ประเทศตูนิเซีย
ประเทศแอฟริกาเหนือ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประเทศแอฟริกาเหนือ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตูนิเซีย (อังกฤษ: Tunisia; อาหรับ: تونس; เบอร์เบอร์: Tunest; ฝรั่งเศส: Tunisie) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐตูนิเซีย (อังกฤษ: Tunisian Republic[18]; อาหรับ: الجمهورية التونسية; ฝรั่งเศส: République tunisienne) เป็นประเทศในแอฟริกาเหนือบนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีอาณาเขตทางตะวันตกจรดประเทศแอลจีเรีย และทางใต้และตะวันตกจรดประเทศลิเบีย พื้นที่ร้อยละ 40 ของประเทศประกอบด้วยทะเลทรายสะฮารา ในขณะที่ส่วนที่เหลือประกอบด้วยพื้นที่ทำกินอันอุดมสมบูรณ์ และชายฝั่งที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ตูนิเซียมีพื้นที่ 163,610 ตารางกิโลเมตร (63,170 ตารางไมล์) และมีประชากร 12.1 ล้านคน ตูนิเซียประกอบด้วยแนวชายฝั่งทอดยาวบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนและยังเป็นที่ตั้งของแองเจลาเคป หรือแหลมเองเจลาถือเป็นจุดเหนือสุดของทวีปแอฟริกา มีเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือตูนิส ซึ่งสันนิษฐานว่าชื่อประเทศถูกตั้งชื่อตามชื่อเมืองตูนิส ตูนิเซียยังมีชื่อเสียงในด้านเมืองโบราณคาร์เธจซึ่งเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก รวมถึงเมืองอัลก็อยเราะวานที่มีสถานะเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก ตูนิเซียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
สาธารณรัฐตูนิเซีย الجمهورية التونسية (อาหรับ) | |
---|---|
ที่ตั้งของประเทศตูนิเซียในแอฟริกาเหนือ | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | ตูนิส 36°49′N 10°11′E |
ภาษาราชการ | อาหรับ[2] |
ภาษาพูด | |
กลุ่มชาติพันธุ์ | อาหรับ-เบอร์เบอร์ 98%, ยุโรป 1%, ยิวและอื่น ๆ 1% [8][9] |
ศาสนา | อิสลาม (ศาสนาประจำชาติ)[10] |
การปกครอง | รัฐเดี่ยว ระบบกึ่งประธานาธิบดี สาธารณรัฐ[11][12] |
• ประธานาธิบดี | ก็อยส์ ซะอีด |
• นายกรัฐมนตรี | Kamel Madouri |
• ประธานสภา | รอชิด อัลเฆาะนูชี |
สภานิติบัญญัติ | Assembly of the Representatives of the People |
ก่อตั้ง | |
814 ปีก่อนคริสต์ศักราช | |
• อาณาจักรแวนดัล | 435 |
• อัฆลาบิด | 800 |
909 | |
• ราชวงศ์ซีรีด | 972 |
• ราชวงศ์ฮัฟศิด | 1207 |
• ราชวงศ์ฮุซัยนิด | 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1705 |
• เป็นเอกราชจากฝรั่งเศส | 20 มีนาคม ค.ศ. 1956 |
• ประกาศเป็นสาธารณรัฐ | 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1957 |
• รัฐประหาร | 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1987 |
14 มกราคม ค.ศ. 2011 | |
• ประกาศสาธารณรัฐที่ 2 | 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 |
พื้นที่ | |
• รวม | 163,610 ตารางกิโลเมตร (63,170 ตารางไมล์) (อันดับที่ 91) |
5.04 | |
ประชากร | |
• 2020 ประมาณ | 11,708,370[13] (อันดับที่ 81) |
71.65 ต่อตารางกิโลเมตร (185.6 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 110) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2020 (ประมาณ) |
• รวม | 159.707 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[14] |
• ต่อหัว | 13,417 ดอลลาร์สหรัฐ[14] |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2020 (ประมาณ) |
• รวม | 44.192 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[14] |
• ต่อหัว | 3,713 ดอลลาร์สหรัฐ[14] |
จีนี (2017) | 35.8[15] ปานกลาง |
เอชดีไอ (2019) | 0.740[16] สูง · อันดับที่ 95 |
สกุลเงิน | ดีนาร์ตูนิเซีย (TND) |
เขตเวลา | UTC+1 (เวลายุโรปกลาง) |
ขับรถด้าน | ขวา |
รหัสโทรศัพท์ | +216 |
โดเมนบนสุด |
