เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก
นครสหพันธ์และอดีตเมืองหลวงของประเทศรัสเซีย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นครสหพันธ์และอดีตเมืองหลวงของประเทศรัสเซีย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก (อังกฤษ: Saint Petersburg) หรือ ซันคต์-เปเตียร์บูร์ก (รัสเซีย: Санкт-Петербург, อักษรโรมัน: Sankt-Peterburg, สัทอักษรสากล: [ˈsankt pʲɪtʲɪrˈburk] ( ฟังเสียง)) หรือชื่อเดิมคือ เปโตรกราด (Петроград; ค.ศ. 1914–1924) ในเวลาต่อมาจึงเป็น เลนินกราด (Ленинград; ค.ศ. 1924–1991) เป็นนครที่ตั้งอยู่บนปากแม่น้ำเนวาริมอ่าวฟินแลนด์ในทะเลบอลติก และเป็นนครที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของประเทศรัสเซียรองจากมอสโก โดยมีประชากรมากกว่า 5.3 ล้านคน[9] เซนต์ปีเตอส์เบิร์กเป็นนครที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่สี่ของทวีปยุโรป เป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดในแถบทะเลบอลติก และเป็นมหานครที่อยู่ทางทิศเหนือสุดของทวีปยุโรปและโลก[10] ในฐานะที่เป็นเมืองท่าสำคัญริมทะเลบอลติก เซนต์ปีเตอส์เบิร์กจึงมีฐานะเป็นนครสหพันธ์
เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก | |
---|---|
Санкт-Петербург | |
จากบนลงล่าง, จากซ้ายไปขวา: พระราชวังฤดูหนาว; สะพานพระราชวัง; อาสนวิหารปีเตอร์และปอล; อาสนวิหารนักบุญไอแซค; อาคารทหารเสนาธิการ; แม่น้ำมอยกาจากสะพานเพฟเชสกีถึงสะพานแดง | |
เพลง: เพลงเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก | |
พิกัด: 59°56′15″N 30°18′31″E | |
ประเทศ | รัสเซีย |
เขตสหพันธ์ | ตะวันตกเฉียงเหนือ[1] |
เขตเศรษฐกิจ | ตะวันตกเฉียงเหนือ[2] |
สถาปนา | 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1703[3] |
การปกครอง | |
• องค์กร | สภานิติบัญญัติ |
• ผู้ว่าราชการ | อะเลคซันดร์ เบกลอฟ (UR)[4] |
พื้นที่[5] | |
• ทั้งหมด | 1,439 ตร.กม. (556 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 82 |
ประชากร | |
• ประมาณ (2018)[6] | 5,351,935 คน |
เขตเวลา | UTC+3 (เวลามอสโก [7]) |
รหัส ISO 3166 | RU-SPE |
ทะเบียนรถ | 78, 98, 178, 198 |
รหัส OKTMO | 40000000 |
ภาษาราชการ | รัสเซีย[8] |
เว็บไซต์ | www |
นครก่อตั้งขึ้นโดยซาร์ปีเตอร์มหาราชเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม [ตามปฎิทินเก่า: 16 พฤษภาคม] ค.ศ. 1703 บนที่ตั้งของประภาคารของสวีเดนเดิม นครทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรซาร์รัสเซียและจักรวรรดิรัสเซียระหว่าง ค.ศ. 1713–1918 (ย้ายไปมอสโกในช่วง ค.ศ. 1728–1730) หลังจากการปฏิวัติเดือนตุลาคม บอลเชวิคได้ย้ายรัฐบาลของพวกเขาไปที่มอสโก[11]
ในยุคร่วมสมัย เซนต์ปีเตอส์เบิร์กถือเป็นเมืองหลวงของภาคเหนือ และเป็นที่ตั้งของหน่วยงานสหพันธ์บางแห่ง เช่น ศาลรัฐธรรมนูญรัสเซียและสภาโฆษกประจำประธานาธิบดีรัสเซีย นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของหอสมุดแห่งชาติรัสเซีย และมีแผนจัดตั้งศาลฎีกาแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย ศูนย์กลางประวัติศาสตร์เซนต์ปีเตอส์เบิร์กและกลุ่มโบราณสถานที่เกี่ยวเนื่องได้รับเลือกให้เป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก ในฐานะที่สื่อถึงการเป็นเมืองหลวงทางวัฒนธรรมของประเทศ[12] เซนต์ปีเตอส์เบิร์กยังเป็นที่ตั้งของแอร์มิทาช หนึ่งในพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในโลก[13] และศูนย์ลัคตา ตึกระฟ้าที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป[14][15] สถานกงศุลระหว่างประเทศ บริษัทนานาชาติ ธนาคาร และสถานประกอบธุรกิจหลายแห่ง ก็มีที่ตั้งในเซนต์ปีเตอส์เบิร์กด้วยเช่นกัน
จากการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน เซนต์ปีเตอส์เบิร์กมีภูมิอากาศแบบชื้นภาคพื้นทวีปหรือ Dfb อิทธิพลของพายุหมุนจากทะเลบอลติก ส่งผลให้นครมีฤดูร้อนที่อบอุ่น ชื้น และสั้น และมีฤดูหนาวที่ยาวนาน ภูมิอากาศของเซนต์ปีเตอส์เบิร์กคล้ายคลึงกับของเฮลซิงกิ แม้ว่าฤดูหนาวจะหนาวกว่าและฤดูร้อนจะอุ่นกว่าอันเนื่องจากที่ตั้งของนครที่อยู่ทางตะวันออกกว่า
อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 23 องศาเซลเซียส (73 องศาฟาเรนไฮต์) และอุณหภูมิต่ำสุดโดยเฉลี่ยในเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ -8.5 °C (16.7 °F) อุณหภูมิสูงสุดคือ 37.1 องศาเซลเซียส (98.8 องศาฟาเรนไฮต์) เกิดขึ้นในช่วงที่มีคลื่นความร้อนในซีกโลกเหนือปี 2010 ส่วนอุณหภูมิต่ำสุดคือ -35.9 °C (−32.6 °F) บันทึกได้ใน ค.ศ. 1883 อุณหภูมิโดยเฉลี่ยต่อปีคือ 5.8 องศาเซลเซียส (42.4 องศาฟาเรนไฮต์) แม่น้ำเนวาที่ไหลผ่านนครเริ่มแข็งตัวในเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม และละลายในเดือนเมษายน ระหว่างเดือนธันวาคมถึงมีนาคม มีวันที่มีหิมะตก 118 วัน โดยในเดือนกุมภาพันธ์ หิมะอาจสูงถึง 19 เซนติเมตรโดยเฉลี่ย[16] ช่วงที่ปราศจากน้ำค้างแข็งโดยเฉลี่ยมีเพียง 135 วัน แม้ว่าที่ตั้งของนครจะอยู่ทางภาคเหนือ แต่ในฤดูหนาว นครกลับหนาวน้อยกว่ามอสโก เนื่องจากที่ตั้งริมอ่าวฟินแลนด์และอิทธิพลกัลฟ์สตรีมจากลมสแกนดิเนเวียที่ทำให้อุณหภูมิสูงกว่าจุดเยือกแข็งเล็กน้อย นครยังมีสภาพอากาศที่อบอุ่นกว่าชานเมือง สภาพอากาศในแต่ละช่วงของปีค่อนข้างแตกต่างกัน[17][18]
ปริมาณหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 660 มิลลิเมตร และจะขึ้นสูงสุดในปลายฤดูร้อน ความชื้นในดินมากจะสูงเนื่องจากการระเหยของน้ำในระดับความสูงต่ำที่เกิดจากอากาศเย็น ความชื้นสัมพัทธ์อยู่ที่ร้อยละ 78 โดยเฉลี่ย และวันที่ไม่พบแสงแดดมีอยู่ 165 วันโดยเฉลี่ยต่อปี
ข้อมูลภูมิอากาศของเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก (ค.ศ. 1881–ปัจจุบัน; อุณหภูมิสูงสุดนับตั้งแต่ ค.ศ. 1743) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 8.7 (47.7) |
10.2 (50.4) |
14.9 (58.8) |
25.3 (77.5) |
32.0 (89.6) |
34.6 (94.3) |
35.3 (95.5) |
37.1 (98.8) |
30.4 (86.7) |
21.0 (69.8) |
12.3 (54.1) |
10.9 (51.6) |
37.1 (98.8) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | -3.0 (26.6) |
-3.0 (26.6) |
2.0 (35.6) |
9.3 (48.7) |
16.0 (60.8) |
20.0 (68) |
23.0 (73.4) |
20.8 (69.4) |
15.0 (59) |
8.6 (47.5) |
2.0 (35.6) |
-1.5 (29.3) |
9.1 (48.4) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | -5.5 (22.1) |
-5.8 (21.6) |
-1.3 (29.7) |
5.1 (41.2) |
11.3 (52.3) |
15.7 (60.3) |
18.8 (65.8) |
16.9 (62.4) |
11.6 (52.9) |
6.2 (43.2) |
0.1 (32.2) |
-3.7 (25.3) |
5.8 (42.4) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | -8.0 (17.6) |
-8.5 (16.7) |
-4.2 (24.4) |
1.5 (34.7) |
7.0 (44.6) |
11.7 (53.1) |
15.0 (59) |
13.4 (56.1) |
8.8 (47.8) |
4.0 (39.2) |
-1.8 (28.8) |
-6.1 (21) |
2.7 (36.9) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | -35.9 (-32.6) |
-35.2 (-31.4) |
-29.9 (-21.8) |
-21.8 (-7.2) |
-6.6 (20.1) |
0.1 (32.2) |
4.9 (40.8) |
1.3 (34.3) |
-3.1 (26.4) |
-12.9 (8.8) |
-22.2 (-8) |
-34.4 (-29.9) |
−35.9 (−32.6) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 44 (1.73) |
33 (1.3) |
37 (1.46) |
31 (1.22) |
46 (1.81) |
71 (2.8) |
79 (3.11) |
83 (3.27) |
64 (2.52) |
68 (2.68) |
55 (2.17) |
51 (2.01) |
661 (26.02) |
ความชื้นร้อยละ | 86 | 84 | 79 | 69 | 65 | 69 | 71 | 76 | 80 | 83 | 86 | 87 | 78 |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย | 9 | 7 | 10 | 13 | 16 | 18 | 17 | 17 | 20 | 20 | 16 | 10 | 173 |
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย | 17 | 17 | 10 | 3 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 2 | 9 | 17 | 75 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 22 | 54 | 125 | 180 | 260 | 276 | 267 | 213 | 129 | 70 | 27 | 13 | 1,636 |
แหล่งที่มา 1: Pogoda.ru.net[16] | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: NOAA (sun 1961–1990)[19] |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.