Loading AI tools
นักร้องหญิงชาวไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จินตหรา พูนลาภ มีชื่อจริงว่า จินตหรา กวีสุนทรกุล (ชื่อเกิด ทองใบ พูลลาภ, เกิด 6 มีนาคม พ.ศ. 2512) ชื่อเล่น ใบ,จิน มีเอกลักษณ์ประจำตัวคือ ผมบ๊อบหน้าม้า นักร้องลูกทุ่งหมอลำหญิงชาวไทย เจ้าของฉายา "นักร้องสาวสองพันปีผมบ๊อบหน้าม้าขาลำเทียน" "นักร้องลูกทุ่งหมอลำสาวเสียงพิณ" และ "ราชินีลูกทุ่งหมอลำ" คนแรกและคนเดียวของประเทศไทย เพราะเป็นบุคคลเดียวที่มีเพลงดังทั้งลูกทุ่งและหมอลำ
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
บทความนี้เขียนขึ้นด้วยมุมมองของแฟนคลับ ซึ่งอาจมีเนื้อหามุมมองด้านเดียวหรือไม่เป็นสารานุกรม โปรดช่วยกันแก้ไขเพื่อให้บทความมีคุณภาพดียิ่งขึ้นและเป็นกลาง |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
จินตหรา พูนลาภ | |
---|---|
จินตหรา พูนลาภ ในปี พ.ศ. 2550 | |
เกิด | ทองใบ พูลลาภ 6 มีนาคม พ.ศ. 2512 บ้านจานทุ่ง ตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย |
ชื่ออื่น |
|
อาชีพ |
|
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2528 – ปัจจุบัน (39 ปี) |
ผลงานเด่น | "ถูกหลอกออกโรงเรียน" (2530) "วานเพื่อนเขียนจดหมาย" (2530) "พลังรัก" (2532) "คอยรักต่างแดน" (2535) "เจ้าบ่าวหาย" (2536) "สิ้นหวังที่วังตะไคร้" (2537) "รักซ้อนรัก" (2539) "รอพี่ที่ บ.ข.ส." (2540) "รักโผล่โสนแย้ม" (2540) "รักพังวังสามหมอ" (2540) "นอนคอยที่บางแค" (2540) "อะไรก็ได้" (2540) "ผู้หนีช้ำ" (2541) "ห่วงพี่ที่คูเวต" (2541) "รักสลายดอกฝ้ายบาน" (2541) "น้ำตาสาววาริน" (2542) "ลำดวนตำใจ" (2542) "น้ำตาหล่นบนเถียงนา" (2543) "เหงาใจในต่างแดน" (2543) "รักร้าวที่บึงพลาญ" (2543) "หมอชิตสองน้องคอย" (2543) "สาวน้ำพองสะอื้น" (2544) "ขอเพียงแค่สงสาร" (2544) "แตงโมจินตหรา" (2544) "นัดรอบ่พ้ออ้าย" (2545) "มาทำไม" (Feat. ธงไชย แมคอินไตย์) (2545) "พญานาคฝากรัก" (2547) "น้ำตาหล่นบนเขื่อนลำปาว" (2550) "มิสซิสเหี่ยน" (2552) "ชีวิตฉันขาดเธอไม่ได้" (2553) "บั้งไฟโก้ยโสธร" (2553) "รักบ่าวอีสานใต้" (2555) "ฟ้าฮ้องบึ้ม" (2558) "ใจช้ำที่คำชะโนด" (2559) "เต่างอย" (2560) "วอนนางนอน" (2561) "น้ำตาย้อยโป๊ก" (2562) "พื้นที่ทับซ้อน" (2562) "ส่างบ่สมน้องฮัก" (2567) |
ส่วนสูง | 160 cm (5 ft 3 in) |
คู่สมรส | กอบกิตติ กวีสุนทรกุล (พ.ศ. 2537 - ปัจจุบัน) |
บิดามารดา |
|
รางวัล | ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยลูกทุ่ง หมอลำ - ขับร้อง) พ.ศ. 2572 |
อาชีพทางดนตรี | |
แนวเพลง | |
เครื่องดนตรี | เสียงร้อง |
ค่ายเพลง | จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (2530–2537) มาสเตอร์เทป (2537–2550) อาร์สยาม (2550–2560) แคทไนน์ สตูดิโอ (2560–ปัจจุบัน) |
ลายมือชื่อ | |
