Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เภสัชกรหญิง ท่านผู้หญิงปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม วิทุรธรรมพิเนตุ; 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2475) เป็นเภสัชกรชาวไทย เป็นธิดาของพระยาวิทุรธรรมพิเนตุ (โต๊ะ อัมระนันทน์) กับคุณหญิงจำรัส วิทุรธรรมพิเนตุ (สกุลเดิม ยอดมณี) จบการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตในหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมื่อปีพ.ศ. 2499 เป็นผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลกด้านเภสัชตำรับสากลและการเตรียมการทางเภสัชกรรม (WHO Expert Advisory Panel on the International Pharmacopoeia and Pharmaceutical) และประธานกรรมการมูลนิธิพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี เคยดำรงตำแหน่งสำคัญทางการแพทย์ได้แก่ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข [1]อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา นอกจากนี้ ยังมีบทบาทดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมือง โดยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ด้านชีวิตส่วนตัว ท่านผู้หญิงปรียา สมรสกับนายแพทย์ หม่อมราชวงศ์อุดมพร เกษมสันต์ ท่านผู้หญิงปรียามีบุตรสองคนได้แก่ ม.ล. อนุพร เกษมสันต์ และ ม.ล. พงศ์ธร เกษมสันต์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เภสัชกรหญิง ท่านผู้หญิง ปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา | |
---|---|
เกิด | ปรียา วิทุรธรรมพิเนตุ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 |
สัญชาติ | ไทย |
การศึกษา | ปริญญาโท วิทยาลัยเภสัชกรรมและวิทยาศาสตร์แห่งฟิลาเดเฟีย สหรัฐอเมริกา และ ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด อังกฤษ |
อาชีพ | เภสัชกร คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ |
คู่สมรส | หม่อมราชวงศ์อุดมพร เกษมสันต์ |
บิดามารดา | พระยาวิทุรธรรมพิเนตุ (โต๊ะ อัมระนันทน์) คุณหญิงจำรัส วิทุรธรรมพิเนต |
ท่านผู้หญิงปรียา เกิดเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 ที่จังหวัดพระนคร เป็นธิดาของพระยาวิทุรธรรมพิเนตุ (โต๊ะ อัมระนันทน์) กับคุณหญิงจำรัส วิทุรธรรมพิเนตุ (สกุลเดิม ยอดมณี) เข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย[2] และสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ภายหลังย้ายไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) เมื่อปี พ.ศ. 2499 และศึกษาต่อในระดับปริญญามหาบัณฑิต ณ วิทยาลัยเภสัชกรรมและวิทยาศาสตร์แห่งฟิลาเดเฟีย (Philladelphia College of Pharmacy and Science) สหรัฐ ในปี พ.ศ 2504 เริ่มต้นชีวิตการทำงานราชการในฐานะนักวิทยาศาสตร์ชั้นโท กองวิเคราะห์ยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 และได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2531 และดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2534
ท่านผู้หญิงปรียา ได้ขยายการติดต่อกับต่างประเทศให้บุคลากรทางเภสัชกรรมมีความรู้ความชำนาญมากขึ้น จัดตั้งสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขแห่งชาติ จัดทำตำรายาเล่มแรกของประเทศไทยและริเริ่มโครงการผลิตสารมาตรฐานอาเซียน และโครงการเฝ้าระวังคุณภาพมาตรฐานของยาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ด้วยผลงานของท่านผู้หญิงปรียาจึงได้รับความไว้วางใจดำรงตำแหน่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)[3] และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์เภสัชศาสตร์จากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน ปี พ.ศ. 2529
ท่านผู้หญิงปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.