Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รองเสวกเอก นายจำนงราชกิจ นามเดิม จรัล บุณยรัตพันธุ์ (4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2442 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2515) อดีตรองราชเลขาธิการ ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงพระราชนิพนธ์ ยูงทอง และคติคารม
นายจำนงราชกิจ (จรัล บุณยรัตพันธุ์) | |
---|---|
เกิด | จรัล บุณยรัตพันธุ์ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2442 จังหวัดพระนคร |
เสียชีวิต | 6 ธันวาคม พ.ศ. 2515 (73 ปี) |
อาชีพ | ข้าราชการ |
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2455 – พ.ศ. 2515 |
คู่สมรส | เฉลิม ศุขปราการ |
บุตร | 1 คน |
บิดามารดา | จ่าง บุณยรัตพันธุ์ วร บุณยรัตพันธุ์ |
นายจำนงราชกิจ นามเดิม จรัล บุณยรัตพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2441 (นับแบบปัจจุบัน คือ พ.ศ. 2442) เป็นบุตรนายจ่าง และ นางวร บุณยรัตพันธุ์ มีพี่น้องเรียงตามลำดับดังนี้
ท่านได้สมรสกับ นางสาวเฉลิม ศุขปราการ (เฉลิม บุณยรัตพันธุ์) บุตรีของร้อยตำรวจเอกหลวงสุขกิจจำนงค์ เมื่อปี พ.ศ. 2476 มีบุตรชาย 1 คน คือ นายอำพน บุณยรัตพันธุ์ ซึ่งสมรสกับหม่อมหลวงสลีระพัฒน์ ลดาวัลย์ ธิดาหม่อมราชวงศ์สล้าง ลดาวัลย์ (นายชิดหุ้มแพร) และนางทองพูน ลดาวัลย์ ณ อยุธยา
นายจำนงราชกิจ ถึงแก่อนิจกรรม ด้วยโรคหลอดเลือดในสมอง เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2515 รวมศิริอายุ 74 ปี เศษ
เริ่มเรียนที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศ เมื่ออายุ 5 ขวบ และโรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์อีก 2ปี และเข้าเป็นนักเรียนประจำที่โรงเรียนราชวิทยาลัย สมัยสายสวลีและสมัยบางขวาง เมื่อ พ.ศ. 2452-2459
ได้เข้ารับราชการในพระราชสำนักพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สังกัดกรมมหรสพ อยู่ 2 ปี จากนั้นโปรดเกล้าฯ ไปรับราชการในกรมราชเลขานุการในพระองค์ (สำนักราชเลขาธิการในปัจจุบัน ) ได้ปฏิบัติราชการจนถึงรัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2499 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็น ข้าราชการพลเรือนชั้นพิเศษ และดำรงตำแหน่งรองราชเลขาธิการ ในปี พ.ศ. 2507 จนกำหนดเกษียณเนื่องจากสูงอายุแต่ก็ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นที่ปรึกษาสำนักราชเลขาธิการจนถึงแก่อนิจกรรม กล่าวได้ว่าเป็นผู้ได้มีชีวิตการทำงานใต้พระบารมีติดต่อกันเป็นเวลานานที่สุด 4 รัชกาล รวมเวลากว่า 60 ปี
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.