เมืองจันทบุรี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดจันทบุรี
ข้อมูลเบื้องต้น อำเภอเมืองจันทบุรี, การถอดเสียงอักษรโรมัน ...
อำเภอเมืองจันทบุรี |
---|
|
การถอดเสียงอักษรโรมัน |
---|
• อักษรโรมัน | Amphoe Mueang Chanthaburi |
---|
อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล เป็นอาสนวิหารประจำมิสซังโรมันคาทอลิกจันทบุรี ตั้งอยู่บริเวณริมคลองจันทบุรี ตรงข้ามชุมชนเก่าแก่จันทบูร ตำบลจันทนิมิต วิหารปัจจุบันนี้เป็นหลังที่ 5 ซึ่งบาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ ชาวฝรั่งเศส ได้ทำพิธีเสกขึ้นในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2452 |
แผนที่จังหวัดจันทบุรี เน้นอำเภอเมืองจันทบุรี |
พิกัด: 12°36′38″N 102°6′15″E |
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | จันทบุรี |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 253.1 ตร.กม. (97.7 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร (2566) |
---|
• ทั้งหมด | 130,288 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 514.77 คน/ตร.กม. (1,333.2 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัสไปรษณีย์ | 22000 |
---|
รหัสภูมิศาสตร์ | 2201 |
---|
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเมืองจันทบุรี เลขที่ 33 ถนนเลียบเนิน ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี 22000 |
---|
|
ปิด
เมืองจันทบุรี เดิมชื่อ "เมืองควนคราบุรี" ตั้งมาประมาณ 1,000 ปี ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา และเป็นเมืองขอมประมาณ 400 ปี พระเจ้าอู่ทองได้เข้ายึดเมืองจันทบุรีได้และเป็นหนึ่งในประเทศราชของอยุธยา และได้ย้ายเมืองมาสร้างใหม่ที่บ้านหัววัง ตำบลพุงทลาย หรือในชื่อตำบลจันทบุรีตะวันออก (ปัจจุบันเป็นพื้นที่ของตำบลจันทนิมิต) เพราะอยู่ใกล้แม่น้ำจันทบุรีสะดวกต่อการคมนาคม
ต่อมา พ.ศ. 2200 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชให้ย้ายเมืองไปสร้างใหม่ที่บ้านลุ่ม เพื่อป้องกันน้ำท่วมและได้สร้างป้อมอย่างเมืองโบราณ คือมีคูและเชิงเทียนรอบเมือง และตั้งอยู่ตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยา ประมาณ พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ตีฝ่าวงล้อมพม่าเข้ายึดเมืองจันทบุรี เพื่อให้เป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหาร รวบรวมพลเป็นเวลา 5 เดือน เพื่อกู้กรุงศรีอยุธยา ต่อมาในกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดสงครามกับเวียดนาม จึงได้ให้มีการสร้างป้อมค่ายเมืองใหม่ที่บ้านเนินวง ตำบลบางกะจะ ประมาณ พ.ศ. 2377 เพราะเมืองใหม่อยู่ในที่สูง เหมาะแก่การสร้างฐานทัพ ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าให้ย้ายเมืองจันทบุรี จากเมืองใหม่ที่บ้านค่ายเนินวง กลับมาตั้งที่เมืองเก่าที่บ้านลุ่มจนถึงทุกวันนี้
- วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2449 รวมเมืองจันทบุรี เมืองระยอง เมืองขลุง (รวมอำเภอขลุงและอำเภอทุ่งใหญ่ ยกขึ้นเป็นเมืองชั้นจัตวา เรียกว่าเมืองขลุง) จัดตั้งเป็นมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า มณฑลจันทบุรี[1] ให้พระยาวิชยาธิบดีเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลประจำมณฑล
- วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 ย้ายที่ว่าการอำเภอพลิ้ว ไปตั้งที่แหลมสิงห์ปากน้ำจันทบุรี และโอนพื้นที่ตำบลพลับพลา ตำบลโป่งแรด ตำบลคลองนารายณ์ ตำบลสระบาป ตำบลเกาะขวาง จากอำเภอพลิ้ว (อำเภอแหลมสิงห์) มาขึ้นกับอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี[2]
- วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2450 ยกเลิกเมืองขลุง และตั้งเมืองขลุง ขึ้นเป็น อำเภอขลุง ขึ้นเมืองจันทบุรี โอนพื้นที่อำเภอทุ่งใหญ่ ที่เคยขึ้นการปกครองรวมกับเมืองขลุง แขวงเมืองจันทบุรี มณฑลจันทบุรี ไปขึ้นกับเมืองตราษ[3]
- วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2451 จัดตั้งสุขาภิบาลเมืองจันทบุรี มณฑลจันทบุรี ในท้องที่ตำบลตลาดจันทบุรี อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี[4]
- วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี เป็น อำเภอเมืองจันทบุรี[5]
- วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2467 โอนพื้นที่ตำบลแสลง อำเภอมะขาม มาขึ้นกับอำเภอเมืองจันทบุรี[6]
- วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2469 โอนพื้นที่ตำบลบางกะจะ อำเภอท่าใหม่ มาขึ้นกับอำเภอเมืองจันทบุรี[7][8]
- วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2471 โอนพื้นที่ตำบลหนองบัว อำเภอแหลมสิงห์ มาขึ้นกับอำเภอเมืองจันทบุรี[9]
- วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 ขยายเขตสุขาภิบาลเมืองจันทบุรี[10] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น
- วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 ยุบมณฑลจันทบุรี และรวมเมืองจันทบุรี เมืองระยอง เมืองตราษ เข้าไว้ในการปกครองของมณฑลปราจีนบุรี[11]
- วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 จัดตั้งสุขาภิบาลเมืองจันทบุรี ขึ้นเป็น เทศบาลเมืองจันทบุรี[12]
- วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2481 โอนพื้นที่หมู่ 5 (ในตอนนั้น) จากตำบลวัดใหม่ ไปขึ้นกับตำบลท่าช้าง, โอนพื้นที่หมู่ 6 (ในตอนนั้น) จากตำบลวัดใหม่ ไปขึ้นกับตำบลบางกะจะ, โอนพื้นที่หมู่ 2-5 (ในตอนนั้น) จากตำบลพุงทลาย ไปขึ้นกับตำบลพลับพลา และรวมพื้นที่ตำบลวัดใหม่ ตำบลบ้านญวนฝั่งตะวันตก ตำบลตลาดจันทบุรี แล้วจัดตั้งเป็นตำบลใหม่ ขนานนามว่า ตำบลตลาดจันทบุรี, รวมพื้นที่ตำบลพุงทลาย ตำบลบ้านญวนฝั่งตะวันออก ตำบลท่าเรือจ้าง แล้วจัดตั้งเป็นตำบลใหม่ นามว่า ตำบลจันทบุรีตะวันออก, รวมพื้นที่ตำบลโป่งแรด เข้ากับตำบลพลับพลา แล้วจัดตั้งเป็นตำบลใหม่ นามว่า ตำบลพลับพลา, รวมพื้นที่ตำบลหนองขอน เข้ากับตำบลคมบาง แล้วจัดตั้งเป็นตำบลใหม่ นามว่า ตำบลคมบาง[13]
- วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2483 โอนพื้นที่บางส่วนของหมู่ 4 (ในตอนนั้น) ซึ่งอยู่นอกเขตเทศบาลเมืองจันทบุรี จากตำบลวัดใหม่ ให้ไปขึ้นกับหมู่ที่ 18 ตำบลบางกะจะ[14]
- วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490 ตั้งตำบลคลองนารายณ์ แยกออกจากตำบลบางนารายณ์ ตำบลจันทนิมิต และตำบลพลับพลา ตั้งตำบลเกาะขวาง แยกออกจากตำบลจันทนิมิต และตำบลหนองบัว ตั้งตำบลแสลง แยกออกจากตำบลท่าช้าง[15]
- วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2491 แยกการปกครองหมู่ที่ 1-5, 7-10 และ 13 (ในขณะนั้น) ของตำบลตลาดจันทบุรี ตั้งขึ้นเป็นตำบลวัดใหม่[16]
- วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลจันทนิมิต ในท้องที่บางส่วนของตำบลจันทนิมิต[17]
- วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลบางกะจะ ในท้องที่หมู่ 1 และ 6 ของตำบลบางกะจะ[18] จัดตั้งสุขาภิบาลหนองบัว ในท้องที่หมู่ 3, 4, 5, 6 และ 7 ของตำบลหนองบัว[19]
- วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 จัดตั้งสภาตำบลจันทนิมิต (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลจันทนิมิต) สภาตำบลท่าช้าง สภาตำบลคมบาง สภาตำบลหนองบัว (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลหนองบัว) สภาตำบลคลองนารายณ์ สภาตำบลเกาะขวาง สภาตำบลพลับพลา สภาตำบลบางกะจะ (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลบางกะจะ) และสภาตำบลแสลง[20]
- วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2526 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลจันทนิมิต ให้ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจันทนิมิตทั้งตำบล (รับพื้นที่สภาตำบลจันทนิมิตมาทั้งหมด)[21] และเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลบางกะจะ[22] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น
- วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2527 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองจันทบุรี[23] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น โดยขยายมาถึงพื้นที่บางส่วนของตำบลเกาะขวาง กำหนดให้บางส่วนของตำบลเกาะขวาง (บางส่วนของสภาตำบลเกาะขวาง) ที่เข้ามาอยู่ในเขตเทศบาลเมืองจันทบุรี มาขึนกับตำบลตลาด และขยายมาถึงพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าช้าง กำหนดให้บางส่วนของตำบลท่าช้าง (บางส่วนของสภาตำบลท่าช้าง) ที่เข้ามาอยู่ในเขตเทศบาลเมืองจันทบุรี มาขึนกับตำบลวัดใหม่
- วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 จัดตั้งสุขาภิบาลท่าช้าง ในท้องที่หมู่ 2, 3, 4 และ 5 ของตำบลท่าช้าง[24]
- วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2530 จัดตั้งสุขาภิบาลพลับพลานารายณ์ ในท้องที่หมู่ 1, 2, 3, 4, 11, 12, 13 และ 14 ของตำบลคลองนารายณ์ กับหมู่ 6, 8, 9, 10, 11 และ 12 ของตำบลพลับพลา[25]
- วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2538 ยกฐานะจากสภาตำบลแสลง และสภาตำบลท่าช้าง (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลท่าช้าง) เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลแสลง และองค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลท่าช้าง)[26] ตามลำดับ
- วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลบางกะจะ (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลบางกะจะ) สภาตำบลพลับพลา (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลพลับพลานารายณ์) สภาตำบลคมบาง และสภาตำบลเกาะขวาง เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบางกะจะ (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลบางกะจะ) องค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลา (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลพลับพลานารายณ์) องค์การบริหารส่วนตำบลคมบาง และองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะขวาง[27] ตามลำดับ
- วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลคลองนารายณ์ (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลพลับพลานารายณ์) และสภาตำบลหนองบัว (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลหนองบัว) เป็นองค์การบริหารส่วนคลองนารายณ์ (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลพลับพลานารายณ์) และองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลหนองบัว)[28] ตามลำดับ
- วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลจันทนิมิต สุขาภิบาลบางกะจะ สุขาภิบาลหนองบัว สุขาภิบาลท่าช้าง และสุขาภิบาลพลับพลานารายณ์ เป็นเทศบาลตำบลจันทนิมิต เทศบาลตำบลบางกะจะ เทศบาลตำบลหนองบัว เทศบาลตำบลท่าช้าง และเทศบาลตำบลพลับพลานารายณ์ ตามลำดับ[29] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2548 ยกเลิกเขตตำบลหนองบัว อำเภอเมืองจันทบุรี และกำหนดเขตตำบลหนองบัว อำเภอเมืองจันทบุรี ขึ้นใหม่[30] โดยกำหนดให้ตำบลหนองบัว มีเขตการปกครองรวมทั้งหมด 11 หมู่บ้าน
- วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2550 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลท่าช้าง ขึ้นเป็น เทศบาลเมืองท่าช้าง[31]
- วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะขวาง ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลเกาะขวาง[32]
- วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลจันทนิมิต ขึ้นเป็น เทศบาลเมืองจันทนิมิต[33]
- วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลแสลง ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลแสลง[34]
- วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลา ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลพลับพลา[35]
- วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เปลี่ยนแปลงชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลบางกะจะ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายเนินวง[36] และจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายเนินวง ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลค่ายเนินวง[37]
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอเมืองจันทบุรีแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 11 ตำบล 98 หมู่บ้าน ได้แก่
ข้อมูลเพิ่มเติม ลำดับ, อักษรไทย ...
ลำดับ |
อักษรไทย |
อักษรโรมัน |
จำนวนหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[38] |
1. |
ตลาด |
Talat |
– |
8,359 |
2. |
วัดใหม่ |
Wat Mai |
– |
13,282 |
3. |
คลองนารายณ์ |
Khlong Narai |
14 |
8,284 |
4. |
เกาะขวาง |
Ko Khwang |
9 |
17,244 |
5. |
คมบาง |
Khom Bang |
10 |
4,143 |
6. |
ท่าช้าง |
Tha Chang |
12 |
32,095 |
7. |
จันทนิมิต |
Chanthanimit |
9 |
11,862 |
8. |
บางกะจะ |
Bang Kacha |
10 |
11,426 |
9. |
แสลง |
Salaeng |
10 |
5,332 |
10. |
หนองบัว |
Nong Bua |
11 |
5,834 |
11. |
พลับพลา |
Phlapphla |
13 |
11,951 |
ปิด
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอเมืองจันทบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองจันทบุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลาดและตำบลวัดใหม่ทั้งตำบล
- เทศบาลเมืองท่าช้าง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าช้าง
- เทศบาลเมืองจันทนิมิต ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจันทนิมิตทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบางกะจะ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางกะจะ
- เทศบาลตำบลพลับพลานารายณ์ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลคลองนารายณ์และตำบลพลับพลา
- เทศบาลตำบลหนองบัว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหนองบัว
- เทศบาลตำบลเกาะขวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะขวางทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลแสลง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแสลงทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลค่ายเนินวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกะจะ (นอกเขตเทศบาลตำบลบางกะจะ)
- เทศบาลตำบลพลับพลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพลับพลา (นอกเขตเทศบาลตำบลพลับพลานารายณ์)
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองนารายณ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองนารายณ์ (นอกเขตเทศบาลตำบลพลับพลานารายณ์)
- องค์การบริหารส่วนตำบลคมบาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคมบางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าช้าง (นอกเขตเทศบาลเมืองท่าช้าง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัว (นอกเขตเทศบาลตำบลหนองบัว)
กระทรวงมหาดไทย. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลท่าช้าง อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี เป็นเทศบาลเมืองท่าช้าง.