มณฑลจี๋หลิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มณฑลจี๋หลินmap

จี๋หลิน (จีน: 吉林; พินอิน: Jílín) เป็นหนึ่งในสามมณฑลทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดคือ ฉางชุน มณฑลจี๋หลินมีอาณาเขตทางทิศตะวันออกติดกับประเทศเกาหลีเหนือ (นครราซ็อน จังหวัดฮัมกย็องเหนือ จังหวัดรยังกัง และจังหวัดชากัง) และประเทศรัสเซีย (ดินแดนปรีมอร์สกี) ทิศเหนือติดกับมณฑลเฮย์หลงเจียง ทิศใต้ติดกับมณฑลเหลียวหนิง และทิศตะวันตกติดกับเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ชื่อของมณฑล "จี๋หลิน" มาจากวลีภาษาแมนจู girin ula หมายถึง "ไปตามลำน้ำ"

ข้อมูลเบื้องต้น มณฑลจี๋หลิน 吉林省, การถอดเสียงชื่อมณฑล ...
มณฑลจี๋หลิน

吉林省
การถอดเสียงชื่อมณฑล
  ภาษาจีนจี๋หลินเฉิ่ง (吉林省 Jílín Shěng)
  อักษรย่อJL / จี๋ ( )
Thumb
ทิวทัศน์ของทะเลสาบสวรรค์ (ทะเลสาบเทียนฉือ)
Thumb
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลจี๋หลิน
พิกัด: 43°42′N 126°12′E
ตั้งชื่อจากมาจาก girin ula วลีภาษาแมนจู แปลว่า "ไปตามลำน้ำ"
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
จี๋หลิน (ค.ศ. 1949–1954)
ฉางชุน (ค.ศ. 1954–ปัจจุบัน)
เขตการปกครอง9 จังหวัด, 60 อำเภอ, 1,006 ตำบล
การปกครอง
  เลขาธิการพรรคBayanqolu
  ผู้ว่าราชการจิ่ง จุ้นไห่ (景俊海)
พื้นที่[1]
  ทั้งหมด191,126 ตร.กม. (73,794 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 14
ความสูงจุดสูงสุด (ภูเขาแพ็กดู)2,744 เมตร (9,003 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2010)[2]
  ทั้งหมด27,462,297 คน
  อันดับอันดับที่ 21
  ความหนาแน่น140 คน/ตร.กม. (370 คน/ตร.ไมล์)
  อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 23
ประชากรศาสตร์
  องค์ประกอบทางชาติพันธุ์
  ภาษาและภาษาถิ่นภาษาจีนกลางตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาษาเกาหลีสำเนียงฮัมกย็อง
รหัส ISO 3166CN-JL
GDP (ค.ศ. 2017)[3]1.53 ล้านล้านเหรินหมินปี้ หรือ 226.44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 23)
 • ต่อหัว56,101 เหรินหมินปี้ หรือ 8,309 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 13)
HDI (ค.ศ. 2018)เพิ่มขึ้น 0.768[4] (สูง) (อันดับที่ 9)
เว็บไซต์www.jl.gov.cn
ปิด

ชาวแมนจูเคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ของมณฑลจี๋หลิน จึงทำให้มณฑลจี๋หลินเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นแมนจูเรียในประวัติศาสตร์ พื้นที่แห่งนี้เคยมีการต่อสู้แย่งชิงและตกอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ของชาวฮั่น ได้แก่ รัฐกลุ่มชนซฺยงหนู, รัฐเซียนเปย์, ราชวงศ์เหลียวของชาวชี่ตัน, ราชวงศ์จินของกลุ่มชนนฺหวี่เจิน, และราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล[5] ประชากรส่วนใหญ่ในมณฑลพูดภาษาจีนกลาง เนื่องด้วยการรับเอาวัฒนธรรมฮั่นและภาษาจีนมาใช้โดยชาวแมนจู ทำให้ภาษาแมนจูถือเป็นภาษาที่ใกล้สูญพันธุ์[6] มณฑลนี้มีชาวเกาหลีอยู่ประมาณร้อยละ 4 ของประชากรทั้งหมด เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กับคาบสมุทรเกาหลี

เช่นเดียวกันกับมณฑลอื่น ๆ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน จี๋หลินได้ผ่านช่วงแรกของการพัฒนาอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของมณฑลจี๋หลิน ซึ่งเด่นด้านอุตสาหกรรมหนัก ได้ประสบปัญหากับการโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชน สิ่งนี้กระตุ้นให้รัฐบาลกลางดำเนินการรณรงค์ที่เรียกว่า "แผนฟื้นฟูพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ" นอกจากนี้ มณฑลจี๋หลินยังมีแหล่งหินน้ำมันเป็นจำนวนมาก

