Loading AI tools
ชื่อสารเคมีประเภทแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอทานอล (อังกฤษ: ethanol) หรือ เอทิลแอลกอฮอล์ (อังกฤษ: ethyl alcohol) (สูตรเคมี C2H5OH) เป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากการนำเอาพืชมาหมักเพื่อเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล จากนั้นจึงเปลี่ยนจากน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์ โดยใช้เอนไซม์หรือกรดบางชนิดช่วยย่อย เมื่อทำให้เป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 95% โดยการกลั่น ส่วนใหญ่ผลิตจากพืช สองประเภทคือ พืชประเภทน้ำตาล เช่นอ้อย บีตรูต และพืชจำพวกแป้งเช่น มันสำปะหลัง ข้าว ข้าวโพด เป็นต้น
| |||
| |||
ชื่อ | |||
---|---|---|---|
Pronunciation | /ˈɛθənɒl/ | ||
Preferred IUPAC name
Ethanol[1] | |||
ชื่ออื่น
| |||
เลขทะเบียน | |||
3D model (JSmol) |
|||
3DMet | |||
Beilstein Reference |
1718733 | ||
ChEBI | |||
ChEMBL | |||
เคมสไปเดอร์ | |||
ดรักแบงก์ | |||
ECHA InfoCard | 100.000.526 | ||
Gmelin Reference |
787 | ||
IUPHAR/BPS |
|||
KEGG | |||
ผับเคม CID |
|||
UNII | |||
UN number | UN 1170 | ||
CompTox Dashboard (EPA) |
|||
InChI
| |||
SMILES
| |||
คุณสมบัติ | |||
C2H6O | |||
มวลโมเลกุล | 46.069 g·mol−1 | ||
ลักษณะทางกายภาพ | ของเหลวไม่มีสี | ||
กลิ่น | ฉุนเหมือนไวน์[2] | ||
ความหนาแน่น | 0.78945 g/cm3 (at 20 °C)[3] | ||
จุดหลอมเหลว | −114.14 ± 0.03[3] องศาเซลเซียส (−173.45 ± 0.05 องศาฟาเรนไฮต์; 159.01 ± 0.03 เคลวิน) | ||
จุดเดือด | 78.23 ± 0.09[3] องศาเซลเซียส (172.81 ± 0.16 องศาฟาเรนไฮต์; 351.38 ± 0.09 เคลวิน) | ||
ผสมกันได้ | |||
log P | −0.18 | ||
ความดันไอ | 5.95 kPa (at 20 °C) | ||
pKa | 15.9 (H2O), 29.8 (DMSO)[4][5] | ||
Magnetic susceptibility (χ) |
−33.60·10−6 cm3/mol | ||
ดัชนีหักเหแสง (nD) |
1.3611[3] | ||
ความหนืด | 1.2 mPa·s (at 20 °C), 1.074 mPa·s (at 25 °C)[6] | ||
Dipole moment |
1.69 D[7] | ||
ความอันตราย | |||
GHS labelling: | |||
Pictograms |
|||
Signal word |
อันตราย | ||
Hazard statements |
H225, H319 | ||
Precautionary statements |
P210, P233, P240, P241, P242, P305+P351+P338 | ||
NFPA 704 (fire diamond) | |||
จุดวาบไฟ | 14 °C (Absolute)[8] | ||
ปริมาณหรือความเข้มข้น (LD, LC): | |||
LD50 (median dose) |
| ||
NIOSH (US health exposure limits): | |||
PEL (Permissible) |
TWA 1000 ppm (1900 mg/m3)[9] | ||
REL (Recommended) |
TWA 1000 ppm (1900 mg/m3)[9] | ||
IDLH (Immediate danger) |
N.D.[9] | ||
เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (SDS) | [10] | ||
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน | |||
สารประกอบที่เกี่ยวข้อง |
| ||
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
|
บราซิลเป็นผู้ผลิตเอทานอลอันดับหนึ่งในโลก [11] ข้อมูลปี พ.ศ. 2551 ประเทศไทยมีโรงงานเอทานอล 11 แห่ง กำลังการผลิตรวม 1.75 ล้านลิตรต่อวัน ขณะที่ความต้องการใช้ในประเทศมีเพียง 800,000 ลิตรต่อวัน [12]
เอทานอลเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาดและเผาไหม้ได้สมบูรณ์ช่วยลดการเกิดมลพิษในอากาศและเป็นผลดีต่อสภาวะแวดล้อมและมีฐานวัตถุดิบมาจากพืชซึ่งสามารถดูดซับปริมาณ แก๊สคาร์บอนไดออกไซค์ในบรรยากาศได้
เอทานอลเป็นพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ผลิตได้จากวัตถุดิบทางการเกษตรซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ประเภท[13] 1. วัตถุดิบประเภทน้ำตาล ได้แก่ น้ำอ้อย น้ำตาลจากบีตรูต และกากน้ำตาลซึ่งยีสต์สามารถย่อยสลายวัตถุดิบประเภทนี้ได้เลยทันทีโดยไม่ต้องผ่านการย่อยเพื่อเป็นน้ำตาล (Pretreatment) 2. วัตถุดิบประเภทแป้ง ได้แก่ มันสำปะหลัง ธัญพืชและมันฝรั่งในการผลิตจะต้องย่อยแป้งในวัตถุดิบให้เป็นน้ำตาลกลูโคสซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวเสียก่อนยีสต์จึงจะเปลี่ยนน้ำตาลเป็นเอทานอลได้ 3. วัตถุดิบประเภทที่เป็นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมเกษตร เช่น กากอ้อย ฟางข้าวซังข้าวโพด และของเสียจากอุตสาหกรรม เยื่อกระดาษ ฯลฯ
เอทานอลมีค่าออกเทนสูงนำไปผสมกับน้ำมันเบนซินเรียกว่าน้ำมันแก๊สโซฮอล์ได้ ถ้าผสมกับน้ำมันดีเซล เรียกว่าน้ำมันดีโซฮอล์ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เอทานอล บริสุทธิ์เป็นเชื้อเพลิงได้โดยตรงโดยไม่ต้องผสมกับน้ำมันได้อีกด้วย ปัจจุบันไทยมีโรงงานเอทานอล 27 แห่ง กำลังการผลิตรวม 6.125 ล้านลิตร [14]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.