อิลิเรีย (อังกฤษ: Illyria ; กรีกโบราณ: Ἰλλυρία, Illyría or Ἰλλυρίς, Illyrís;[1][2] ละติน: Illyria,[3]) ตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันออกของทะเลเอเดรียติก ซึ่งเทียบโดยประมาณปัจจุบันคือพื้นที่ของสโลวีเนีย ทางตอนใต้ของโครเอเชีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา มอนเตเนโกร แอลเบเนีย และคอซอวอ ในช่วงเวลาของวัฒนธรรมฮัลชตัทในศตวรรษที่ 12 ก่อนคริสต์ศักราช ชาวอิลิเรียตั้งถิ่นฐานทางชายฝั่งทางเหนือและตะวันออกของทะเลเอเดรียติก และดูเหมือนว่าข้ามไปอีกฝั่งด้วยเช่นกัน เนื่องจากบางคนที่ตั้งถิ่นฐานในอิตาลีในเวลานั้นเป็นชาวอิลิเรีย[4] อย่างไรก็ตามประมาณ -1300 พวกเขาปรากฏเป็นสมาพันธ์ชนพื้นเมืองที่มีต้นกำเนิดจากอินโด-ยูโรเปียน ซึ่งรวมถึงชาวดัลเมเชีย และชาวแพนโนเนีย และเป็นคนที่ถูกซึมซับเข้าวัฒนธรรมก่อนที่จะถูกซัมซับโดยชาวเซิร์บและชาวโครแอต ชาวสลาฟที่เข้ามาในคาบสมุทรบอลข่านในช่วงศตวรรษที่ 7
อิลิเรียถูกแบ่งออกเป็นหลายเผ่า ตัวอย่างเผ่าใหญ่เช่น Ardiaei, Dalmatia, Dardani เป็นต้น แต่ละเผ่าต่างก็มีกษัตริย์ของตัวเอง จึงไม่มีความสามัคคีทางการเมืองร่วมกันเลย ในศตวรรษที่ 7 และ 6 ก่อนคริสต์ศักราช อิลิเรียได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมกรีกทางชายฝั่ง เนื่องจากความสัมพันธ์กับชาวกรีกซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งการค้าขายที่นั่น ในศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาลมีการก่อตั้งอาณาจักรชาวอิลิเรียขึ้นหลายอาณาจักร
ความยากลำบากในการศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาวอิลิเรีย คือการไม่มีข้อความที่เขียนด้วยภาษาอิลิเรีย แหล่งข้อมูลทั้งหมดได้มาจากวรรณคดีกรีก-โรมัน พอลิเบียสนักประวัติศาสตร์และนักทฤษฎีการเมืองชาวกรีก (-210/-126) กล่าวว่าภาษาที่พูดในชกอเดอร์ (หรือชกอดรา ในปัจจุบันคือชกอเดอร์ทางตอนเหนือของแอลเบเนีย) ที่ศาลของกษัตริย์ Gentius (-180 / -168) แตกต่างจากภาษากรีก แต่ไม่พบร่องรอยเป็นลายลักษณ์อักษร ข้อความเหล่านี้ให้มุมมองบางส่วนของชีวิตในเวลานั้นส่วนใหญ่ เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งระหว่างโลกกรีกและโลกอิลิเรีย
Illyría and Illyrís respectively
ถ้าภาษา Messapian มีความใกล้เคียงกับภาษาอิลิเรียมากพอที่จะถือว่าเป็นภาษาอิลิเรีย จะนับได้ว่าภาษาอิลิเรียก็จะถูกพูดทางตอนใต้ของอิตาลีด้วย
แหล่งที่มา
- Berranger, Danièle; Cabanes, Pierre; Berranger-Auserve, Danièle (2007). Épire, Illyrie, Macédoine: Mélanges Offerts au Professeur Pierre Cabanes. Clermont-Ferrand, France: Presses Universitaires Blaise Pascal. ISBN 978-2-84516-351-5.
- Boardman, John (1982). The Prehistory of the Balkans and the Middle East and the Aegean World, Tenth to Eighth Centuries B.C. Cambridge, United Kingdom: Cambridge University Press. ISBN 0-521-22496-9.
- du Fresne, Charles (1746). Illyricvm Vetvs & Novum: Sive Historia Regnorvm Dalmatiae, Croatiae, Slavoniae, Bosniae, Serviae, atqve Bvlgariae. Posonii: Typis Haeredvm Royerianorvm.
- Dzino, Danijel (2014). "'Illyrians' in ancient ethnographic discourse". Dialogues d'histoire ancienne. 40 (2): 45–65. doi:10.3917/dha.402.0045.
- Grimal, Pierre; Maxwell-Hyslop, A. R. (1996). The Dictionary of Classical Mythology. Oxford, United Kingdom: Blackwell Publishing Limited. ISBN 0-631-20102-5.
- Hammond, Nicholas Geoffrey Lemprière (1993). Studies concerning Epirus and Macedonia before Alexander. Amsterdam, The Netherlands: Adolf M. Hakkert.
- Hammond, Nicholas Geoffrey Lemprière (1982). Cambridge Ancient History, volume 3: The Expansion of the Greek World, Eighth to Sixth centuries B.C. Cambridge, United Kingdom: Cambridge University Press. ISBN 0-521-23447-6.
- Kipfer, Barbara Ann (2000). Encyclopedic Dictionary of Archaeology. New York, New York: Kluwer Academic/Plenum Publishers. ISBN 0-306-46158-7.
- Kos, M. Š. (2012). "Illyria and Illyrians". The Encyclopedia of Ancient History. John Wiley & Sons. doi:10.1002/9781444338386.wbeah09128.
- Lewis, David Malcolm; Boardman, John (1994). The Cambridge Ancient History, Volume 6: The Fourth Century BC. Cambridge, United Kingdom: Cambridge University Press. ISBN 0-521-23348-8.
- Lins, Joseph (1910). "Illyria". The Catholic Encyclopedia, Volume 7. New York, New York: Robert Appleton Company.
- Papazoglu, Fanula (1978). The Central Balkan Tribes in Pre-Roman Times: Triballi, Autariatae, Dardanians, Scordisci and Moesians. Amsterdam, The Netherlands: Adolf M. Hakkert. ISBN 90-256-0793-4.
- Stipčević, Aleksandar (2002). Ilirët: Historia, Jeta, Kultura, Simbolet e Kultit. Tirana, Albania: Toena. ISBN 99927-1-609-6.
- Wilkes, John J. (1969). History of the Provinces of the Roman Empire. London, United Kingdom: Routledge and Kegan Paul.
- Wilkes, John J. (1995). The Illyrians. Oxford, United Kingdom: Blackwell Publishers Limited. ISBN 0-631-19807-5.
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อิลิเรีย