Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนแสงวิทยา (อังกฤษ: Saengvithaya School) (อักษรย่อ: ส.ว.ย. ,SV) เป็นโรงเรียนเอกชนระดับอนุบาลปีที่ 1 จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตั้งอยู่เลขที่ 105 ถนนสุดบรรทัด อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เปิดทำการสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2505 โดยนายสุวรรณ ต.แสงจันทร์ เป็นผู้ก่อตั้ง เริ่มแรกมีคุณครู 9 คน และนักเรียน 222 คน ปัจจุบันโรงเรียนแสงวิทยามีการพัฒนาการเรียนการสอนดีขึ้น
โรงเรียนแสงวิทยา Saengvithaya School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
พิกัด | 14.3525°N 100.5955°E[2] |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ส.ว.ย. (SV) |
ประเภท | เอกชน |
คำขวัญ | พากเพียร เรียนวิชา ส่งเสริม การศึกษา เยาวชน |
สถาปนา | พ.ศ. 2505 |
ผู้ก่อตั้ง | นายสุวรรณ ต.แสงจันทร์ |
ผู้บริหาร | ว่าที่ร้อยตรีพัทธโรจน์ กมลโรจน์สิริ[3] |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | อนุบาลปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 |
สี | สีขาว และสีแดง [4] |
เพลง | มาร์ชแสงวิทยา |
เว็บไซต์ | https://www.facebook.com/Saengvitthaya.school/ |
โรงเรียนแสงวิทยาก่อตั้งในปี พ.ศ. 2505 โดยนายสุวรรณ ต.แสงจันทร์ เป็นผู้ก่อตั้ง บนเนื้อที่ 6 ไร่ 86 ตารางวา เริ่มแรกมีคุณครู 9 คน และนักเรียน 222 คน ในปีถัดมาจำนวนนักเรียนได้เพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว โรงเรียนต้องขยายอาคารเรียนจากอาคารไม้ชั้นเดียวเป็น อาคารไม้ 2 ชั้น เพื่อรองรับนักเรียนที่เพิ่มปริมาณมากขึ้น
ในปี พ.ศ. 2538 นายวิฑูรย์ ต.แสงจันทร์ เป็นผู้รับใบอนุญาต และนางเสาวลักษณ์ กมลโรจน์สิริเป็นผู้อำนวยการใหญ่ โรงเรียนได้รับการยอมรับเป็นอย่างยิ่งจากท่านผู้ปกครองได้ส่งบุตรหลานเข้ารับการศึกษามากที่สุดของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสระบุรี ปัจจุบันว่าที่ร้อยตรีพัทธโรจน์ กมลโรจน์สิริ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน โรงเรียนได้พัฒนาการศึกษามากขึ้น[7]
ลำดับ | รายนาม |
---|---|
1 | นายสุวรรณ ต.แสงจันทร์ |
2 | นางเกยูร ต.แสงจันทร์ (นางเสาวลักษณ์ กมลโรจน์สิริ) |
3 | นายวิฑูรย์ ต.แสงจันทร์ |
4 | ดร.พัทธโรจน์ กมลโรจน์สิริ |
โครงการนี้ได้เป็นโครงการต่อยอดจากโครงการรณรงค์เพื่อเด็กไทยไม่กินหวาน ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยไม่กินหวาน โดยโรงเรียนแสงวิทยาได้ประยุกต์และบูรณาการแผนงาน เข้าสู่ระบบการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนทุกระดับชั้น ผ่านสื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจ และการกระตุ้นเตือนเด็กๆ ด้วยกิจกรรมที่เข้าใจง่าย[8]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.