ในสมัยโบราณ ดินแดนของตูนิเซียเป็นที่อยู่อาศัยของชนเบอร์เบอร์ กลุ่มชาติพันธุ์โบราณที่ตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติกไปจนถึงอียิปต์ และจากบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนไปจนถึงแม่น้ำไนเจอร์ ก่อนที่ฟินิเชียจะเริ่มเดินทางมาถึงในศตวรรษที่ 12 ก่อนคริสต์ศักราชโดยตั้งถิ่นฐานหลายแห่ง และมีคาร์เธจเป็นเมืองที่มีอำนาจมากที่สุดในช่วงศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช ในช่วงเวลานั้น คาร์เธจกลายเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองด้านการค้าและมีสถานะเป็นคู่แข่งทางด้านการทหารกับสาธารณรัฐโรมันจนถึง 146 ปีก่อนคริสตกาล ความพ่ายแพ้ในสงครามส่งผลให้ดินแดนทั้งหมดถูกยึดครองโดยชาวโรมันเป็นระยะเวลากว่า 800 ปี ศาสนาคริสต์รวมถึงอารยธรรมตะวันตกเข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของผู้คน และได้ทิ้งมรดกทางสถาปัตยกรรมเอาไว้ เช่น สนามกีฬาเอลเจม ในคริสตศตวรรษที่ 7 ชาวอาหรับมุสลิมได้ยึดครองดินแดนทั้งหมด (ประสบความสำเร็จใน ค.ศ. 697 หลังจากเริ่มต้นในปี 647) และตั้งถิ่นฐานร่วมกับชนเผ่าท้องถิ่นจำนวนมาก ด้วนเหตุนี้เอง ศาสนาอิสลามและวัฒนธรรมมุสลิมเริ่มเข้ามามามีบทบาทในท้องถิ่น และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวอาหรับก็กลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ต่อมาใน ค.ศ. 1546 จักรวรรดิออตโตมันขยายอำนาจและเข้ามายึดครองบริเวณนี้เป็นเวลา 300 ปีกระทั่งสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1881 ด้วยการยึดครองโดยฝรั่งเศส ก่อนที่จะได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1956 ในฐานะสาธารณรัฐตูนิเซียภายใต้การนำของฮาบิบ เบอร์กุยบา ผู้ซึ่งกลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกในเวลาต่อมา
ตูนิเซียต้องเผชิญความขัดแย้งทางการเมือง และปัญหาภายในหลายด้านนำไปสู่การปฏิวัติใน ค.ศ. 2011 ซึ่งเป็นการโค่นล้มประธานาธิบดีซึ่งครองอำนาจมายาวนานกว่าสองทศวรรษอย่าง ซีน อัลอาบิดีน บิน อะลี และยังปลุกกระแสอาหรับสปริงไปทั่วภูมิภาค[19] มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นหลังจากนั้น โดยระหว่าง ค.ศ. 2014–20 ตูนิเซียได้รับการจัดอันดับโดยอิงเกณฑ์ดัชนีประชาธิปไตยให้เป็นประเทศเดียวในโลกอาหรับที่มีฐานะเป็นรัฐประชาธิปไตย[20] อย่างไรก็ตาม ด้วยระบอบประชาธิปไตยที่ไม่สมบูรณ์กอปรกับความขัดแย้งในประเทศที่ยังมีอยู่เนือง ๆ ในปัจจุบันนักวิชาการจึงถือว่าตูนิเซียมีระบบการเมืองแบบลูกผสม[21]
ตูนิเซียเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่ประเทศในทวีปแอฟริกาที่มีอันดับสูงสุดในดัชนีการพัฒนามนุษย์ โดยมีรายได้ต่อหัวสูงที่สุดแห่งหนึ่งในทวีป โดยอยู่ในอันดับที่ 129 ในด้านรายได้อัตราจีดีพี ภาษาราชการของประเทศคือภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่ ในขณะที่ภาษาอาหรับตูนิเซียเป็นภาษาพูดที่ใช้แพร่หลายที่สุด โดยภาษาฝรั่งเศสมีบทบาทในด้านการศึกษา และสถานที่สาธารณะในบางบริบททว่าไม่มีสถานะเป็นภาษาราชการ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับและมุสลิม โดยมีชาวคริสเตียนกระจายตัวอยู่บ้างในบางภูมิภาค ตูนิเซียได้รับการยอมรับจากนานาชาติและมีส่วนร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศหลายแห่ง เช่น สหประชาชาติ, องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส, สันนิบาตอาหรับ, องค์การความร่วมมืออิสลาม, สหภาพแอฟริกา, ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด, ศาลอาญาระหว่างประเทศ และ กลุ่ม 77 และยังมีความสัมพันธ์ทางการเมืองและการค้าที่ใกล้ชิดกับบางประเทศในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส[22] และ อิตาลี เนื่องจากความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์ ตูนิเซียยังมีข้อตกลงสมาคมกับสหภาพยุโรป และได้รับสถานะเป็นพันธมิตรหลักของสหรัฐ
ประเทศตูนิเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็นเขตผู้ว่าการจำนวน 24 เขต ดังนี้
หมายเลข | เขตผู้ว่าการ | ภาษาอังกฤษ | ภาษาอาหรับ |
---|---|---|---|
1 | อัรยานะฮ์ | Ariana | أريانة |
2 | บาญะฮ์ | Béja | باجة |
3 | บินอะรูส | Ben Arous | بن عروس |
4 | บันซัรต์ | Bizerte | بنزرت |
5 | กาบิส | Gabès | ڨابس |
6 | กัฟเศาะฮ์ | Gafsa | ڨفصة |
7 | ญันดูบะฮ์ | Jendouba | جندوبة |
8 | กอยร์วาน | Kairouan | قيروان |
9 | อัลกอศรีน | Kasserine | الڨصرين |
10 | กิบิลี | Kebili | ڨبلي |
11 | อัลกาฟ | Kef | الكاف |
12 | อัลมะดียะฮ์ | Mahdia | المهدية |
13 | มันนูบะฮ์ | Manouba | موبنة |
14 | เมดนีน | Medenine | مدنين |
15 | อัลมุนัสตีร | Monastir | المنستير |
16 | นาบิล | Nabeul | نابل |
17 | เศาะฟากิส | Sfax | صفاقس |
18 | ซีดิบูซีด | Sidi Bouzid | سيدي بوزيد |
19 | ซิลยานะฮ์ | Siliana | سليانة |
20 | ซูซะฮ์ | Sousse | سوسة |
21 | ตะฏอวีน | Tataouine | تطاوين |
22 | เตาซัร | Tozeur | توزر |
23 | ตูนิส | Tunis | تونس |
24 | ซัฆวาน | Zaghouan | زغوان |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.