ภูมิศาสตร์

มณฑลจี๋หลินมีพื้นที่ติดต่อดังนี้

ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงทิศตะวันออกเฉียงใต้พื้นที่สูงบริเวณเทือกเขาฉางไป๋ซันซึ่งมีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลมากกว่า 1,000 เมตร ส่วนทิศตะวันตกบริเวณที่ราบซงเหลียว เป็นพื้นที่ค่อนข้างต่ำจึงเหมาะเป็นเขตทำปศุสัตว์ที่สำคัญของมณฑล

ด้านตะวันออกค่อนข้างรับอิทธิพลจากทะเลหวงไห่ และทะเลญี่ปุ่น จึงมีสภาพอากาศแบบชุ่มชื้น มีฝนตกชุก ด้านตะวันตกรับอิทธิพลจากที่ราบสูงมองโกล ทำให้อากาศแห้งแล้งทั้งมณฑลมีลักษณะอากาศเฉพาะแบบมรสุม เกษตรกรรม เป็นแหล่งวัตถุดิบประเภทข้าวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ มีผลผลิตต่าง ๆ ได้แก่ ถั่วเหลือง ข้าวโพด

เขตการปกครอง

มณฑลจี๋หลินแบ่งออกเป็นเขตการปกครองระดับจังหวัดทั้งหมด 9 แห่ง ประกอบด้วย 8 นครระดับจังหวัด (เป็นนครระดับกิ่งมณฑล 1 แห่ง) และ 1 จังหวัดปกครองตนเอง

ข้อมูลเพิ่มเติม เขตการปกครองของมณฑลจี๋หลิน, ชื่อ ...
เขตการปกครองของมณฑลจี๋หลิน
ชื่ออักษรจีนพินอิน
นครฉางชุน长春市Chángchūn Shì
นครจี๋หลิน吉林市Jílín Shì
นครซี่ผิง四平市Sìpíng Shì
นครเหลียวเยฺหวียน辽源市Liáoyuán Shì
นครทงฮว่า通化市Tōnghuà Shì
นครไป๋ชาน白山市Báishān Shì
นครซงเยฺหวียน松原市Sōngyuán Shì
นครไป๋เฉิง白城市Báichéng Shì
จังหวัดปกครองตนเองชนชาติเกาหลี หยันเปียน延边朝鲜族自治州Yánbiān Cháoxiǎnzú Zìzhìzhōu
ปิด

เขตการปกครองระดับจังหวัดทั้ง 9 แห่งนี้ แบ่งย่อยอีกเป็นเขตการปกครองระดับอำเภอ จำนวน 60 แห่ง (ประกอบด้วย 21 เขต, 20 นครระดับอำเภอ, 16 อำเภอ, และ 3 อำเภอปกครองตนเอง) ณ ปลายปี 2017 มีประชากรทั้งสิ้น 27.17 ล้านคน[7]

การเมือง

Thumb
รูปปั้นเหมา เจ๋อตง ในมณฑลจี๋หลิน

การเมืองของมณฑลจี๋หลินมีโครงสร้างเป็นระบบพรรค-รัฐบาล เหมือนกับสถาบันการปกครองในมณฑลอื่น ๆ ในจีนแผ่นดินใหญ่

ผู้ว่าการมณฑลจี๋หลินเป็นตำแหน่งสูงสุดในหน่วยงานบริหารมณฑลจี๋หลิน อย่างไรก็ตาม ในระบบพรรค-รัฐบาลนี้ ผู้ว่าการมณฑลมีอำนาจน้อยกว่าเลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนประจำมณฑลจี๋หลิน หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "หัวหน้าพรรคมณฑลจี๋หลิน"

อุตสาหกรรม

มีฐานอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่งและระบบอุตสาหกรรมที่สมบูรณ์มากมีบริษัทอุตสาหกรรมมากกว่า 14,000 แห่ง อุตสาหกรรมหลัก คือ อุตสาหกรรมวิศวกรรม เคมีภัณฑ์ ปิโตรเคมี อาหารและยา

การคมนาคม

  • ทางรถไฟ - เส้นทางรถไฟสายหลักปักกิ่ง-ฮาร์บินผ่ากลางมณฑล ทำให้เชื่อมต่อเมืองทางเหนือกับใต้

และยังมีเส้นทางตรงถึงฮาร์บิน เซิ่นหยัง ต้าเหลียน ปักกิ่ง เทียนจิน สือเจียจวง จี่หนัน หนันจิง (นานกิง) และเซี่ยงไฮ้ เป็นต้น ทางหลวง จากสถิติเมื่อปลายปี 2004 ทั่วมณฑลจี๋หลินมีถนนหลวง 47,255 กิโลเมตร จากฉางชุนต่อไปยังเมืองสำคัญได้ทั่วมณฑล

  • ทางน้ำ - แม่น้ำที่เป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำเนิ่นเจียง(嫩江) ซงฮัวเจียง (松花江) ถูเหมินเจียง (图们江) และยาลู่เจียง (鸭绿江)
  • ทางอากาศ - สนามบินหลักคือ สนามบินเมืองฉางชุน

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.