ตลอดระยะเวลาในวงการเกือบ 40 ปี เธอมีผลงานเพลงที่มีชื่อเสียงมากมาย อาทิเช่น ถูกหลอกออกโรงเรียน (2530), วานเพื่อนเขียนจดหมาย (2530) พลังรัก (2532), เจ้าบ่าวหาย (2536), รักโผล่โสนแย้ม (2540), ผู้หนีช้ำ (2541), น้ำตาสาววาริน (2542), รักสลายดอกฝ้ายบาน (2541), แตงโมจินตหรา (2544), มาทำไม (Feat. ธงไชย แมคอินไตย์) (2545), เต่างอย (2560) ฯลฯ และได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำลูกทุ่ง) ประจำปีพุทธศักราช 2562[1]
เธอเกิดที่บ้านจานทุ่ง ตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด เริ่มร้องเพลงตั้งแต่ยังเด็ก หลังจากการประกวดร้องเพลงก็ได้รับการชักชวนจากชาย สีบัวเลิศ ให้เข้าเป็นศิลปินสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เธอออกอัลบั้มชุดแรกใน พ.ศ. 2530 ชื่อชุด ถูกหลอกออกโรงเรียน และใน พ.ศ. 2532 ผลงานเพลงอัลบั้ม ชุด พลังรัก ทำสถิติยอดขายเกิน 2 ล้านตลับ ซึ่งเป็นศิลปินคนแรกของค่ายจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ที่มียอดขายเกิน 2 ล้านตลับ และเป็นนักร้องที่มียอดขายเกินล้านตลับมากที่สุดในประเทศไทย โดยทั้งหมด 10 อัลบั้ม วานเพื่อนเขียนจดหมาย พลังรัก คอยรักต่างแดน เจ้าบ่าวหาย รักโผล่โสนแย้ม ผู้หนีช้ำ รักสลายดอกฝ้ายบาน น้ำตาสาววาริน น้ำตาหล่นบนเถียงนา แตงโมจินตหรา
ในปี พ.ศ. 2545 เธอได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในการร่วมงานกับธงไชย แมคอินไตย์[2] ในเพลง "แฟนจ๋า" และ "มาทำไม" ใน พ.ศ. 2550 ค่ายมาสเตอร์เทปปิดตัวลง ได้ย้ายเข้าอาร์สยาม และออกอัลบั้มเดี่ยวทั้งหมด 9 อัลบั้ม ก่อนที่จะหมดสัญญาลง เมื่อปี พ.ศ. 2560 หลังจากนั้น เธอจึงมาเป็นศิลปินอิสระ และประสบความสำเร็จเป็นที่นิยมอีกครั้งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2561 จากซิงเกิ้ลเพลง เต่างอย[3]
จินตหรา พูนลาภ มีชื่อเกิดว่าทองใบ พูลลาภ (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจริงเป็นทองใบ จันทร์เหลือง, จินตหรา จันทร์เหลือง และจินตหรา กวีสุนทรกุล[4]ตามลำดับ) มีชื่อเล่นว่า ใบ (คนที่บ้านเกิดเรียก), จิน ในบัตรประจำตัวประชาชนระบุว่าเธอเกิด วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2512 แต่เธอบอกว่าตนเองเกิดวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2514 เพราะเนื่องจากแจ้งเกิดผิดพลาด โดยเธอเล่าว่าเมื่อสมัยก่อนตอนตนเองเกิด วันเกิดถูกเขียนไว้ที่ขื่อบ้าน พอรื้อบ้านสร้างใหม่วันเกิดที่แท้จริงก็หายไป จึงไม่แน่ชัดว่าวันเกิดที่แท้จริงคือวันไหนกันแน่ แต่อย่างไรก็ตามเธอมักจะพูดถึงอายุตนเองโดยยึดปี พ.ศ. 2514 เกิดที่บ้านเลขที่ 42 หมู่ 5 บ้านจานทุ่ง ตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นลูกคนที่ 4 จากทั้งหมด 5 คน 1.สวย บุญสวย (เอกลักษณ์) พูลลาภ 2.ใย ลำใย มุกดา 3.ไหม พิศมัย กิ่งไม้กลาง 4.ใบ จินตหรา กวีสุนทรกุล 5.