Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โอกาเนสซอน (อังกฤษ: Oganesson) เป็นชื่อที่ตั้งโดยสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ[10] สำหรับธาตุหลังแอกทิไนด์ที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 118 และมีสัญลักษณ์คือ Og โอกาเนสซอนยังรู้จักกันในชื่อว่า เอคา-เรดอน หรือ ธาตุ 118 และบนตารางธาตุ มันถูกจัดให้อยู่ในบล็อก-p และเป็นธาตุตัวสุดท้ายบนคาบที่ 7 ปัจจุบัน โอกาเนสซอนเป็นธาตุสังเคราะห์เพียงตัวเดียวของธาตุหมู่ 18 มันยังเป็นธาตุที่มีเลขอะตอมและมวลอะตอมมากที่สุดเท่าที่ค้นพบในปัจจุบัน
ออกาเนสซอน | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
การอ่านออกเสียง |
| |||||
รูปลักษณ์ | ไม่ทราบ | |||||
เลขมวล | [294] | |||||
ออกาเนสซอนในตารางธาตุ | ||||||
| ||||||
หมู่ | group 18 (noble gases) | |||||
คาบ | คาบที่ 7 | |||||
บล็อก | บล็อก-p | |||||
การจัดเรียงอิเล็กตรอน | [Rn] 5f14 6d10 7s2 7p6 (predicted)[3][4] | |||||
จำนวนอิเล็กตรอนต่อชั้น | 2, 8, 18, 32, 32, 18, 8 (คาดว่า) | |||||
สมบัติทางกายภาพ | ||||||
วัฏภาค ณ STP | ของแข็ง (คาดว่า)[5] | |||||
จุดเดือด | 350±30 K (80±30 °C, 170±50 (คาดว่า)[5] °F) | |||||
Density เมื่อเป็นของเหลว (ณ m.p.) | 4.9–5.1 (คาดว่า)[5] g/cm3 | |||||
Critical point | 439 K, 6.8 (extrapolated)[6] MPa | |||||
ความร้อนแฝงของการหลอมเหลว | 23.5 (คาดว่า)[5] kJ/mol | |||||
ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ | 19.4 (extrapolated)[6] kJ/mol | |||||
สมบัติเชิงอะตอม | ||||||
เลขออกซิเดชัน | (−1),[4] (0), (+1),[7] (+2),[8] (+4),[8] (+6)[4] (predicted) | |||||
รัศมีโคเวเลนต์ | 157 (คาดว่า)[5] pm | |||||
สมบัติอื่น | ||||||
เลขทะเบียน CAS | 54144-19-3[9] | |||||
ประวัติศาสตร์ | ||||||
การทำนาย | นีลส์ บอร์ (1922) | |||||
การค้นพบ | สถาบันร่วมเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์ ห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอว์เรนซ์ ลิเวอร์มอร์ (2002) | |||||
ไอโซโทปของออกาเนสซอน | ||||||
ไม่มีหน้า แม่แบบ:กล่องข้อมูลไอโซโทปของออกาเนสซอน | ||||||
อะตอมกัมมันตรังสีของโอกาเนสซอนมีความไม่เสถียรสูงมาก เนื่องด้วยค่ามวลที่สูง และนับตั้งแต่ พ.ศ. 2548 มีเพียงสามในสี่อะตอมของไอโซโทป 294Og ที่ถูกตรวจจับได้[11] แม้ว่านี่จะทำให้การสำรวจเพื่อระบุลักษณะสมบัติ และสารประกอบของธาตุเป็นไปได้ยาก แต่การคำนวณในทางทฤษฎีก็ไปตรงกับการทำนายจำนวนมาก รวมทั้งการคำนวณที่ไม่ได้ผลออกมาตรงกัน เช่น แม้ว่าโอกาเนสซอนจะอยู่ในหมู่ 18 มันอาจจะไม่ใช่แก๊สมีสกุล ต่างกับธาตุอื่นๆในหมู่ 18[3] แต่เดิมมันถูกทำนายว่าเป็นแก๊ส ณ ภาวะมาตรฐาน แต่ปัจจุบัน มันถูกทำนายว่าจะเป็นของแข็ง เนื่องด้วยผลกระทบจากความสัมพันธ์ระหว่างธาตุเคมี[3]
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016 สหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศได้เสนอชื่อ โอกาเนสซอน (oganesson; สัญลักษณ์ธาตุ Og) เป็นชื่อทางการของธาตุนี้ ชื่อ "โอกาเนสซอน" มาจากชื่อยูริ โอกาเนสเซียน นักฟิสิกส์นิวเคลียร์ชาวรัสเซีย[12]
