Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นีออน (อังกฤษ: neon) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ Ne และเลขอะตอม 10 นีออนเป็นก๊าซเฉื่อย เป็นสมาชิกหมู่ที่ 8 ของตารางธาตุ เป็นแก๊สอะตอมเดี่ยวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นและเกือบจะไม่เกิดปฏิกิริยาเคมีใด ๆ และเกิดแสงเรืองสีแดงเมื่อใช้ในหลอดสุญญากาศ (vacuum discharge tube) กับไฟนีออน และพบในปริมาณเล็กน้อยในอากาศ (หนึ่งใน 55,000 ส่วน) ได้จากการนำอากาศเหลวมากลั่นลำดับส่วนและเกือบจะไม่เกิดปฏิกิริยาเคมีใด ๆ เลย
นีออน | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รูปลักษณ์ | เป็นแก๊สไม่มีสีแต่จะเรืองแสงสีส้มแดงในสนามไฟฟ้าแรงดันสูง | ||||||||||||||
Standard atomic weight Ar°(Ne) | |||||||||||||||
| |||||||||||||||
นีออนในตารางธาตุ | |||||||||||||||
| |||||||||||||||
หมู่ | group 18 (noble gases) | ||||||||||||||
คาบ | คาบที่ 2 | ||||||||||||||
บล็อก | บล็อก-p | ||||||||||||||
การจัดเรียงอิเล็กตรอน | [He] 2s2 2p6 | ||||||||||||||
จำนวนอิเล็กตรอนต่อชั้น | 2, 8 | ||||||||||||||
สมบัติทางกายภาพ | |||||||||||||||
วัฏภาค ณ STP | แก๊ส | ||||||||||||||
จุดหลอมเหลว | 24.56 K (-248.59 °C, -415.46 °F) | ||||||||||||||
จุดเดือด | 27.104 K (-246.046 °C, -410.883 °F) | ||||||||||||||
ความหนาแน่น (ณ STP) | 0.9002 g/L | ||||||||||||||
เมื่อเป็นของเหลว (ณ b.p.) | 1.207[2] g/cm3 | ||||||||||||||
Triple point | 24.556 K, 43.37[3][4] kPa | ||||||||||||||
Critical point | 44.4918 K, 2.7686[4] MPa | ||||||||||||||
ความร้อนแฝงของการหลอมเหลว | 0.335 kJ/mol | ||||||||||||||
ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ | 1.71 kJ/mol | ||||||||||||||
ความจุความร้อนโมลาร์ | 5R/2 = 20.786 J/(mol·K) | ||||||||||||||
ความดันไอ
| |||||||||||||||
สมบัติเชิงอะตอม | |||||||||||||||
เลขออกซิเดชัน | 0 | ||||||||||||||
รัศมีโคเวเลนต์ | 58 pm | ||||||||||||||
รัศมีวานเดอร์วาลส์ | 154 pm | ||||||||||||||
เส้นสเปกตรัมของนีออน | |||||||||||||||
สมบัติอื่น | |||||||||||||||
โครงสร้างผลึก | รูปลูกบาศก์กลางหน้า | ||||||||||||||
การนำความร้อน | 49.1×10−3 W/(m⋅K) | ||||||||||||||
ความเป็นแม่เหล็ก | ไดอะแมกเนติก[5] | ||||||||||||||
Bulk modulus | 654 GPa | ||||||||||||||
ความเร็วของเสียง | (แก๊ส, 0 °C) 435 m/s | ||||||||||||||
เลขทะเบียน CAS | 7440-01-9 | ||||||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||||||
การทำนาย | วิลเลียม แรมเซย์ (1897) | ||||||||||||||
การค้นพบ | วิลเลียม แรมเซย์ & มอร์ริส ทราเวอร์[6] (1898) | ||||||||||||||
การแยกให้บริสุทธิ์เป็นครั้งแรก | วิลเลียม แรมเซย์ & มอร์ริส ทราเวอร์[7] (1898) | ||||||||||||||
ไอโซโทปของนีออน | |||||||||||||||
ไม่มีหน้า แม่แบบ:กล่องข้อมูลไอโซโทปของนีออน | |||||||||||||||
นีออนค้นพบโดย Sir William Ramsay และ M.W. Travers ถูกค้นพบที่ กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1898 เป็นเศษส่วนที่ระเหยง่ายจากอาร์กอนเหลว ณ อุณหภูมิที่อากาศกลายเป็นของเหลว ส่วนอาร์กอนนั้นเป็นแก๊สเล็กน้อยที่เหลืออยู่เมื่อนำแก๊สไนโตรเจนจากอากาศมาทำปฏิกิริยากับแมกนีเซียมที่เผาจนร้อนแดง คำว่า Neon มาจากคำกรีก neos ตรงกับคำอังกฤษ new แปลว่าใหม่ และต่อมาพวกเขาค้นพบธาตุซีนอนโดยใช้วิธีการที่คล้ายกัน
การใช้ประโยชน์ของนีออนในเชิงพาณิชย์ที่สำคัญที่สุดได้แก่ กลไกการทำให้เกิดแสงสว่าง และที่คุ้นเคยมากที่สุดคือหลอดนีออนที่ใช้เป็นไฟโฆษณา หลอดเรืองแสง (fluorescence lamp) หลอดนำแก๊ส (gaseous conduction lamp) หลอดไฟที่บรรจุด้วยนีออนที่ความดันต่ำมาก (เพียงไม่กี่ mm Hg) ให้แสงส้มแดงที่สว่าง ส่วนหลอดไฟนีออนที่ใช้เป็นไฟโฆษณาอาจบรรจุด้วยแก๊สอื่นด้วย เช่น ฮีเลียม อาร์กอนหรือปรอท และสีของแสงไฟขึ้นกับชนิดของแก๊สผสมและสีของแก้วของหลอดไฟ นอกจากนี้แล้วหลอด Geiger-Muller ที่ใช้ในการจับและนับอนุภาคนิวเคลียร์ ก็บรรจุด้วยของผสมของนีออนและโบรมีน หรือของผสมของนีออนและคลอรีน Ionization chambers, proportional counters, neutron fission counter, scintillation counters และ cosmic ray counters ก็อาจใช้นีออน อาร์กอน ฮีเลียม หรือของผสมของแก๊สเหล่านี้กับไฮโดรคาร์บอน เฮโลเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สเลเซอร์ (gas lasers) ก็ใช้ของผสมของฮีเลียมและนีออน นีออนที่ใช้ในหลอดสุญญากาศใช้เป็นตัวชี้วัดไฟฟ้าแรงสูง ดักฟ้าผ่าหลอดเมตรคลื่นหลอดโทรทัศน์ นีออนเหลวถูกนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์เป็นสารทำความเย็น อุณหภูมิในการใช้งานไม่จำเป็นต้องอุณหภูมิต่ำ และทั้งก๊าซนีออนและนีออนเหลวค่อนข้างมีราคาแพง เนื่องจากธาตุนีออนค่อนข้างจะมีอยู่น้อยในธรรมชาติ
นีออนไม่ติดไฟและไม่ปรากฏเป็นพิษแต่อย่างใด
ไอโซโทป | มวลอะตอม | ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ (%) |
---|---|---|
20Ne | 19.992 | 90.48 |
21Ne | 20.994 | 0.27 |
22Ne | 21.991 | 9.25 |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.