เต๋า กิตติวัฒน์ จันทร์เหลือง ของอุทัย (ชื่อเดิม : ประไพร) ซึ่งบรรพบุรุษได้อพยพมาจากประเทศลาว และจันทร์ จันทร์เหลือง[5] (สกุลเดิม พูลลาภ) คนเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรรม และที่ดินส่วนหนึ่งที่เป็นมรดกของแม่จันทร์ พูลลาภ ได้ยกให้สาธารณประโยชน์เพื่อสร้างถนน ชีวิตวัยเด็กจินตหราชอบร้องเพลงเป็นชีวิตจิตใจ ไปเลี้ยงควายก็ชอบร้องเพลง ซึ่งนักร้องที่จินตหราชื่นชอบ คือ พุ่มพวง ดวงจันทร์ หลังจากสำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ โรงเรียนบ้านจานทุ่งโนนสังข์ เมื่อปี พ.ศ. 2524-2526 (ไม่แน่ใจอายุที่แท้จริง) ได้เปลี่ยนนามสกุลจากพูลลาภเป็นจันทร์เหลืองซึ่งเป็นนามสกุลพ่อ และเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนจันทรุเบกษาอนุสรณ์ ได้เพียงไม่กี่เดือน เธอจึงได้ไปอยู่กับคณะหมอลำเมขลาลำเพลิน บ้านม่วย ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ใช้ชื่อในการแสดงว่า ทองใบ มนต์เสียงพิณ โดยเป็นนางเอกหมอลำคู่กับพี่ชายตนเอง หัวหน้าวงจึงได้ตั้งชื่อให้ใหม่เพื่อใช้ในการแสดงว่า จินตหรา พูลลาภ เพราะว่าไปแสดงที่ไหนก็จะมีคนเรียกว่า จินตหราน้อย เพราะช่วงนั้นจินตหรา สุขพัฒน์กำลังดัง ต่อมาเธอจึงได้เปลี่ยนชื่อจริงจากทองใบ จันทร์เหลือง เป็นจินตหรา จันทร์เหลือง และได้บันทึกเพลงครั้งแรกในชีวิตเมื่อปี พ.ศ. 2528 ในอัลบั้มชุด สาวจินตหรา โดยพ่ออุทัย เล่าว่าเอาที่นาไปขายได้เงินมาประมาณ 70,000 บาท เพื่อนำมาทำอัลบั้มชุดนี้ และบันทึกเสียงครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2529 อัลบั้มชุดนี้สร้างชื่อเสียงให้กับจินตหรา พูลลาภ พอสมควร และเมื่อประกวดร้องเพลงที่จังหวัดขอนแก่น ได้รับการติดต่อจากธนา ยศวิบูลย์และดีเจสาวขอนแก่น พาไปฝากตัวกับ "เฮียยิ้ง" ชาย สีบัวเลิศ นักจัดรายการวิทยุเพลงลูกทุ่ง เข้าบันทึกเสียงเป็นนักร้องลูกทุ่งคนแรกของค่ายแกรมมี่[6] โดยบุคลิกนิสัยส่วนตัวเธอเล่าว่าตนเองมีนิสัยโก๊ะๆ ติ๊งต๊อง ขี้อาย ชอบอยู่ไม่นิ่ง
เธอมีผลงานเพลงชุดแรกก่อนเข้าจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ คืออัลบั้ม ชุด สาวจินตรา เมื่อปี พ.ศ. 2528 และครั้งที่ 2 พ.ศ. 2529 โดยเป็นการลงทุนด้วยตนเอง สร้างชื่อเสียงให้จินตหราพอสมควร ซึ่งเมื่ออายุ 16-18 ปี พ.ศ. 2530 ได้เข้าสังกัดค่ายจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ซึ่งเธอเป็นนักร้องลูกทุ่งหมอลำคนแรกของค่าย เพลงแรกคือชุด "ถูกหลอกออกโรงเรียน" เป็นผลงานเพลงที่แต่งโดยสรเพชร ภิญโญ ผู้ที่แต่งเพลง "น้ำตาเมียซาอุ" ของ พิมพา พรศิริ ที่โด่งดังในขณะนั้นและเป็นผู้เลือกชื่อในวงการให้ว่า จินตหรา พูนลาภ ซึ่งเป็นชื่อจริงของเธอที่ว่า จินตหรา ซึ่งเปลี่ยนจากทองใบเป็นจินตหรา หลังจบชั้น ป.6 ประกอบกับช่วงนั้นจินตหรา สุขพัฒน์ กำลังดังจึงเลือกใช้ชื่อ จินตหรา ส่วนนามสกุลจริง คือ จันทร์เหลือง แต่นามสกุลที่ใช้ในวงการ คือ พูนลาภ ด้วยเหตุที่ว่านามสกุลนี้มีความหมายเป็นมงคล ซึ่งเป็นนามสกุลของแม่จันทร์ก่อนสมรสกับพ่ออุทัย ตามจริงคำว่า พูน สกุลด้วย ล (พูลลาภ) แต่ใช้ น เนื่องจากครูบาอาจรย์บอกว่าจะเป็นสิริมงคลส่งเสริมดวงให้มีชื่อเสียง จากนั้นเป็นต้นมาชื่อ จินตหรา พูนลาภ ก็ได้เป็นที่รู้จักมาจนถึงปัจจุบัน[7] โดยช่วงแรกได้รับการสนับสนุนจากปรีชา ทรัพย์โสภา นักจัดรายการวิทยุ [8][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