ปลายปี พ.ศ. 2541 รอแบร์ต สมอลัญชุก นักฟิสิกส์ชาวโปแลนด์ ตีพิมพ์ผลการคำนวณของการหลอมรวมของนิวเคลียสอะตอมที่เกิดขึ้นระหว่างการสังเคราะห์ธาตุเคมีหนักยิ่งยวด รวมถึง อูนอูนออกเทียม[13] การคำนวณของเขาให้ผลออกมาว่าเป็นไปได้ที่จะสร้างอูนอูนออกเทียมขึ้นมาจากการหลอมรวมตะกั่วและคริปทอนเข้าด้วยกัน ภายใต้ภาวะที่ถูกควบคุมไว้อย่างดี[13]
ในปี พ.ศ. 2542 นักวิจัยที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอว์เรนซ์เบิร์กลีย์ ใช้การทำนายนี้สร้างอะตอมขึ้นมา และประกาศการค้นพบลิเวอร์มอเรียม และอูนอูนออกเทียม ในหนังสือ Physical Review Letters[14] ต่อมาไม่นาน ผลการค้นพบก็ถูกตีพิมพ์ลงในนิตยสารไซเอินซ์[15] นักวิจัยรายงานว่าเขาสร้างด้วยปฏิกิริยานี้
ปีต่อมา นักวิจัยได้ตีพิมพ์เอกสารเพิกถอนการค้นพบ หลังจากที่นักวิจัยในห้องปฏิบัติการอื่น ไม่สามารถสร้างอะตอมได้ด้วยวิธีเดียวกันนี้ และที่ห้องปฏิบัติการเบิร์กลีย์เองก็ไม่สามารถสร้างอะตอมขึ้นมาได้อีกครั้ง[16] ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 ผู้อำนวยการของห้องปฏิบัติการได้ประกาศว่าการค้นพบธาตุสองตัวนั้น อยู่บนพื้นฐานของผลการวิจัยจากวิกเตอร์ นิมอฟ[17][18]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อูนอูนออกเทียม คาดว่าเป็นสารบริสุทธิ์เสมอ และเป็นแก๊สที่ STP ไม่มีสี เป็นธาตุสังเคราะห์ เป็นธาตุกัมมันตรังสี และเป็นธาตุหนักยิ่งยวด (superheavy element)
ซึ่งเป็นผลผลิตจากการปะทะกันระหว่าง อะตอมของ แคลิฟอร์เนียม-249 กับ อิออนของ แคลเซียม-48 [19] ดังสมการ
โอกาสการเกิดปฏิกิริยาฟิวชันน้อยมาก เพราะภาคตัดขวางพื้นที่ปฏิกิริยานิวเคลียร์เท่ากับ 0.5 pb (5×10−41 m2) มากกว่า อิออนของแคลเซียมซึ่งเท่ากับ 4×1019 m2 จึงเกิดปฏิกิริยาฟิวชันเพียง 3 ครั้งเท่านั้น
คณะวิจัยในดุบนาได้สังเกต การสลายตัวของอูนอูนออกเทียม-294 พบว่า มีครึ่งชีวิต 0.89 มิลลิวินาที โดยสลายตัวให้ รังสีแอลฟา แล้วกลายเป็น อูนอูนเฮกเซียม-290 เนื่องจากมีเพียง 3 นิวเคลียส เวลาครึ่งชีวิตจึงยังไม่แน่ชัด โดยมีความคลาดเคลื่อนในช่วง 0.89-0.31+1.07 ms
การระบุนิวเคลียสของ อูนอูนออกเทียม-294 ถูกพิสูจน์โดยการสังเคราะห์แยกนิวเคลียสลูก อูนอูนเฮกเซียม-290 ตามสมมติฐาน โดยวิธีกระหน่ำยิงอะตอม คูเรียม-245 ด้วยอิออน แคลเซียม-48 ดังสมการ
แล้วตรวจว่า อูนอูนเฮกเซียม-290 สลายตัวสัมพันธ์กับลูกโซ่การสลายตัวของนิวเคลียส อูนอูนออกเทียม-294
นิวเคลียสลูก อูนอูนเฮกเซียม-290 ไม่เสถียรอย่างมาก โดยสลายตัวด้วยครึ่งชีวิต 14 มิลลิวินาที กลายเป็น อูนอูนควอเดียม-286 ซึ่งอาจเกิดปฏิกิริยาฟิสชันด้วยตนเอง หรือไม่ก็สลายตัวให้รังสีแอลฟา กลายเป็น อูนอูนเบียม-282 ก่อนแล้วจึงเกิดปฏิกิริยาฟิสชันด้วยตนเอง [20]
เมื่อ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2549 (2006) คณะวิจัยจากสถาบันความร่วมมือเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์ ดุบนา สหพันธรัฐรัสเซีย ประกาศผลการค้นพบ ซึ่งเขาตรวจสอบทางอ้อมกับ นิวเคลียสทั้งสามของ อูนอูนออกเทียม-294 (นิวเคลียสแรก เมื่อ พ.ศ. 2545 (2002) และอีกสองนิวเคลียส เมื่อ พ.ศ. 2548 (2005)) [21]
ปัจจุบันมีการสังเคราะห์แล้วเพียง 3 อะตอม [22]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.