ในงาน “Thailand Countdown” ซึ่งจัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การแสดงครั้งนี้ประกอบด้วยวงดนตรีวงใหม่ของเขาที่ชื่อ อุษาอัสลิ ประกอบด้วยนักดนตรีจากไทยและนักดนตรีจากอาเซียนอีก 7 ประเทศร่วมด้วย วงมหานครฟิลฮาร์โมนิคออร์เคสตร้า ทำการแสดงบนเวทีที่สร้างบนเรือขนาดยักษ์ลอยอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาโดยมีพระปรางค์วัดอรุณเป็นฉากหลัง บทเพลงบอกเล่าเรื่องราวของความเป็นไทยและชนชาติพี่น้องในสุวรรณภูมิ เริ่มตั้งแต่ปรัมปราคติไทของการสร้างโลกและสวรรค์จากคัมภีร์อาหมบุราณจี มาจนสิ้นสุดที่ยุคปัจจุบัน
ปัจจุบันเขาเป็น Executive Producer และ Composer อยู่ที่บริษัท ฮัมมิ่ง เฮ้าส์ จำกัด เป็นอาจารย์พิเศษวิชาการประพันธ์เพลง และ วิชา Film Scoring ให้กับคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นอาจารย์พิเศษวิชา Film Sound ให้กับคณะวิศวกรรมดนตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ เจ้าคุณทหารลาดกระบัง และรับเชิญเป็นวิทยากรพิเศษในเรื่อง การประพันธ์เพลง การใช้คอมพิวเตอร์ในงานดนตรี และการออกแบบเสียง ให้กับสถาบันต่างๆ หลายแห่ง
I. Purana Ganesha Mantra
II. 17 Names
III. Shri Vakratundamahagaya / Ganapatye Gayatri
IV. Shanti Mantra
V. Atharฺvashirsha
อัลบั้ม “กระดี่ได้น้ำ” (2531)
- ทนไม่ได้: ทำนอง (เรียบเรียง อัสนี โชติกุล)
อัลบั้ม “ฟักทอง” (2532)
- วัวลืมตัว: ทำนอง/เรียบเรียงดนตรี
อัลบั้ม “สัปปะรด” (2533)
- เล็กลง: ทำนอง/เรียบเรียงดนตรี
อัลบั้ม “รุ้งกินน้ำ” (2536)
- อเมริกา: ทำนอง/เรียบเรียงดนตรี
- ลักไก่: ทำนอง/เรียบเรียงดนตรี
อัลบั้ม “บางอ้อ” (2540)
- เดือนเมษา: ทำนอง/เรียบเรียงดนตรี
- อย่าเลย ขอบใจ: ทำนอง/เรียบเรียงดนตรี
- I Love You: ทำนอง/เรียบเรียงดนตรี
อัลบั้ม "หิน ผา กา ดาบ" (2540)
- ดูเอาเอง: เรียบเรียงดนตรี
- อยากไปไหนก็ไป: ทำนอง/เรียบเรียงดนตรี
อัลบั้ม “Magic Peter” (2542)
- ไม่อยากแล้ว: ทำนอง-เรียบเรียง
อัลบั้ม "X-Ray" (2543)
- X Ray: ทำนอง/เรียบเรียงดนตรี
- ฝากเอาไว้ก่อน: เรียบเรียงดนตรี
- ไม่เสียหาย: เรียบเรียงดนตรี
อัลบั้ม "Version 4.0" (2544)
- แลกมาด้วยหัวใจ: ทำนอง-เรียบเรียง
อัลบั้ม “Golden Eye” (2540) : ทำนอง/เรียบเรียงดนตรี/คีย์บอรด์/Harp
- อย่ามองตรงนั้น: ทำนอง/เรียบเรียงดนตรี
- ใบไม้: ทำนอง/เรียบเรียงดนตรี
อัลบั้ม “5th Avenue” (2542)
- ฉันมองไม่เห็นใครเลย: ทำนอง/เรียบเรียงดนตรี
อัลบั้ม "Dancing Queen” (2544)
- คิดผิดคิดใหม่: ทำนอง/เรียบเรียงดนตรี
อัลบั้ม “Beau” (2539)
- ไม่มีอีกแล้ว: ทำนอง/เรียบเรียงดนตรี
อัลบั้ม “Miracle” (2542)
- แค่คำว่ารัก: ทำนอง/เรียบเรียงดนตรี
อัลบั้ม "รักยิ่งใหญ่จากชายคนหนึ่ง” (2544)
- กีรติ: เรียบเรียงดนตรี
- แอบรักเธอ: เรียบเรียงดนตรี
นัท มีเรีย เบนเนเดดตี้
อัลบั้ม “Nat” (2539)
- อย่าทำ อย่าทำ: ทำนอง/เรียบเรียงดนตรี
อัลบั้ม “Sugar Free” (2541)
- อย่าโยเย: ทำนอง/เรียบเรียงดนตรี
อัลบั้ม “ธีรภัทร” (2544)
- ธีรภัทร: ทำนอง/เรียบเรียงดนตรี
อัลบั้ม “เพลงมันพาไป” (2546)
- ยิ่งนิ่ง ยิ่งใส: เรียบเรียงดนตรี
อัลบั้ม “ยินยอม” (พี่น้องร้องเพลง อัสนี-วสันต์ 2) (2545)
- ขลุ่ยผิว: ขับร้อง/เรียบเรียงดนตรี
อัลบั้ม “The Butterfly Revolution” (2547)
- ดนตรีคีตา: ขับร้อง/เรียบเรียงดนตรี
Double U (ชวิน จิตรสมบูรณ์ (จั๊ก) & พรวิสา มีลาภสม (หญิง))
อัลบั้ม “Double U” (2541)
- ฉันจะตาม: ทำนอง/เรียบเรียงดนตรี
อัลบั้ม “Glow In The Dark” (2543)
- ตัวจริงของเธอ: ทำนอง/เรียบเรียงดนตรี
อัลบั้ม “Moving Mos” (2538)
- ขอให้ได้ลอง: ทำนอง/เรียบเรียงดนตรี
อัลบั้ม "มอสแมวหมู่" (2540)
- จะไปไหน: ทำนอง/เรียบเรียงดนตรี
1.1 เพลงในการบันทึกเสียงยอดเยี่ยม: "กาม" ศิลปิน-วงตาวัน, คำร้อง/ทำนองโดย พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา, เรียบเรียงโดย วงตาวัน
1.2 ศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม: วงตาวัน จากอัลบั้ม "ม็อบ"
1.3 อัลบั้มยอดเยี่ยม: ม็อบ โดย "วงตาวัน"
2. สีสันอะวอร์ดส์ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2536
2.1 ศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม : วงตาวัน จากอัลบั้ม "12 ราศี"
3. สีสันอะวอร์ดส์ ครั้งที่ 10 ประจำปี 2540
3.1 เพลงยอดเยี่ยม: "สองมือ" ศิลปิน-พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา, คำร้อง/ทำนองโดย พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.