ผลงานชุดแรก "ถูกหลอกออกโรงเรียน" ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ทำยอดขายได้ 8 แสนตลับ ถือเป็นการแจ้งเกิดในนามศิลปินลูกทุ่งเบอร์แรกของค่ายแกรมมี่ได้ดีทีเดียว หลังจากนั้น ปีเดียวกันก็ได้ออกอัลบั้มชุดที่ 2 ตามมา ชื่อชุด "วานเพื่อนเขียนจดหมาย" อัลบั้มชุดนี้ประสบความสำเร็จตามมาอีกครั้ง ทำยอดขายได้ 1 ล้านตลับ
งานเพลงของจินตหราในยุคแรก เป็นแนวเพลงลูกทุ่งภาคกลางและลูกทุ่งอีสาน แต่หลังจากชุดที่ 6 ก็ได้เริ่มออกแนวเพลงหมอลำแบบเต็มชุด ชื่อชุด "พลังรัก" เป็นผลงานการประพันธ์ของอาจารย์ "คำเกิ่ง ทองจันทร์" ผู้ปั้นนักร้องหมอลำชื่อดังทางภาคอีสาน และได้พิมพ์ใจ เพชรพลาญชัย นักร้องหมอลำชื่อดังเป็นครูสอนการร้องลำให้
หลังจากปล่อยอัลบั้มชุดที่ 6 ออกมาก็ได้กระแสการตอบรับที่ดีพอสมควร มียอดขายถล่มทลายทำยอดขายสูงถึง 2 ล้านตลับ และจากกระแสตอบรับที่ไปได้ดีในแนวเพลงหมอลำ หลังจากนั้น ก็ได้มีการออกแนวเพลงหมอลำควบคู่กับลูกทุ่งภาคกลาง,ลูกทุ่งอีสาน ตามมาในชุดต่อ ๆ ไป
จินตหราได้รับความนิยมตลอดเรื่อยๆมา จนกระทั่งปี พ.ศ. 2534 ชุดที่ 10 ขอเป็นคนสุดท้าย งานประพันธ์ของ เฉลิมพล มาลาคำ อัลบั้มชุดนี้ทางค่ายเปลี่ยนภาพลักษ์ให้เธอใหม่ โดยการสวมใส่วิกผมยาว แต่ภายหลังแฟนเพลงหลายคนกลับจำเธอไม่ได้ ประกอบกับปีเดียวกันปีนั่น มีนักร้องหมอลำสาวน้องใหม่มาแรงอย่าง ฮันนี่ ศรีอีสาน ผุดขึ้นมาในวงการ ทำให้อัลบั้มชุดที่ 10 ขอเป็นคนสุดท้าย ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไหร่นัก แต่ภายหลังจินตหราก็กลับมาโด่งดังอีกครั้ง กับผลงานอัลบั้มชุดที่ 13 คอยรักต่างแดน เป็นผลงานการประพันธ์โดยอาจารย์ "สุพรรณ ชื่นชม" นักแต่งเพลงชื่อดังจาก สาวติ๋มยิ้มบ่หวาน สายตาพิฆาต ของพิมพ์ใจ เพชรพลาญชัย โบว์รักสีดำ ของศิริพร อำไพพงษ์ เป็นต้น [9][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
หลังชุดที่ 16 ชาย สีบัวเลิศ ผู้ปั้นจินตหรา พูนลาภให้โด่งดัง ได้แยกตัวออกจากค่ายแกรมมี่ มาเปิดเป็นค่ายมาสเตอร์เทป โดยได้จินตหรา พูนลาภเป็นศิลปินเบอร์หนึ่งของค่าย แต่ยังคงให้ทางแกรมมี่ (แกรมมี่ โกลด์ (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นไป)) ทำการตลาดให้ต่อไป โดยระหว่างที่เธอเป็นศิลปินสังกัดมาสเตอร์เทปก็มีผลงานเป็นที่รู้จักมากมายนับไม่ถ้วน อาทิ สิ้นหวังที่วังตะไคร้, สงสารหัวใจ, แอบรักหนุ่มยาม, ขอรักฝ่ายเดียว, อ้อนพ่อซื้อมอเตอร์ไซค์, คอยพี่ที่มออีแดง, รอพี่ที่ บขส., รักโผล่โสนแย้ม, รักสลายดอกฝ้ายบาน, ผู้หนีช้ำ, ห่วงพี่ที่คูเวต, น้ำตาสาววาริน เป็นต้น โดยใช้ชื่อนำหน้าอัลบั้มว่า "ลูกทุ่งสะออน" และ "หมอลำสะออน" ผลิตใน รูปแบบ วีซีดี ซีดี และเทปเสียง ("สะออน" ในภาษาอีสานแปลว่า "ชอบใจ,พอใจ,ติดใจ,ปลื้ม,น่าชมเชย")
ปี 2545 จินตหรา พูนลาภ ได้รับการกล่าวขวัญถึงมากที่สุดอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเธอได้ไปร่วมร้องฟิชเจอร์ริ่งกับธงไชย แมคอินไตย์ ในเพลง "แฟนจ๋า" และ "มาทำไม" ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และในปี พ.ศ. 2547 เธอได้ไปร่วมแสดงบนเวทีเอ็มทีวี เอเชีย อวอร์ดส ที่สิงคโปร์ กับธงไชย แมคอินไตย์, แคทรียา อิงลิช และนัท มีเรีย[10]
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 จินตหรา พูนลาภ ได้เซ็นสัญญากับค่ายใหม่อาร์สยาม ในสังกัดอาร์เอส หลังจากที่ค่ายเดิมคือมาสเตอร์เทปปิดตัวลง ต่อมาได้หมดสัญญากับค่ายอาร์สยามในปี พ.ศ. 2560 และหลังจากนั้นจึงเป็นศิลปินอิสระ[11]
จินตหราสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในปี พ.ศ. 2550 และได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (กิตติมศักดิ์) โปรแกรมวิชานาฏศิลป์และการละคร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ในปี พ.ศ. 2547
ในปี พุทธศักราช 2562 จินตหรา พูนลาภ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดงลูกทุ่งหมอลำ
เมื่อปลายปี พ.ศ. 2550 มีข่าวว่าจินตหรา พูนลาภ ไปเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้ปรากฏภาพที่เธอโชว์บัตรประจำตัวประชาชน โดยในบัตรระบุชื่อและนามสกุลว่า "นางจินตหรา กวีสุนทรกุล" และในเวลาต่อมาเธอจึงได้เปิดเผยข้อมูลว่าตนเองใช้ชีวิตคู่ร่วมกับกอบกิตติ กวีสุนทรกุล หรือ "จังโก้ 1" นักประพันธ์เพลงสังกัดค่ายเพลงพันธมิตร นามปากกา คมเพชร พรเจริญ ผู้แต่งเพลงน้ำตาสาววาริน และผู้จัดการวงของจินตหราเอง เมื่อปี พ.ศ. 2533 และจดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี พ.ศ. 2537[12] โดยเธอได้จดทะเบียนสมรสกับกอบกิตติ รวมถึงใช้คำนำหน้า "นาง" และนามสกุลของสามีในทะเบียนบ้านและบัตรประชาชน[13][14]
อัลบั้มพิเศษ อีสานตลาดแตก เป็นอัลบั้มพิเศษ กับการรวมเพลงใหม่ล่าสุด มารวมอยู่ที่นี่ โดยศิลปินเลือดอีสาน จากค่าย อาร์ สยาม
ร่วมกับ แมน มณีวรรณ อาร์สยาม, เอ๋ พจนา อาร์สยาม, ปอ ปริชาต อาร์สยาม, ผา ชนะไดย์ อาร์สยาม, ตั้ม ต้องรัก อาร์สยาม และ เบนซ์ มารุต อาร์สยาม
เป็นอัลบั้มที่นำเพลงเก่าของ ชาย เมืองสิงห์ มาขับร้องใหม่โดยศิลปินลูกทุ่งจากค่าย อาร์สยาม กว่า 18 ชีวิต
ปี | เรื่อง | บทบาท | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
2544 | นายฮ้อยทมิฬ | บัวเขียว | คู่กับ ไมค์ ภิรมย์พร |
2552 | กำนันอี๊ด | ครูเพ็ญพักตร์ | |
2563 | กาเหว่า | จินตหรา พูนลาภ (นักร้องตอนจบ) | รับเชิญ |
ปี | เรื่อง | บทบาท | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
2567 | ละครใหม่ (ยังไม่ทราบชื่อเรื่อง) | รอยืนยัน | รอเปิดกล้อง เรื่องเดียวกับ มนต์แคน แก่นคูน |
ปี | เรื่อง | บทบาท | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
2549 | ระเบิดเถิดเทิง ตอน วาระสุดท้าย | ||
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.